บ้านชิลเลอร์ เมืองไวมาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ้านชิลเลอร์ เมืองไวมาร์
บ้านชิลเลอร์ ในปี 1900
ห้องทำงานของชิลเลอร์และห้องที่เขาเสียชีวิต (ปี ค.ศ. 1853)
ห้องทำงานของชิลเลอร์และห้องที่เขาเสียชีวิต (ปี ค.ศ. 1963)
บ้านชิลเลอร์และพิพิธภัณฑ์ชิลเลอร์ ที่ตั้งอยู่ด้านหลังในปีที่เปิดพิพิธภัณฑ์ (ปี ค.ศ. 1988)
ห้องคนรับใช้ในบ้านของชิลเลอร์

บ้านชิลเลอร์ในเมืองไวมาร์ (หรือ อาคารที่พักอาศัยของชิลเลอร์) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่บริหารจัดการโดยมูลนิธิไวมาร์คลาสสิกซึ่งเคยเป็นบ้านเก่าของฟรีดริช ชิลเลอร์ (ปี ค.ศ. 1759–1805) ในเมืองไวมาร์

บ้านหลังนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “เมืองไวมาร์คลาสสิก” ซึ่งเป็นมรดกโลกของยูเนสโก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998

ประวัติศาสตร์ความเป็นมา [แก้]

แต่เดิมบ้านหลังนี้สร้างขึ้นโดย อันโทน เกออร์ก เฮาพท์มันน์ (ปี ค.ศ.1735-1803) ให้กับพ่อค้าคนหนึ่งในปี ค.ศ. 1777 อาคารข้างๆ ที่สร้างไว้แล้วถูกนำมาใช้ให้เป็นส่วนหลังของบ้าน คำว่า “โรงเหรียญ” ที่ใช้เรียกอาคารหลังเก่าข้างๆ กันนี้มาจากว่าบนที่ดินของบ้านชิลเลอร์เคยเป็น “โรงเหรียญเก่า” หรือโรงเหรียญกษาปณ์ของขุนนางมาก่อน

ปัจจุบันบ้านชิลเลอร์ตั้งอยู่เลขที่ 12 ถนนชิลเลอร์ หรือในอดีตคือถนนเอสพลานาดซึ่งสร้างขึ้นหลังการรื้อถอนป้อมปราการเก่าของเมืองไวมาร์ในระหว่างปี ค.ศ. 1760 และปี ค.ศ. 1765 ต่อมาในปี ค.ศ. 1801 ชาร์ลส เมลลิช ออฟ ไบลธ์ นักเขียนและนักแปลชาวอังกฤษได้ซื้อบ้านนี้ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1802 ได้ขายบ้านหลังนี้ให้กับชิลเลอร์ ชิลเลอร์และครอบครัวได้เข้ามาอาศัยเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1802 ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1799 ครอบครัวชิลเลอร์ได้ย้ายจากเมืองเยนามายังเมืองไวมาร์และอาศัยในห้องเช่าในตรอกวินดิชเชน อย่างไรก็ตาม ชิลเลอร์เห็นว่าห้องเช่าบนชั้น 2 และห้องใต้หลังคาที่เช่ามาด้วยนั้นไม่เหมาะสำหรับทำงานอย่างสงบ ทำให้เขาต้องการมีที่ดินเป็นของตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้น ชิลเลอร์จึงคว้าโอกาสเมื่อมีผู้เสนอขายที่ดินนี้ และหยิบยืมเงินมา 4200 เหรียญทาเลอร์

ชิลเลอร์ได้บูรณะบ้านครั้งใหญ่ ส่วนหนึ่งคือการย้ายบันไดของบ้านส่วนหน้า มาไว้ตรงกลางระหว่างบ้านส่วนหน้าและส่วนหลัง บนชั้น 2 เป็นห้องนั่งเล่นของครอบครัวและห้องนอนของชาร์ล็อตผู้เป็นภรรยา รวมถึงห้องนอนของลูกสาว ส่วนชั้นที่ 3 เป็นห้องใต้หลังคาได้ตกแต่งเป็นห้องทำงานและห้องนั่งเล่นของชิลเลอร์

ฟรีดริช ฟอน ชิลเลอร์เสียชีวิตในตอนเย็นของวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1805 ในบ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ชาร์ล็อตยังคงอาศัยในบ้านหลังนั้นกับลูกอีก 4 คน จนกระทั่งเมื่อลูกๆ เริ่มออกไปอยู่นอกบ้าน จึงปล่อยห้องให้เช่า ชาร์ล็อตเสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1826 ต่อมาในปี ค.ศ. 1827 ลูกๆได้ขายบ้านให้กับนักพฤกษศาสตร์ โยฮัน คริสตอฟ ก็อทโลบ ไวเซอ เขายกบ้านนี้ให้กับภรรยา และของตกแต่งบ้านบางส่วนได้ถูกนำมาขายทอดตลาด

ในปี ค.ศ. 1847 ทางการเมืองไวมาร์ได้ประมูลที่ดินมรดกตกทอดของตระกูลไวเซอ ตามกฎหมาย และได้ก่อตั้งอนุสรณ์สถานของชิลเลอร์ไว้ภายในอาคาร นอกจากนั้นได้บูรณะ ห้องทำงานและห้องที่ชิลเลอร์เสียชีวิตให้เหมือนเดิมมากที่สุด ในช่วงหลายปีถัดมาได้มีการจัดให้บริเวณชั้น 1 เป็นร้านขายงานศิลปะเล็กๆ ที่เปิดถึงปี ค.ศ. 1905 และในช่วงหลังปี ค.ศ. 1847 มูลนิธิชิลเลอร์ สมาคมเกอเธ่ และสมาคมเช็คสเปียร์ได้เช่าห้องที่อยู่ภายในอาคารด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงห้องนั่งเล่นด้วย

ศูนย์กลางของเมืองคลาสสิกถูกระเบิดอย่างรุนแรงจากกลุ่มแองโกล-อเมริกันในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งบ้านชิลเลอร์ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน อย่างไรก็ตามหลังจากที่เมืองไวมาร์ได้มีมาตรการฟื้นฟูบูรณาการครั้งใหญ่ ก็ได้เปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1946 และในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง ค.ศ. 1988 ได้ทำการบูรณะบ้านชิลเลอร์ครั้งใหญ่ ซึ่งได้สร้างพิพิธภัณฑ์ชิลเลอร์หลังใหม่ด้านหลังอาคารที่พักอาศัยของชิลเลอร์ด้วย ปัจจุบันบ้านชิลเลอร์ และพิพิธภัณฑ์นี้อยู่ในความดูแลของมูลนิธิไวมาร์คลาสสิกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เมืองไวมาร์คลาสสิก” และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1998

ดูเพิ่มเติมที่[แก้]

  • • บ้านสวนชิลเลอร์

วรรณกรรม[แก้]

  • แม่แบบ:GartenlaubeDie Gartenlaubeแม่แบบ:Gartenlaube
  • Das Schillerhaus zu Weimar. Ein Führer für Einheimische und Fremde. Panses Verlag, Weimar 1913.
  • Eduard Scheidemantel: Das Schillerhaus in Weimar. 29. bis 31. Tausend 1942. Druck, Panses Verlag, Weimar.
  • Gerhard Hendel: Das Schillerhaus in Weimar. Hg. von den Nationalen Forschungs- und Gedenkstätten der klassischen deutschen Literatur in Weimar. Aufbau-Verlag in Kommission. 11. Aufl., Berlin/Weimar 1977.
  • Christina Tezky, Viola Geyersbach: Schillers Wohnhaus in Weimar. Stiftung Weimarer Klassik bei Hanser. München, Carl Hanser Verlag, Wien 1999, ISBN 3-446-19730-3.
  • Paul Raabe: Spaziergänge durch Goethes Weimar. 9. Aufl., Arche, Zürich/Hamburg 2003, ISBN 3-7160-2182-2.
  • Ernst-Gerhard Güse, Jonas Maatsch: Schillers Wohnhaus. Weimar 2009, ISBN 978-3-7443-0144-2.

เว็บลิงก์[แก้]