บัววิกตอเรีย
บัววิกตอเรีย | |
---|---|
บัววิกตอเรีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | พืชดอก (Magnoliophyta) |
ชั้น: | พืชใบเลี้ยงคู่ (Magnoliopsida) |
อันดับ: | Nymphaeales |
วงศ์: | วงศ์บัวสาย (Nymphaeaceae) |
สกุล: | บัววิกตอเรีย Victoria Lindley Victoria Regia 3. 16 Oct 1837[1] |
สายพันธุ์ | |
|
บัววิกตอเรีย หรือ บัวกระด้ง (อังกฤษ: Victoria waterlily) เป็นบัวในสกุล Victoria จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ประมาณ 6 ฟุต ลอยบนผิวน้ำ ใบอ่อนมีสีแดงคล้ำเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ขอบใบยกขึ้นตั้งตรง มีหนามแหลมตามก้านใบและผิวใบด้านล่าง ก้านดอกและกลีบเลี้ยงด้านนอกมีหนามแหลม ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ดอกแรกบานจะมีสีขาว จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมชมพู และเป็นสีแดงเรื่อในที่สุด บานเวลาใกล้ค่ำ หรือกลางคืน มีกลิ่นหอม และจะหุบในตอนสายของวันรุ่งขึ้น ชื่อสกุลตั้งตามพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร
สายพันธุ์
[แก้]ภาพ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | แหล่งกระจายพันธุ์ | รายละเอียด |
---|---|---|---|
Victoria amazonica | แหล่งน้ำตื้นของลุ่มแม่น้ำอเมซอน เช่นทะเลสาบรูปแอกวัวและทางน้ำไหลเอื่อยออกจากทะเลสาบ (bayou) | เป็นภาพบนตราอาร์มของประเทศกายอานา ใบขนาดใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 3 เมตร ก้านบัวยาว 7-8 เมตร ดอกมีสีขาวในคืนแรกที่เริ่มบานและกลายเป็นสีชมพูในคืนที่สอง ดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ซม. และมีการผสมเกสรโดยแมลงนูน (scarab beetle) | |
Victoria cruziana | ลุ่มแม่น้ำปารานา – ปารากวัย | มีขนาดที่เล็กกว่า V. amazonica เล็กน้อย โดยด้านล่างของใบมีสีม่วงต่างจากสายพันธุ์อมาโซนิกาที่มีสีแดง และปกคลุมด้วยร่างแหซึ่งไม่มีในสายพันธุ์อมาโซนิกา ใบมีเส้นผ่านสูนย์กลางราว 1.5 เมตร แต่มีขอบกระด้งสูงราว 1 คืบ ออกดอกในช่วงปลายฤดูร้อน ต่อต้นฤดูฝน คือในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน ดอกของ V. cruziana จะบานในตอนค่ำ |
คำอธิบายที่ตีพิมพ์ครั้งแรกของสกุลนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2380 โดย จอห์น ลินด์ลีย์ (John Lindley) โดยอ้างอิงจากตัวอย่างที่ส่งคืนจากบริติชกีอานา (British Guiana) โดย โรเบิร์ต เฮอร์มานน์ ช็อมเบิร์ก (Robert Hermann Schomburgk) ลินลีย์ตั้งชื่อสกุลตามสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียซึ่งพึ่งทรงครองราชย์ และตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า Victoria regia บันทึกก่อนหน้านี้โดยเอดูอาร์ด ฟรีดริช เพิพพิก (Eduard Friedrich Poeppig) ในปี พ.ศ. 2375 ระบุชื่อสายพันธุ์ว่า Euryale amazonica ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์กับสายพันธุ์บัวสายในเอเชีย (Euryale ferox) โดยการเก็บตัวอย่างและให้คำอธิบายยังได้จัดทำโดย เอเม บงพลองด์ (Aimé Bonpland) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2368[2][3]
ใบของบัววิกตอเรียสามารถรองรับน้ำหนักได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากโครงสร้างของใบถึงแม้ว่ามันจะค่อนข้างบอบบาง โดย"ถ้าปล่อยเส้นฟางจากความสูง 6 นิ้วด้านบน ลงมาตั้งฉากกับใบจะสมารถทะลุผ่านได้"[4] จากลักษณะที่เปราะบางของใบดังกล่าว จีงต้องมีการกระจายน้ำหนักไปทั่วพื้นผิวด้วยวิธีการทางกล เช่นใช้แผ่นไม้อัดวางลงไป สิ่งนี้ทำให้ใบบัวสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงถึง 32 กิโลกรัม (71 ปอนด์)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Index Nominum Genericorum (ING)" (ภาษาอังกฤษ). Smithsonian National Museum of Natural History. สืบค้นเมื่อ 2011-04-23.
- ↑ "Nymphaeaceae Victoria Lindl". Plant Name Details. International Plant Name Index. 2005. สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.
- ↑ Knotts, Kit. "Victoria's History". Victoria Adventure. Knotts. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
- ↑ 4.0 4.1 Ripley, George; Dana, Charles Anderson (1861). "Leaf". The New American cyclopaedia: a popular dictionary of general knowledge. Vol. 10. New York: Appleton. p. 992.
บรรณานุกรม
[แก้]- Schneider, E.L.; Williamson, P.S. (1993). "Nymphaeaceae". ใน Kubitzki, K.; Rohwer, J.G.; Bittrich, V. (บ.ก.). The Families and Genera of Vascular Plants. II. Flowering Plants - Dicotyledons. Springer-Verlag.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บัววิกตอเรีย
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Victoria (Nymphaeaceae) ที่วิกิสปีชีส์