ข้ามไปเนื้อหา

ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก
กำกับมอร์เทน ทิลดัม
เขียนบทเกรแฮม มัวร์
สร้างจากAlan Turing: The Enigma
โดย แอนดรูว์ ฮอดจิส
อำนวยการสร้างนอรา กรอสแมน
อิโด ออสโทรว์สกี
เท็ดดี ชวาร์ซแมน
นักแสดงนำเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์
คีร์รา ไนท์ลีย์
แมททิว กู๊ด
รอรี คินเนียร์
ชาลส์ แดนซ์
มาร์ก สตรอง
กำกับภาพออสการ์ เฟารา
ตัดต่อวิลเลียม โกลเดนเบิร์ก
ดนตรีประกอบอาแล็กซ็องดร์ แดสปลาต์
บริษัทผู้สร้าง
Black Bear Pictures
Bristol Automotive
ผู้จัดจำหน่ายStudioCanal
(สหราชอาณาจักร)
The Weinstein Company
(สหรัฐอเมริกา)
เอ็ม พิคเจอร์ส
(ไทย)
วันฉาย14 พฤศจิกายน 2014
(สหราชอาณาจักร)
28 พฤศจิกายน 2014 (สหรัฐอเมริกา)
29 มกราคม 2015 (ไทย)[1]
ความยาว114 นาที[2]
ประเทศสหรัฐอเมริกา[3][4]
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]
ทำเงิน233.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก (อังกฤษ: The Imitation Game) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์/ชีวิต กำกับโดยมอร์เทน ทิลดัม เขียนบทโดยเกรแฮม มัวร์ โดยดัดแปลงจากหนังสือ Alan Turing: The Enigma โดยแอนดรูว์ ฮอดจิส นำแสดงโดยเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์, คีร์รา ไนท์ลีย์, แมททิว กู๊ด, รอรี คินเนียร์, ชาลส์ แดนซ์ และมาร์ก สตรอง

เรื่องย่อ

[แก้]

ในปี 1951 ตำรวจสองนายสอบสวนแอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ หลังบุกเข้าไปในบ้านของเขา ระหว่างการสอบสวน ทัวริงได้เล่าเรื่องที่เขาทำงานที่เบลตช์ลีย์ปาร์กในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ในปี 1928 ทัวริงในช่วงวัยรุ่นเป็นเด็กที่ไม่มีความสุขและมักถูกรังแกในโรงเรียน เขาเป็นเพื่อนกับคริสโตเฟอร์ มอร์คัม ผู้จุดประกายทัวริงให้สนใจวิทยาการเข้ารหัสลับ ต่อมาทัวริงแอบชอบคริสโตเฟอร์ แต่เขาเสียชีวิตด้วยวัณโรค

เมื่อบริเตนประกาศสงครามกับเยอรมนีในปี 1939 ทัวริงมาที่เบลตช์ลีย์ปาร์กเพื่อทำงานกับทีมนักถอดรหัสที่ประกอบด้วยฮิว อเล็กซานเดอร์, จอห์น แคร์นครอส และปีเตอร์ ฮิลตัน ทั้งหมดพยายามถอดรหัสเครื่องเอนิกมาที่นาซีเยอรมนีใช้ส่งข้อความ ทัวริงได้ออกแบบเครื่องถอดรหัสโดยได้รับเงินสนับสนุนจากวินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรี ต่อมาทีมนักถอดรหัสประกาศหานักถอดรหัสเพิ่มและได้โจน คลาร์ก บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มาร่วมทีม

ทัวริงสร้างเครื่องถอดรหัสที่เขาตั้งชื่อว่าคริสโตเฟอร์ได้สำเร็จ แต่ประสบปัญหาในการถอดรหัสเนื่องจากฝ่ายเยอรมันเปลี่ยนรหัสใหม่ทุกวัน ความล้มเหลวในการถอดรหัสทำให้อลาสแตร์ เดนนิสตัน ผู้บัญชาการสั่งไล่ทัวริงออกและให้ทำลายเครื่องทิ้ง แต่นักถอดรหัสคนอื่นในทีมขู่ว่าจะลาออกเช่นกันหากเดนนิสตันทำเช่นนั้น ในช่วงเวลาเดียวกัน คลาร์กขอลาออกเนื่องจากครอบครัวไม่อยากให้เธอทำงานนี้ แต่ทัวริงกลับขอเธอแต่งงานซึ่งเธอตอบรับ ต่อมาแคร์นครอส สมาชิกในทีมถอดรหัสพบว่าทัวริงมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ วันหนึ่ง ทัวริงได้ยินเสมียนคุยกันถึงข้อความที่ได้รับ เขาจึงตระหนักถึงวิธีถอดรหัสเอนิกมาและถอดรหัสข้อความได้สำเร็จ

ต่อมาทัวริงพบว่าแคร์นครอสเป็นสายลับให้โซเวียต เมื่อทั้งสองพบกัน แคร์นครอสกล่าวว่าทั้งบริเตนและโซเวียตต่างก็อยู่ฝ่ายเดียวกัน และขู่ว่าจะเปิดโปงเรื่องที่ทัวริงเป็นพวกรักร่วมเพศกลับหากทัวริงเผยเรื่องนี้ ต่อมาสจ๊วต แมนซีส์ สายลับ MI6 มาคุกคามคลาร์ก ทัวริงจึงบอกแมนซีส์เรื่องที่แคร์นครอสเป็นสายลับโซเวียต แต่แมนซีส์กล่าวว่าเขารู้อยู่แล้วและตั้งใจปล่อยข้อมูลให้แคร์นครอสเพื่อผลประโยชน์ของบริเตน ทัวริงซึ่งเป็นห่วงสวัสดิภาพของคลาร์กบอกให้เธอรีบไปจากเบลตช์ลีย์ปาร์ก แต่คลาร์กไม่ยินยอม ทัวริงจึงบอกว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศและแต่งงานกับเธอเพื่อหลอกใช้เธอในการถอดรหัส คลาร์กซึ่งได้ยินอย่างนั้นใจสลายและยอมจากไป

หลังสงคราม ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1950 ทัวริงถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานลามกอนาจารอย่างร้ายแรง และถูกฉีดสารให้อัณฑะฝ่อ คลาร์กมาเยี่ยมทัวริงที่บ้านและพบเขาในสภาพย่ำแย่ทรุดโทรม เธอปลอมประโลมทัวริงว่างานที่เขาทำช่วยชีวิตคนนับล้าน

ภาพยนตร์จบลงด้วยข้อมูลช่วงบั้นปลายของทัวริง การที่เขาได้รับการอภัยโทษย้อนหลังในปี 2013 และยกย่องงานริเริ่มไว้ ซึ่งต่อมาพัฒนามาเป็นคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

นักแสดง

[แก้]

การตอบรับ

[แก้]

ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก ได้รับการตอบรับในแง่บวก[7] เป็นภาพยนตร์อิสระที่ทำรายได้สูงสุดของปี ค.ศ. 2014[8] อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกวิจารณ์ว่าบางเหตุการณ์ในเรื่องนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริง[9]

รางวัล

[แก้]

ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Imitation Game ถอดรหัสลับ อัฉจริยะพลิกโลก by Major Cineplex". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-05. สืบค้นเมื่อ 2015-01-23.
  2. "THE IMITATION GAME by bbfc". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-07. สืบค้นเมื่อ 2015-01-23.
  3. "The Imitation Game (2014)". BFI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 2015-12-03.
  4. "Detail view of Movies Page". afi.com.
  5. The Imitation Game by IMDb
  6. The Imitation Game Box Office Mojo
  7. The Imitation Game Reviews - Metacritic
  8. "Imitation Game" Poised To Become 2014’s Top Box Office Indie
  9. Nine facts "The Imitation Game" got wrong about Alan Turing
  10. "Oscar Nominations: 'Grand Budapest Hotel' & 'Birdman' Lead Way With 9 Noms; 'Imitation Game' Scores 8". Deadline.com. 15 January 2015. สืบค้นเมื่อ 15 January 2015.
  11. "Boyhood and Birdman among AFI's top films of 2014". BBC.
  12. "'Transparent,' 'Imitation Game,' 'HTGAWM' Among GLAAD Media Awards Nominees". Variety. 21 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  13. "HIFF Awards Alfred P. Sloan Feature Film Prize to 'The Imitation Game'". Dan's Papers. สืบค้นเมื่อ 7 October 2014.
  14. "Hollywood Music Media Awards". HitFlix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-11. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
  15. Blake, Emily. "Hollywood Film Awards 2014: And the winners are..." Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-16. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
  16. "Sinema eleştirmenleri, adaylarını seçti!". Habertürk. 13 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
  17. "Winners of the 2013 – 2014 International Online Film Critics' Poll Announced". Monsters and Critics. 26 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-01. สืบค้นเมื่อ 27 January 2015.
  18. "35th CC Film Awards Nominations". London Film Critics' Circle. 16 December 2014. สืบค้นเมื่อ 16 December 2014.
  19. Staff (October 2014). "'The Imitation Game' wins Overall Audience Award for Best Film=Mill Valley Film Festival". Mill Valley Film Festival. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-18. สืบค้นเมื่อ 2 November 2014.
  20. "A Most Violent Year named best film by National Board of Review". BBC.
  21. "Newport Beach Film Festival to Award the Imitation Game with two Top Honors". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
  22. "Palm Springs Film Fest: Cast of 'Imitation Game' Picked As Year's Top Ensemble". The Hollywood Reporter.
  23. "'The Imitation Game' wins Best Gala Film". San Diego Film Festival. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-11. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  24. "'Birdman' Leads Satellite Awards Nominations". The Wrap.
  25. "Toronto: 'Imitation Game' Wins Festival's People's Choice Award". Variety. 14 September 2014. สืบค้นเมื่อ 7 October 2014.
  26. "USC Scripter Award Nominations Unveiled". Deadline.com. 8 January 2015. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  27. "Writers Guild Awards Nominations: 'Whiplash', 'Gone Girl', 'Guardians' On Diverse List". Deadline.com. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]