ดาวโบซอน
หน้าตา
ดาวโบซอน (boson star) เป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในสมมุติฐานว่าน่าจะมีตัวตนอยู่ ประกอบขึ้นจากอนุภาคโบซอน (ดาวฤกษ์ดั้งเดิมประกอบด้วยเฟอร์มิออน) การมีอยู่ของดาวฤกษ์ประเภทนี้จำเป็นต้องมีโบซอนที่เสถียรและมีมวลน้อย ปัจจุบันยังคงไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าดาวในลักษณะดังกล่าวมีอยู่จริง อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่จะตรวจจับการปลดปล่อยคลื่นความโน้มถ่วง จากระบบดาวคู่ ซึ่งดาวโบซอนโคจรรอบซึ่งกันและกันอยู่[1][2]
เชื่อกันว่าดาวโบซอนก่อตัวขึ้นจากการยุบตัวจากความโน้มถ่วงในช่วงแรก ๆ ของบิกแบง[3] อย่างน้อยในทางทฤษฎี ดาวโบซอนมวลมากสามารถมีอยู่ในบริเวณศูนย์กลางดาราจักร และสมมติฐานนี้สามารถอธิบายลักษณะต่าง ๆ ที่สังเกตได้ในนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์[4] นอกจากนี้แล้ว ดาวโบซอนยังได้รับการตั้งสมมุติฐานว่าอาจจะเป็นสสารมืดด้วย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Schutz, Bernard F. (2003). Gravity from the ground up (3rd ed.). Cambridge University Press. p. 143. ISBN 0521455065.
- ↑ Palenzuela, C.; Lehner, L.; Liebling, S. L. (2008). "Orbital dynamics of binary boson star systems". Physical Review D. 77 (4): 044036. doi:10.1103/PhysRevD.77.044036.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Madsen, Mark S.; Liddle, Andrew R. (1990). "The cosmological formation of boson stars". Physics Letters B. 251 (4): 507. doi:10.1016/0370-2693(90)90788-8.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Torres, Diego F.; Capozziello, S.; Lambiase, G. (2000). "Supermassive boson star at the galactic center?". Physical Review D. 62 (10): 104012. doi:10.1103/PhysRevD.62.104012.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Sharma, R.; Karmakar, S.; Mukherjee, S. "Boson star and dark matter". arXiv. สืบค้นเมื่อ 2009-04-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)