ตานดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตานดำ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Ebenaceae
สกุล: Diospyros
สปีชีส์: D.  montana
ชื่อทวินาม
Diospyros montana
Roxb.
ชื่อพ้อง
  • Diospyros auriculata Wight ex Hiern[1]

ตานดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyros montana) หรือ ตานส้าน, ถ่านไฟผี, มะเกลือป่า หรือ มะตูมดำ[2] เป็นพืชในสกุลมะพลับ กระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กลับถึงรูปรี ยาว 2-12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงรูประฆัง มี 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วย ปลายแยก 4 แฉก มีสีเขียว กลีบดอกรูปคนโทสีเหลือง ยาว 0.8-1 เซนติเมตร มี 4 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 14-20 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มี 8 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 4 อัน มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 4-12 อัน ผลเป็นผลสดทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงบานออกหรือพับงอกลับ เมื่อแก่มีสีเหลือง[4][5] ผลมีพิษใช้เบื่อปลาและนำมาย้อมสีได้ เปลือกต้นมีสรรพคุณลดไข้และแก้อักเสบ[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2770172
  2. "ตานดำ - Diospyros montana Roxb. - ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ". กรมป่าไม้. สืบค้นเมื่อ November 10, 2017.[ลิงก์เสีย]
  3. Khare, C.P. "Indian Medicinal Plants: An Illustrated Dictionary". Google Books. สืบค้นเมื่อ November 10, 2017.
  4. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 169, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  5. "ตานดำ - Diospyros montana Roxb". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31. สืบค้นเมื่อ November 10, 2017.
  6. "ตานดำ - Diospyros montana Roxb. - สำนักงานหอพรรณไม้". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ November 10, 2017.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ตานดำ
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Diospyros montana ที่วิกิสปีชีส์