ทฤษฎีดาร์วินทางสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฎีดาร์วินทางสังคม (อังกฤษ: Social Darwinism) เป็นทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับสังคมซึ่งมีต้นกำเนิดที่สหราชอาณาจักร ทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ซึ่งเป็นทฤษฎีที่นำแนวคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติและการอยู่รอดของผู้เหมาะสมที่สุดมาประยุกต์ใช้ในด้านสังคมศาสตร์และการเมือง[1][2] ผู้ที่นิยมทฤษฎีนี้มักเชื่อว่าผู้ที่แข็งแรงกว่าควรจะมีทรัพย์สมบัติและอำนาจมากขึ้น ส่วนผู้ที่อ่อนแอกว่าก็ควรจะมีทรัพย์สมบัติและอำนาจน้อยลง โดยกลุ่มผู้ที่นิยมทฤษฎีดาร์วินทางสังคมแต่ละกลุ่มจะมีมุมมองและความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการพิจารณาว่าคนกลุ่มใดเป็นกลุ่มผู้ที่ "แข็งแรง" กว่า และคนกลุ่มใดเป็นกลุ่มผู้ที่ "อ่อนแอ" กว่า ทฤษฎีนี้มักถูกนำไปอ้างกันมากในหลายกลุ่มเพื่อสนับสนุนความเชื่อของกลุ่มตน เช่น ลัทธิอำนาจนิยม ลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิฟาสซิสต์ ลัทธินาซี รวมถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชาติหรือชาติพันธุ์[3][4][5]

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้เริ่มเสื่อมความนิยมลงหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง และเสื่อมความนิยมลงมากในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับลัทธินาซีและไม่สมเหตุสมผลในทางวิทยาศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. Riggenbach, Jeff (2011-04-24) The Real William Graham Sumner เก็บถาวร 2014-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Mises Institute
  2. Williams, Raymond (2000). "Social Darwinism". ใน John Offer (บ.ก.). Herbert Spencer: Critical Assessment. London ; New York: Routledge. pp. 186–199. ISBN 9780415181846.
  3. Gregory Claeys (2000). The "Survival of the Fittest" and the Origins of Social Darwinism. Journal of the History of Ideas 61 (2):223-240.
  4. Bowler 2003, pp. 298–299
  5. Leonard, Thomas C. (2009) Origins of the Myth of Social Darwinism: The Ambiguous Legacy of Richard Hofstadter's Social Darwinism in American Thought Journal of Economic Behavior & Organization 71, p.37–51