ปลาฉลามหางยาวธรรมดา
ปลาฉลามหางยาวธรรมดา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Lamniformes |
วงศ์: | Alopiidae |
สกุล: | Alopias |
สปีชีส์: | A. vulpinus |
ชื่อทวินาม | |
Alopias vulpinus (Bonnaterre, 1788) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก (สีฟ้า-สถานที่เป็นไปได้ว่าอาจพบ, สีน้ำเงินเข้ม-สถานที่ยืนยันว่าพบได้แน่นอน) | |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อพ้อง
|
ปลาฉลามหางยาวธรรมดา หรือ ปลาฉลามเทรเชอร์ (อังกฤษ: Common thresher shark, Thresher shark, Long-tailed thresher shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Alopias vulpinus) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม อยู่ในวงศ์ปลาฉลามหางยาว (Alopiidae)
โดยที่คำว่า vulpinus นั้นแปลงมาจากภาษาละตินคำว่า vulpes หมายถึง "หมาจิ้งจอก" ซึ่งในบางแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลเก่าอาจจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alopias vulpes[2]
จัดเป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยมีความยาวเฉลี่ยเต็มที่ประมาณ 5.5-6.1 เมตร น้ำหนักตัวหนักได้ถึง 499 กิโลกรัม มีลักษณะเด่น คือ ครีบหางส่วนบนที่ยาวมาก คิดเป็นร้อยละ 50 ของขนาดตัว และมีน้ำหนักส่วนหางมากถึงร้อยละ 33 ของน้ำหนักตัวทั้งหมด ซึ่งครีบหางนี้ยามว่ายน้ำสามารถโบกขึ้นลงไปในแนวตั้งได้ด้วย ส่วนหัวมีขนาดกลมเล็ก ปากเล็ก ขากรรไกรเล็ก ภายในปากมีฟันแหลม ๆ คมซี่เล็ก ๆ จำนวนมาก ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีขาวปลอดหรือขาวเงินแวววาวทั้งตัว ครีบอกแหลมยาว ครีบหลังตอนที่ 2 มีขนาดเล็ก
ปลาฉลามหางยาวธรรมดา เป็นปลาฉลามที่มีนิสัยขี้อาย มักพบเห็นตัวได้ยากมาก เป็นปลาที่หากินและอาศัยอยู่ตามลำพัง โดยล่าปลาขนาดเล็กรวมถึงสัตว์น้ำอื่น ๆ กินเป็นอาหาร โดยมีวิธีการล่าเหยื่อด้วยการตีวนรอบฝูงเหยื่อให้เกิดน้ำวน เพื่อให้เหยื่อเกิดอาการตื่นตระหนกและจับทิศทางไม่ถูก จากนั้นปลาฉลามหางยาวธรรมดาก็จะว่ายผ่าตรงกลางวงไปงับกินเหยื่อทันที จัดเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่ว่ายน้ำได้ว่องไวมาก
เป็นปลาที่พบได้ทั่วโลกในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่ก็ถือว่าเป็นปลาที่พบเห็นได้ยากมาก สามารถพบเห็นได้ในที่ลึกถึง 500 เมตร แต่ปลาฉลามหางยาวธรรมดาก็สามารถว่ายเข้าชายฝั่งและเขตที่น้ำตื้นได้ด้วยเช่นกัน รวมถึงสามารถกระโดดได้สูงขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย
เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาจะกินกันเองตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เหมือนปลาฉลามชนิดอื่นอีกหลายชนิด ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร โดยออกลูกครั้งละ 2-6 ตัว[3] [4]
เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์จากการทำประมง จนถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดของโลก โดยนำชิ้นส่วนต่าง ๆ ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่เกาะมาลาปาสกัว ทางตอนเหนือของเกาะเซบู ในทะเลฟิลิปปิน เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พบปลาฉลามหางยาวธรรมดาได้บ่อย จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ[5] [6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Goldman, K.J. & members of the Shark Specialist Group (2002). Alopias vulpinus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 16 June 2006.
- ↑ Ebert, D.A. (2003). Sharks, Rays, and Chimaeras of California. University of California Press. pp. 105–107. ISBN 0-520-23484-7.
- ↑ Thresher Shark จากดิสคัฟเวอรี
- ↑ "Thresher Shark". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-17. สืบค้นเมื่อ 2013-03-08.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "ฉลามทะเลลึกใกล้สูญพันธุ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-03-08.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ THRESHER SHARK, "Great Ocean Adventures". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2556
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Alopias vulpinus ที่วิกิสปีชีส์