บูจินกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บูจินกัน (ญี่ปุ่น: 武神館โรมาจิBujinkan) เป็นองค์กรศิลปะการต่อสู้นานาชาติ[1] ตั้งอยู่ที่เมืองโนะดะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีมาซาอากิ ฮัตสึมิ (Masaaki Hatsumi) เป็นผู้ก่อตั้ง

โรงฝึกบูจินกันเป็นโรงฝึกศิลปะการต่อสู้โบราณของญี่ปุ่น มีวิชารวมไว้ทั้งหมด 9 วิชาเรียกชื่อรวม ๆ ว่า บูจินกัน บูโด ไทจุสสึ (ญี่ปุ่น: 武神館武道体術โรมาจิBujinkan Budō Taijutsu)[2]

ชื่อของโรงฝึก[แก้]

มะซะอะกิ ฮะสึมิ ตั้งชื่อโรงฝึกบูจินกันเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ โทะชิสึงุ ทะกะมะสึ (Toshitsugu Takamatsu)[3] อาจารย์ผู้สอนวิชาของท่านเอง แปลเป็นไทยว่า “โรงฝึกนักรบเทพ”[4]

วิชาของบูจินกัน[แก้]

บูจินกันรู้จักกันดีจากวิชานินจา หรือนินจุสึ แต่เดิมในชื่อ “Togakure Ryū Ninjutsu” (ญี่ปุ่น: 戸隠流忍術) แต่วิชาของโรงฝึกบูจินกันไม่ได้มีเพียงวิชานินจาอย่างเดียว มีวิชาของนินจุตสึ 3 วิชา และวิชาต่อสู้ของซามูไรอีก 6 วิชา[5] จึงได้เปลี่ยนชื่อมาใช้เป็น บูจินกัน บูโด ไทจุสสึ และใช้มามาจนถึงปัจจุบัน[6]

บูจินกัน บูโด ไทจุสสึ ประกอบไปด้วยวิชา 9 สายวิชาที่ มะซะอะกิ ฮะสึมิ สืบทอด คือ[7]

บูจินกันในประเทศไทย[แก้]

เอก โอสถหงษ์ นำบูจินกันเข้ามาในประเทศไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2542 ตอนนั้นใช้ชื่อกลุ่มฝึกบูจินกัน ประเทศไทย (Bujinkan Thailand Training Group) และได้รับการรับรองจาก ดัก วิลสัน (Doug Wilson) ตำแหน่งชิโดชิ (Shidoshi) หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้ปิดตัวลงไปในปี พ.ศ. 2546 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2548 เอก โอสถหงษ์ ได้รับตำแหน่งชิโดชิ เดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้นำการฝึกเข้ามาอีกครั้งโดยเปิดใหม่เป็นโรงฝึกบูจินกัน ประเทศไทย (Bujinkan Thailand Dojo)[8] และในปัจจุบันก็ได้มีผู้ที่ได้รับตำแหน่งชิโดชิทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเปิดสอนอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ในประเทศไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Bujinkan Dojo - Soke Masaaki Hatsumi". bujinkan.com.
  2. Phelan, Stephen. Lethal weapon: Hanging with the world's last living ninja. http://travel.cnn.com. 2011-10-12
  3. ประวัติอาจารย์มาซึอะกิ ฮะซึมิ. http://bujinkan-thailand.com/intro.htm เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. อะไรคือ บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ. http://www.bujinkan-thailand.com/intro.htm เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Hatsumi, Masaaki. Unarmed Fighting Techniques of the Samurai. Kodansha USA. 2013. ISBN 978-1568365329
  6. อะไรคือ บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ. http://bujinkan-thailand.com/chidlom/bujinkan/[ลิงก์เสีย]
  7. Hatsumi, Masaaki. Ninjutsu: History and Tradition. Unique Publications. 1981. ISBN 978-0865680272
  8. ประวัติโรงฝึกบูจินกัน ประเทศไทย. http://www.bujinkan-thailand.com/thailand.htm

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]