นกปรอดหัวสีเขม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกปรอดหัวสีเขม่า
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Pycnonotidae
สกุล: Pycnonotus
สปีชีส์: P.  aurigaster
ชื่อทวินาม
Pycnonotus aurigaster
(Vieillot, 1818)

นกปรอดหัวสีเขม่า หรือ นกแทดตากแดง[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pycnonotus aurigaster; อังกฤษ: Sooty-headed bulbul)[3] เป็นนกประจำถิ่นที่จัดอยู่ในประเภทสัตว์ป่าคุ้มครอง[4] พบเห็นได้ง่ายในทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นทางภาคใต้ จัดอยู่ในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae)

ลักษณะทั่วไป[แก้]

นกปรอดหัวสีเขม่าเป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 18–20 เซนติเมตร ปากมีสีดำ เรียวแหลม และโค้งลงเล็กน้อย มีขนหนวด มีขนทรงพังค์เล็ก ๆ สีดำที่หัวด้านบน โดยส่วนนี้จะมีสีดำครอบตั้งแต่รอบดวงตาไล่มาถึงแก้มและจมูกซึ่งเป็นจุดเด่นของนกชนิดนี้ แก้มและคางมีสีเทาแกมขาว ตั้งแต่คางลงไปถึงใต้ท้องมีสีขาวนวล ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทา บริเวณก้นมีสีส้มแดง สีแดงสด สีเหลือง โดยสีดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาหรือแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน หางยาวมีสีน้ำตาลเทาเกือบดำ ส่วนปลายหางมีสีขาวเห็นได้ชัดเจนขณะบิน โดยตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะคล้าย ๆ กัน[5]

พฤติกรรม[แก้]

มักพบเป็นคู่ หรือฝูงเล็ก ๆ หากินบนต้นไม้ ช่วงเย็น ๆ อาจพบเกาะตามสายไฟเป็นคู่ ๆ

อาหาร[แก้]

หนอน แมลง ผลไม้สุก น้ำหวานของดอกแปรงล้างขวด

ถิ่นอาศัย[แก้]

พบตั้งแต่บริเวณที่ราบลุ่มจนถึงระดับความสูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ภูเขาสูง พื้นที่การเกษตร และในสวน

การกระจายพันธุ์[แก้]

ในประเทศไทยพบได้ในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้และตอนล่างของภาคตะวันตก รวมทั้งพบได้ในประเทศทางแถบเอเชีย เช่น กัมพูชา พม่า ฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย ลาว และเวียดนาม เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "Pycnonotus aurigaster". 2016. BirdLife International. 2016. สืบค้นเมื่อ 11 December 2018.
  2. ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพสัตว์[ลิงก์เสีย]
  3. การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์จาก WolframAlpha
  4. อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[ลิงก์เสีย]
  5. สัตว์โลกน่ารัก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pycnonotus aurigaster ที่วิกิสปีชีส์