ข้ามไปเนื้อหา

ทฤษฎีภาวะพึ่งพิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฎีภาวะพึ่งพิง (อังกฤษ: dependency theory) เป็นมโนทัศน์ว่าทรัพยากรไหลจากรัฐยากจนและด้อยพัฒนาหรือ "ชายขอบ" ไปยังรัฐร่ำรวยหรือ "แกนกลาง" ทำให้ประเทศแกนกลางร่ำรวยขึ้น ในขณะที่ประเทศชายขอบยากจนลง ข้อโต้เถียงใจกลางของทฤษฎีภาวะพึ่งพิงว่ารัฐยากจนลงและรัฐที่ร่ำรวยยิ่งรวยขึ้นจากวิธีที่รัฐยากจนถูกรวมเข้าสู่ "ระบบโลก" (world system)

ทฤษฎีดังกล่าวมีที่มาจากปฏิกิริยาต่อทฤษฎีการทำให้ทันสมัย (modernization theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีการพัฒนาก่อนหน้านี้ ซึ่งถือว่าทุกสังคมก้าวหน้าผ่านขั้นตอนการพัฒนาเหมือนกัน ว่าบริเวณที่ด้อยพัฒนาในปัจจุบันอยู่ในสถานการณฺ์เดียวกับที่บริเวณที่พัฒนาแล้วในปัจจุบันเคยประสบในอดีต ฉะนั้น ภารกิจการช่วยเหลือบริเวณด้อยพัฒนาให้พ้นจากความยากจนจึงเป็นการเร่งบริเวณยากจนตามวิถีการพัฒนาร่วมสมมตินี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การลงทุน การถ่ายโอนเทคโนโลยี และการบูรณาการเข้าสู่ตลาดโลกให้ใกล้ชิดมากขึ้น ทฤษฎีภาวะพึ่งพาปฏิเสธแนวคิดดังกล่าว โดยแย้งว่าประเทศด้อยพัฒนามิใช่เป็นฉบับดั้งเดิมของประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ยังมีคุณลักษณะและโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และที่สำคัญกว่านั้นคือ อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นสมาชิกที่อ่อนแอกว่าในเศรษฐกิจตลาดโลก[1]

ทฤษฎีภาวะพึ่งพาไม่มีผู้สนับสนุนเป็นทฤษฎีภาพรวมมากนัก แม้นักเขียนบางคนยังให้เหตุผลว่ายังคงมีความเกี่ยวข้องโดยเป็นการปรับแนวคิดมโนทัศน์ต่อการแบ่งความมั่งคั่งของโลก[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Newschool, "Economic Development" เก็บถาวร 14 กรกฎาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved July 2009.
  2. James, Paul (1997). "Post-Dependency: The Third World in an Era of Globalism and Late Capitalism". Alternatives: Social Transformation and Human Governance. 22 (2): 205–26.