ชนบัลการ์
ชนบัลการ์ หรือ ชนโบลการ์ (อังกฤษ: Bulgars, หรือ Bolgars, หรือ Bulghars, หรือ Proto-Bulgarians, ภาษาฮั่น-Bulgars[1]) เป็นกลุ่มชาติพันธ์กึ่งเร่ร่อนที่อาจจะสืบเชื้อสายมาจากชนเตอร์กิกที่เดิมมาจากเอเชียกลาง[2] ที่มาเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่างๆ ในยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก่อก่อตั้งรัฐเกรตบัลแกเรีย, วอลกาบัลแกเรีย และ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ในบริเวณต่างๆ ในยุโรปสามบริเวณ ภาษาบัลการ์ที่ใช้ในพูดกันในบรรดาชนชั้นสูงเป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งกับภาษาฮั่น คาซาร์ และ เตอร์กิกอวาร์เป็นหนึ่งในสาขาOghuricของภาษากลุ่มเตอร์กิก[2]
หลังจากการโยกย้าถิ่นฐานมาจากเอเชียกลางชนบัลการ์ก็มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเสต็ปป์ (steppe) ทางตอนเหนือของCaucasusและในบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำวอลกา (ต่อมา คอเคซัส) ระหว่าง ค.ศ. 377 ถึว ค.ศ. 453 ชนบัลการ์ก็ร่วมในการปล้นของชนฮั่นในการปล้นทำลายยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง หลังจากการเสียชีวิตของอัตติลาในปี ค.ศ. 453 และการล่มสลายของจักรวรรดิฮั่น (Hunnic Empire) ต่อมา ชนบัลการ์ก็แตกแยกกันไปทางตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากบริเวณเสต็ปป์ในยูเครนชี้ให้เห็นว่าชนบัลการ์สมัยแรกมีลักษณะที่ตรงกับผู้คนในวัฒนธรรมที่ขี่ม้าเร่ร่อน (nomadic equestrians) ของเอเชียกลางผู้ที่ย้ายถิ่นฐานตามฤดูเพื่อหาแหล่งหญ้าใหม่สำหรับเลี้ยงสัตว์ แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก็เริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง ทำการเกษตรกรรม และมีอาชีพต่างๆ เช่นช่างตีเหล็ก ช่างสลักหิน และช่างไม้ หลักฐานการค้นคว้าเกือบทุกหลักฐานอ้างว่าชนซาร์มาเชียน (Sarmatians) ที่เป็นชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ข้างเคียงเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนบัลการ์[3] นักประวัติศาสตร์บางคนถึงกับกล่าวว่าชนบัลการ์มีส่วนผสมของชนซาร์มาเชียนดั้งเดิม[4] แต่ที่มาและภาษาของชนบัลการ์เป็นหัวข้อที่โต้แย้งกันมาเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว ทฤษฎีล่าสุดกล่าวว่าชนบัลการ์ชั้นสูงอาจจะพูดภาษากลุ่มเตอร์กิกและมีความเกี่ยวข้องกับชนฮั่น และเมื่อพิจารณาความเกี่ยวโยงทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันออกต่อมาทำให้เห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องที่ใกล้ชิดกับชนอลันส์ (Alans) - อีกกลุ่มหนึ่งที่พูดภาษากลุ่มอิหร่าน[5] แหล่งข้อมูลร่วมสมัยเช่นโพรโคพิอัส (Procopius), อากาไธอัส (Agathias) และเมนันเดอร์ โพรเท็คเตอร์ (Menander Protector) เรียกชนบัลการ์ว่า “ฮั่น”[6] ขณะที่แหล่งข้อมูลอื่นเช่นพระสังฆราชไบแซนไทน์สังฆราชมิคาเอลที่ 2 แห่งอันติโอค (Patriarch Michael II of Antioch) เรียกว่า “ชนซิเธียน” หรือ “ชนซาร์มาเชียน” แต่การเรียกชื่อหลังอาจจะมาจากประเพณีการเรียกชื่อกลุ่มชนตามที่ตั้งหลักแหล่งทางภูมิศาสตร์ก็เป็นได้ เนื่องจากการขาดหลักฐานที่แน่นอนนักวิชาการสมัยปัจจุบันจึงกล่าวถึงชนบัลการ์พร้อมทั้งคำอธิบายถึงที่มา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Early Medieval Balkans: A Critical Survey from the Sixth to the Late Twelfth Century, John Van Antwerp Fine, Publisher University of Michigan Press, 1991, ISBN 0-472-08149-7, p. 76.
- ↑ 2.0 2.1 Encyclopaedia Britannica Online - Bulgars
- ↑ Pamjatniki Nizhnego Povolzh’ja. Tom I. - Materialy i issledovanija po arheologii SSSR, 60, 1959; K.Smirnov. Sarmatskie plemena Severnogo Prikaspija. - Kratkie soobshtenija Instituta istorii material’noj kul’tury, XXXIV, 1950, s.97, 114.
- ↑ .P. Smirnov, Volzhkie bulgary - Trudy GIM, vyp. XIX, M., 1951; V.T. Sirotenko,. Osnovnye teorii proishozhdenija drevnih bulgar i pismennye istochniki IV-VII vv. - Uchjenye zapiski PGU im. Gorkogo, XX, vyp.4 - istoricheskie nauki. Perm, 1961, s 41; Al. Burmov. Kum vaprosa za proizhoda na prabulgarite, s.42-44. - V: Izbrani sachinenija, I. S., 1968.
- ↑ V.P. Shilov, Kalinovskij kurgannyj mogilnik. - Materialy i issledovanija po arheologii SSSR, 60, 1959, s.494. For more information on that feature of the Sarmatian burials, preserved later in the Alanian catacombs, please refer to K.F.Smirnov, Sarmatskie plemena ..., s. 102.
- ↑ The World of the Huns. Chapter IX. Language, by O. Maenchen-Helfen