ข้ามไปเนื้อหา

ปลากระดี่หม้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากระดี่หม้อ
สีปลาที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ (ไวลด์ไทป์)
ปลาที่มีสีฟ้าเข้มที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Anabantiformes
วงศ์: Osphronemidae
สกุล: Trichopodus
สปีชีส์: T.  trichopterus
ชื่อทวินาม
Trichopodus trichopterus
(Pallas, 1770)
ชื่อพ้อง
  • Labrus trichopterus Pallas, 1770
  • Nemaphoerus maculosus Kuhl & van Hasselt in Bleeker, 1879
  • Osphromenus siamensis Günther, 1861
  • Stethochaetus biguttatus Gronow in Gray, 1854
  • Trichogaster trichopterus (Pallas, 1770)
  • Trichopus sepat Bleeker, 1845
กระดี่หม้อพบบริเวณแหล่งน้ำนิ่งใกล้ป่าพรุ ในอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยนายแพทย์วรกานต์ รุ่งประเสริฐ

ปลากระดี่หม้อ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus trichopterus ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่นาง (T. microlepis) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่หม้อมีรูปร่างป้อมกว่า ส่วนท้ายไม่เรียวเล็ก หัวเล็ก ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายใน เกล็ดมีขนาดใหญ่ ตัวมีสีเทาอมสีฟ้าหรือสีคล้ำตามแนวพาดขวางหรือพาดเฉียง ตลอดลำตัวด้านข้างหลายแถบรวมถึงที่ข้างแก้มกลางลำตัวด้านข้างและโคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่แห่งละจุด ครีบก้นมีจุดประสีส้มหรือเหลือง ขอบครีบสีเหลือง ครีบอื่นสีใส ครีบหางใสมีสีประคล้ำ

ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดคือ 15 เซนติเมตร

ปลากระดี่หม้อเป็นปลาที่มีสีสันต่างตากหลากหลายกันออกไปตามพันธุกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัย จึงมีหลากสีมาก เช่น ปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลำตัวสีฟ้าเข้มกว่าปลาที่พบในที่อื่น นอกจากนี้ยังมีที่พบสีออกเหลืองทองหรือออกขาวนวลด้วย แต่ปลาที่พบโดยทั่วไปมักมีลำตัวออกสีน้ำตาลใส

เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งทุกภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ จัดเป็นปลาสกุล Trichopodus ที่พบชุกชุมที่สุด

นิยมบริโภคในท้องถิ่น เช่นเดียวกับปลาสลิด (T. pectoralis) และปลากระดี่นาง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "กระเดิด" หรือ "เดิด" ภาษาเหนือเรียก "สลาก" หรือ "สลาง" ชื่อในภาษาอังกฤษเรียกว่า "กระดี่สามจุด" (Three spot gourami) หมายถึง จุดดำสองจุดใหญ่ตามลำตัวและนับลูกตาด้วย ชื่อที่นิยมเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามคือ "กระดี่นางฟ้า"[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vidthayanon, C. 2012. Trichopodus trichopterus. In: IUCN 2013. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 10 April 2014.
  2. ปลากระดี่หม้อ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]