ข้ามไปเนื้อหา

นิวนอร์มัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิวนอร์มัล, ความปรกติใหม่ หรือ ฐานวิถีชีวิตใหม่ (อังกฤษ: New Normal) เป็นศัพท์ทางธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ที่อ้างอิงถึงเงื่อนไขทางการเงินหลังวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 และผลที่ตามมาของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก พ.ศ. 2551–2555 คำนี้มีนำมาใช้ในบริบทอื่น ๆ ที่หลากหลายเพื่อแสดงให้ถึงสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ที่แต่เดิมเป็นสิ่งที่ไม่ปกติกลายเป็นสิ่งที่ปกติ

จากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 คำว่านิวนอร์มัล หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมนุษย์หลังจากการระบาดทั่วครั้งนี้ แพทย์จากมหาวิทยาลัยระบบสุขภาพแคนซัส คาดว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาจะเปลี่ยนชีวิตประจำวันสำหรับคนส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึงการจำกัดการติดต่อระหว่างบุคคล เช่น การจับมือและกอด นอกจากนี้ยังมีการรักษาระยะห่างจากคนอื่นโดยทั่วไป[1]

เมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติคำนี้ไว้เป็นทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า นิวนอร์มัล เนื่องจากสื่อความหมายได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ยังได้บัญญัติคำนี้ไว้ว่า ความปรกติใหม่ และ ฐานวิถีชีวิตใหม่[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The 'new normal' after coronavirus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-30.
  2. "ราชบัณฑิตฯ บัญญัติศัพท์ใหม่ 'New Normal' ใช้ นิวนอร์มัล-ความปกติใหม่-ฐานวิถีชีวิตใหม่". The Standard. 15 พฤษภาคม 2563.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]