ทิวยาวทาน
ทิวยาวทาน เป็นคัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่รวบรวมเรื่องราวชีวประวัติอันเป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนที่เกิดขึ้นในอินเดีย จำนวน 38 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องขนาดใหญ่และประกอบด้วยรายละเอียดของเรื่องอย่างมาก ตำนานของบุคคลหรือนักบวชเหล่านี้มีอยู่จริงแต่มีการแต่งเติมเหตุการณ์ให้น่าตื่นเต้นเร้าใจ แก่นสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับหลักธรรม เรื่องกรรม การให้ในทางศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงถึงพลังแห่งความศรัทธาเลื่อมใส[1]
ทิวยาวทานเป็นหนึ่งในคัมภีร์พระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตประเภทอวทานในยุคเริ่มต้น ไม่ทราบผู้แต่ง คัมภีร์อาจเก่าถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่เนื้อเรื่องมีเรื่องราวเก่ากว่านั้น[2] รวบรวมเสร็จไม่น่าจะเกินคริสต์ศตวรรษที่ 4 มีบางส่วนน่าจะเรียบเรียงราว 200 ปีก่อนคริสตกาล เรียบเรียงเสร็จราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 และอาจเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาเล่มแรก ๆ ที่มีการบันทึก[3]
รูปแบบ
[แก้]การจัดวางคัมภีร์นั้นไม่มีความเชื่อมต่อกัน ส่วนที่ประพันธ์ด้วยร้อยแก้วประพันธ์ด้วยภาษาสันสกฤตมาตรฐาน ส่วนร้อยกรองประพันธ์ด้วยภาษาสันสกฤตผสม รูปแบบประพันธ์แบบจัมปู คือเป็นร้อยกรองที่มีคาถาแทรกผสมอยู่ การใช้ภาษาในอวทานในแต่ละเรื่องเขียนอย่างเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ยังมีส่วนที่ใช้ภาษาอย่างประณีตพรรณนา มีการเปรียบเทียบให้ผู้อ่านเห็นภาพ ปรากฏทั้งศัพทาลังการและอรรถาลังการ
เนื้อหาโดยรวมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เรื่องของสาวกและผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และสูตร พระธรรมเทศนาที่แสดงแก่บุคคลต่าง ๆ โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นแนวคิดทั้งแบบเถรวาทและมหายาน[4]
การแปล
[แก้]ผู้ตั้งชื่อ ทิวยาวทาน คือ เออแฌน บูร์นุฟ (Eugène Burnouf) เป็นคำศัพท์ภาษาสันสกฤตที่เกิดจากคำประสมหรือสมาสของคำ 2 คำ คือ ทิวย + อวทาน มีความหมายว่า อวทานอันเป็นทิพย์ อวทานอันยอดเยี่ยม ส่วนคำว่า อวทานนั้น หมายถึง การกระทำอันสูงส่ง การกระทำที่กล้าหาญ การกระทำที่ยิ่งใหญ่ การกระทำที่มีชื่อเสียงหรือการบรรลุผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่
บูร์นุฟได้แปลอวทานหลายเรื่องเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยใช้ฐานข้อมูลจากต้นฉบับสำเนาตัวเขียน 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ Mr. Hodgson พบที่ประเทศเนปาลซึ่งเป็นภาษาเนวารี และอีกฉบับหนึ่ง เขาได้จากที่อื่น ๆ ต่อมาปี ค.ศ. 1886 อี.บี. โคเวลล์ (E.B. Cowell) กับอาร์.เอ. นีล (R.A. Neil) ได้ร่วมกันจัดทำคัมภีร์ฉบับอักษรโรมัน จัดพิมพ์เผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยอาศัยข้อมูลสำเนาจากฉบับต่าง ๆ[5] ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 พี.แอล. ไวทยา (P.L. Vaidya) ได้จัดทำคัมภีร์เป็นฉบับอักษรเทวนาครี จัดพิมพ์เผยแพร่โดยสถาบันมิถิลา (The Mithila Institute) เป็นฉบับแก้ไขและเพิ่มเติมจากฉบับของ อี.บี. โคเวลล์ กับอาร์.เอ. นีล[6]
รายชื่อเรื่อง
[แก้]- โกฏิกรฺณวทาน
- ปูรฺณาวทาน
- ไมเตฺรยาวทาน
- พฺราหฺมณทาริกาวทาน
- สตุติพฺราหฺมณาวทาน
- อินฺทฺรพฺราหฺมณาวทาน
- นคราวลมฺพิกาวทาน
- สุปริยาวทาน
- เมณฺฒกคคฤหปติวิภูติปริจเฉท
- เมณฺฒกาวทาน
- อโศกวรฺณาวทาน
- ปฺราติหารยสูตร
- สฺวาคตาวทาน
- สูกริกาวทาน
- จกรฺวรฺติวฺยากฺฤตาวทาน
- ศุกโปตกาวทาน
- มานฺธาตาวทาน
- ธรฺมรุจฺยาวทาน
- ชฺโยติษฺกาวทาน
- กนกวรฺณาวทาน
- สหโสทฺคตาวทาน
- จันทรประภาโพธิสัตตวจรรยาวทาน
- สงฺฆรกฺษิตาวทาน
- นาคกุมาราวทาน
- สงฺฆรกฺษิตาวทาน
- ปศุปรทานวทาน
- กุณาลาวทาน
- วีตโศกาวทาน
- อโศกาวทาน
- สุธนกุมาราวทาน
- โตยิกามหาวทาน
- รูปาวตฺยาวทาน
- ศารฺทูรกรฺณาวทาน
- ทานาธิกรณมหายานสูตร
- จูฑปกฺษวทาน
- มากันทิกวทาน
- รุทฺรยาณาวทาน
- ไมตรกันยกาวทาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Joel Tatelman, The Heavenly Exploits: Buddhist Biographies from the Divyavadana (Clay Sanskrit Library, 2005), p.15
- ↑ Winternitz, Moriz (1993). A History of Indian Literature: Buddhist literature and Jaina literature. Motilal Banarsidass Publishers. p. 273. ISBN 9788120802650.
- ↑ Buswell, Jr., Robert; Lopez, Jr., Donald S. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton University Press. p. 262. ISBN 9781400848058.
- ↑ Kalpana Upreti (1995). India as Reflected in the Divyavadana. SAB. p. 56.
- ↑ Neil, Robert Alexander; Cowell, Edward B.: The Divyâvadâna: a collection of early Buddhist legends, now first edited from the Nepalese Sanskrit mss. in Cambridge and Paris; Cambridge: University Press 1886.
- ↑ Vaidya, P. L. (1959). Divyāvadāna เก็บถาวร 2014-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Darbhanga: The Mithila Institute of Post-Graduate Studies and Research in Sanskrit Learning (romanized)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Divyâvadâna: a collection of early Buddhist legends by E. B. Cowell (English transliteration)
- Divyavadana เก็บถาวร 2016-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1959) by P. L. Vaidya (Sanskrit)