น้ำยางข้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

น้ำยางข้น (อังกฤษ: Concentrated latex) หมายถึง น้ำยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้น โดยน้ำยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้นแล้วจะมีปริมาณเนื้อยางประมาณร้อยละ 55-65 ซึ่งสูงกว่าน้ำยางสดที่มีปริมาณเนื้อยางประมาณร้อยละ 25-30 ทำให้สามารถทำการขนส่งได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก

กระบวนการเตรียมน้ำยางข้นจากน้ำยางสด[แก้]

  • การทำครีม (Creaming method) : การทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม เป็นวิธีที่อาศัยหลักการที่อนุภาคของเม็ดยางเบากว่าน้ำ เป็นไปตามกฎของ Stokes การทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการเตรียมสารและใช้เวลาทำค่อนข้างนาน สารทำครีมได้แก่ gum bragacarth, sodium aginate, tragon seed gum, ammonium aginate, locust bean gum และ pectin สมบัติของสารทำครีม คือ เป็นคอลลอยด์ที่ชอบน้ำ และจะพองตัวเมื่อใส่ในน้ำมัน ขั้นตอนการทำครีม ค่อนข้างง่าย คือ
    • ใส่สารทำครีม ปริมาณ 0.3% ในส่วนของน้ำ ลงในน้ำยางสดที่เก็บรักษาโดยแอมโมเนีย
    • กวนให้สารทำครีมละลาย ตั้งทิ้งไว้ 24-40 ชั่วโมง
    • กรองเอาชั้นน้ำออกจากของผสม
    • ปรับปริมาณเนื้อยางและความเข้มข้นของแอมโมเนียภายหลัง

ความเข้มข้นของเนื้อยางจะสูงประมาณ 55% ในช่วงระยะเวลา 18 ชั่วโมง ในการทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม หากต้องการเนื้อยางสูงถึง 60% ต้องตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 4-5 วัน

  • การเซนตริฟิวส์ (Centifuge method)

อ้างอิง[แก้]

  • บุญธรรม นิธิอุทัย, พรพรรณ นิธิอุทัย และ ปรีชา ป้องภัย. เทคโนโลยีน้ำยางข้น. ปัตตานี : ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2540.