ท็อยเฟิลส์แบร์ค
ท็อยเฟิลส์แบร์ค | |
---|---|
อดีตสถานีดักฟังของสหรัฐบนยอดเขา | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 120.1 เมตร (394 ฟุต) |
พิกัด | 52°29′51″N 13°14′28″E / 52.49750°N 13.24111°E |
ชื่อ | |
ความหมาย | เขามาร (German) |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ท็อยเฟิลส์แบร์ค (เยอรมัน: Teufelsberg; ภาษาเยอรมัน: [ˈtɔʏfl̩sbɛʁk] ( ฟังเสียง); แปลว่า เขาของมาร) เป็นเนินเขาที่มนุษย์สร้างขึ้นในเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ในย่านยรูเนอวาล์ด ในอาณาเขตของอดีตเบอร์ลินตะวันตก เขามีความสูง 80 เมตร (260 ฟุต) เหนือที่ราบเทลโทว์ และสูง 120.1 เมตร (394 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล อยู่รายล้อมด้วยป่ายรูเนอวาลด์ ชื่อของเขานี้ตั้งชื่อตามท็อนเฟิลส์เซ (ทะเลสาบของมาร) ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ไม่ไกลจากเขานี้ เขานี้สร้างขึ้นมรจากซากปรักหักพังของวิ่งปลูกสร้างราว 75 ล้าน ลูกบาศก์เมตร (98 ล้าน ลูกบาศก์หลา)* จากเบอร์ลิน ราว 20 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มาถมทับวิทยาลัยช่างกลของนาซีที่สร้างไม่เสร็จ (แวร์เทชนิซเชอฟาคุลเท็ท; Wehrtechnische Fakultät) ในสมัยสงครามเย็น สหรัฐได้มาตั้งสถานีดักฟังบนเขา ตั้งชื่อว่า ฟีลด์สเตชันเบอร์ลิน (Field Station Berlin) ปัจจุบันสถานีดักฟังถูกทิ้งร้าง
แรกเริ่มเข้าใจว่าเขานี้มีความสูง 115 เมตร (377 ฟุต) ซึ่งใกล้เคียงกับเขามึกเกิลแบร์เคอ ถือเป็นจุดสูงสุดในเบอร์ลินตะวันตก อย่างไรก็ตาม การวัดความสูงใหม่ในภายหลังได้ความสูงที่ 120.1 เมตร (394 ฟุต)[1][2] ซึ่งสูงกว่าเขามึกเกิลแบร์เคอ
ฟีลด์สเตชันเบอร์ลิน
[แก้]สถานีดักฟังบนเขาตั้งขึ้นโดยหน่วกความปลอดภัยแห่งชาติ (NSA) ชองสหรัฐในปี 1963 เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเก็บเกี่ยวข้อมูลข่าวกรอง ECHELON[3][4] ทหารอเมริกันที่ทำงานที่นี่เรียกเขานี้ย่นย่อว่า "เดอะฮิลล์" ("The Hill")
มีการออกหน่วยดักฟังเคลื่อนที่ของฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการที่ท็อยเฟิลส์แบร์คมาตั้งแต่ปี 1961[5] และจากการสำรวจพื้นที่อื่นอีกหลายจุดทั่วเบอร์ลินตะวันตก ก็พบว่าจุดนี้ที่ท็อยเฟิลส์แบร์คเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดในการดักฟังคลื่นการทหารจากโซเวียต, เยอรมนีตะวันออก และชาติอื่นในกลุ่มวอร์ซอว์ NSA ของสหรัฐจึงก่อสร้างสถานีดักฟังถาวรขึ้นในเดือนตุลาคม 1963[5] ในอดีตบนเขามีลิฟต์สกีตั้งอยู่และถูกสั่งให้รื้อออกเนื่องจากรบกวนการฟังสัญญาณ สถานีใช้งานจนกระทั่งกำแพงเบอร์ลินถล่มลง อุปกรณ์ต่าง ๆ ถูกถอดออก แต่ตัวอาคาร เสาสัญญาณ และเรโดม (radome) ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]- ศิลปะ
- ผลงานโดยฮิโต สเตเยิร์ล ชิ้น "Factory of the Sun" และ "The Identity Factory" มีสถานที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงาน[6]
- บันทึกเรื่องราว
- C Trick: Sort of a Memoir โดย Don Cooper (2000). ตีพิมพ์ใหม่และเพิ่มเนื้อหาในปี 2003 ในรูปปกอ่อน ชื่อ Worth the Trip. ตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ C Trick ในปี 2010 บทนำ บทส่ง และตอนใหม่สี่ตอน.
- From Pin Stripes to Army Stripes โดย Sergeant Michael Riles เรื่องเล่าจากยเอรมนีภายใต้การปกครองในปี 1977-1981.
- The United States Garrison Berlin 1945-1994 โดย William Durie, 2014. ISBN 978-1-63068-540-9.
- Berlin Daze - Tales of The Cold War on the Island of Freedom โดย C. Eric Estberg, 2018. ISBN 978-1726471299.
- นวนิยาย
- Death On Devil's Mountain โดย David Von Norden (2009). ASA ต่อท็อยเฟิลส์แบร์ค ในปลายทศวรรษ 1960s
- McCurry's War โดย Chuck Thompson (2012)
- Voices Under Berlin: The Tale of a Monterey Mary โดย T.H.E. Hill (2008)
- Reunification: A Monterey Mary Returns to Berlin โดย T.H.E. Hill (2013)
- The Wall โดย John Marks (1999)
- มิวสิกวิดีโอ
- วงดนตรีสัญชาติดัตช์ Ilanois, มิวสิกวิดีโอ "Chase the Sundown with Me" ปี 2010 ถ่ายทำบนยอดของสถานีดักฟัง[7]
- "Lost Faith" โดย Bob Mould มีฉากหลังเป็นสถานีดักฟังที่นี่[8][9]
- "A Million Stars" โดย The Faim วงสัญชาติออสเตรเลีย ปี 2018
- โทรทัศน์
- The Same Sky ละครชุดปี 2017 ดำเนินเรื่องในปี 1974 เกี่ยวกับตัวละครที่ทำงานในสถานีดักฟัง
- Berlin Station ละครชุดปี 2016
- ภาพยนตร์
- Manifesto ภาพยนตร์จัดแสดงแบบหลายจอปี 2015 โดย Julian Rosefeldt[10]
- วิดีโอเกมส์
- Call of Duty: Black Ops Cold War เกมยิงบุคคลที่หนึ่ง ปี 2020 มีแผนที่ผู้เล่นหลายคนจากท็อยเฟิลส์แบร์คและสถานีดักฟัง ชื่อแผนที่ Echelon
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Abhörstation erforscht: Das Buch zum Berg" retrieved on 12 September 2013
- ↑ "Der Teufelsberg ist 120 Meter hoch!" เก็บถาวร 2013-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved on 12 September 2013
- ↑ Smith, Chris L.; Shand, Benjamin Jay (2 September 2016). "Architectural Wounds: Teufelsberg". Architecture and Culture. 4:2 (2): 185–192. doi:10.1080/20507828.2016.1189213. S2CID 157424357.
- ↑ Schmid, Gerhard (11 July 2001). "REPORT on the existence of a global system for the interception of private and commercial communications (ECHELON interception system) (2001/2098(INI))" (PDF). European Parliament.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 "pre-Field-Station ASA Units in Berlin" retrieved on 12 September 2013
- ↑ "Hito Steyerl: Factory of the Sun | Hito Steyerl". sjmusart.org. 6 August 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
- ↑ Chase the Sundown with Me ที่ยูทูบ
- ↑ Boilen, Bob (January 31, 2019). "Have A Few Minutes Of Serious Fun With Bob Mould". NPR. All Songs Considered. สืบค้นเมื่อ February 1, 2019.
- ↑ Virus, Philipp (Director) (February 1, 2019). Bob Mould - Lost Faith (Official Music Video) (Music Video). Merge Records on YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-22. สืบค้นเมื่อ February 1, 2019.
- ↑ "Manifesto (2) | Julian Rosefeldt". www.julianrosefeldt.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.