ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ (วิดีโอเกม พ.ศ. 2538)
ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ | |
---|---|
ผู้พัฒนา | ฮัดสันซอฟต์, เวสโตน |
ผู้จัดจำหน่าย |
|
กำกับ | ฮิเดโอะ นากาจิมะ รีวอิจิ นิชิซาวะ |
อำนวยการผลิต | บิล ริตช์ |
ออกแบบ | โคตะ คิกูจิ ยูตากะ ฮิราตะ |
โปรแกรมเมอร์ | มิจิชิโตะ อิชิซูกะ ทากาโนริ คูริฮาระ |
ศิลปิน | คัตสึโอะ ไซโตะ มินะ โมริโอกะ เรโกะ ซูมิ |
แต่งเพลง | จิง วาตานาเบะ ชินอิจิ ซากาโมโตะ |
ชุด | ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ |
เครื่องเล่น | เซกา ซีดี |
วางจำหน่าย |
|
แนว | เกมแอ็กชันเล่นตามบทบาท, ตะลุยดันเจียน, สับและเฉือน |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ (อังกฤษ: Dungeon Explorer) เป็นวิดีโอเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่ร่วมกันพัฒนาโดยฮัดสันซอฟต์กับเวสโตน และเผยแพร่โดยเซกาในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1995 เฉพาะสำหรับเซกา ซีดี และต่อมาในทวีปยุโรปโดยฮัดสันซอฟต์ในปีเดียวกัน[1][2] ผลงานที่สามในแฟรนไชส์ชุดนี้ ใช้ชื่อเดียวกับดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ ค.ศ. 1989 แต่ไม่ได้เป็นพอร์ตของภาคก่อนหน้าใด ๆ และแตกต่างอย่างมากจากภาคอื่น ๆ ในซีรีส์[3][4]
เรื่องราวเกิดขึ้นในโลกจินตนิมิตที่ปีศาจผู้ทรงอำนาจซึ่งรู้จักกันในชื่อดาร์กลิงได้จับเทพธิดาไว้ภายใต้การถูกจองจำในหอคอยที่มันอาศัยอยู่ ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหนึ่งในหกตัวละครหลักที่สามารถเล่นได้เพื่อพิชิตดันเจียนจำนวนหนึ่งเพื่อจำกัดดาร์กลิง และปลดปล่อยเทพธิดา ซึ่งจะให้ความปรารถนาใด ๆ แก่ผู้ที่สามารถท้าทายผู้กักขังเธอได้ ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ในระบบเซกา ซีดี ได้รับการตอบรับเชิงบวกจากนักวิจารณ์และผู้วิจารณ์ตั้งแต่เปิดตัว แม้ว่าสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนมากรู้สึกว่ามีการผสมในหลายแง่มุม เช่น กราฟิก, เสียง, รูปแบบการเล่น และโหมดหลายผู้เล่น โดยบางส่วนสังเกตเห็นความคล้ายคลึงกับเกมกอนต์เล็ต
รูปแบบการเล่น
[แก้]ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ในเซกา ซีดี เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่มีองค์ประกอบแนวตะลุยดันเจียนกับสับและเฉือน ที่เล่นในมุมมองจากบนลงล่างเดียวกับภาคก่อน โดยผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหนึ่งในหกตัวละครที่สามารถเล่นได้ และจบซีรีส์จากดันเจียนหกแห่ง โดยแต่ละแห่งมีบอสในตอนท้ายซึ่งจะต้องต่อสู้ก่อนที่จะรุดหน้าต่อไป เพื่อปลดปล่อยเทพธิดาแห่งความปรารถนาจากการถูกจองจำที่หอคอยแห่งความชั่ว ซึ่งรู้จักกันในชื่อดาร์กลิง[3][4][5] ตัวละครแต่ละตัวอยู่ในคลาสใดคลาสหนึ่งและความสามารถของพวกเขาแตกต่างกันไปตามสถิติเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้เกมรองรับผู้เล่นสูงสุดสี่คนพร้อมกันผ่านมัลติแทปซึ่งแตกต่างจากภาคก่อน[3][4][5] เกมนี้รองรับการเซฟเกมด้วยแรมสำรองภายในของเซกา ซีดี หรือตลับซีดี แบ็กอัปแรม[3][5]
เรื่องย่อ
[แก้]ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ในเซกา ซีดี เกิดขึ้นในโลกแฟนตาซีซึ่งมีปีศาจทรงพลังที่รู้จักกันในชื่อดาร์กลิงอาศัยอยู่ในหอคอยที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยฉกฉวยสิ่งที่มันปรารถนาจากมนุษย์ที่เข้าใกล้ตำแหน่งของมัน และฆ่าผู้ที่ทอดสายตามาหามัน โดยการประหารเหยื่อของมันแบบผูกติดกับเสาแล้วเผาเพื่อเป็นสัญญาณเตือนสำหรับผู้ที่มาถึงหอคอย[5] อย่างไรก็ตาม ดาร์กลิงกลัวมนุษย์ โดยรู้ว่ามันจะถูกท้าทายสำหรับดินแดนของมัน และศัตรูคนหนึ่งก็เทียบได้กับพลังของมันเท่า ๆ กัน ซึ่งคือเทพีแห่งความปรารถนา ที่สามารถประทานความปรารถนาใด ๆ แก่ผู้ที่สามารถดำเนินการตามการเรียกมาของเธอได้[5] ดาร์กลิงจับเทพธิดาและโยนเธอไปที่คุกใต้ดินของหอคอย โดยเทพธิดาที่รอคอยที่จะเป็นอิสระจากการถูกจองจำ และมอบความปรารถนาใด ๆ ให้แก่ผู้ปลดปล่อย[3][5] ข่าวลือเรื่องเทพธิดาและชะตากรรมของนักผจญภัยที่หายตัวไปได้เริ่มต้น โดยมีผู้คนมาที่โรงเตี๊ยมโจโจมากขึ้น และเล่าถึงการผจญภัยในอดีตของพวกเขาก่อนจะออกจากหอคอย[5]
การพัฒนาและการตลาด
[แก้]ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ในเซกา ซีดี ได้รับการพัฒนาร่วมกันโดยบริษัทฮัดสันซอฟต์และเวสโตน ซึ่งเป็นบริษัทที่รู้จักกันเป็นอย่างดีจากแฟรนไชส์วันเดอร์บอย/มอนสเตอร์เวิลด์ โดยได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากบริษัทเซกา[5][4] ซึ่งก่อนหน้านี้ทีมพัฒนาของเวสโตนส่วนใหญ่เคยเกี่ยวข้องกับหลายรายการในซีรีส์วันเดอร์บอย/มอนสเตอร์เวิลด์ โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งอย่างรีวอิจิ นิชิซาวะ และฮิเดโอะ นากาจิมะ ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับร่วม ในขณะที่บิล ริตช์ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างที่บริษัทฮัดสันซอฟต์[5] ส่วนทากาโนริ คูริฮาระ และผู้ร่วมก่อตั้งเวสโตนอย่างมิจิชิโตะ อิชิซูกะ ได้ทำหน้าที่เป็นโปรแกรมเมอร์ ในขณะที่นิชิซาวะ และนากาจิมะ ยังทำหน้าที่เป็นนักออกแบบเลเวลร่วมกับโคตะ คิกูจิ และยูตากะ ฮิราตะ[5] ซึ่งนากาจิมะยังมีส่วนร่วมในฐานะศิลปินร่วมกับคัตสึโอะ ไซโตะ, มินะ โมริโอกะ, เรโกะ ซูมิ และทากาอิ เซกิยามะ ซึ่งรับผิดชอบงานศิลปะพิกเซล[5][6] ส่วนซาวด์แทร็กแต่งโดยจิง วาตานาเบะ และชินอิจิ ซากาโมโตะ โดยซากาโมโตะยังรับผิดชอบด้านเสียงประกอบ รวมถึงการพากย์เสียงควบคู่ไปกับนากาจิมะ และวาตานาเบะ[5] ทั้งนี้ เกมดังกล่าวเผยแพร่ครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือโดยบริษัทเซกาเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1995 และต่อมาในทวีปยุโรปโดยบริษัทฮัดสันซอฟต์ในปีเดียวกัน[1][2]
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
นิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันได้วิจารณ์เกมนี้โดยให้คะแนนสามดาวจากทั้งหมดห้าดาว และกล่าวว่า "เกมไม่ได้แหวกแนว แต่ปริศนาส่วนใหญ่นั้นแยบยล ความหลากหลาย และความท้าทายจะทำให้คุณเกิดความสนใจสูง"[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "News • Previews Internationales: Dungeon Explorer (Megadrive - Hudson)". Joypad (ภาษาฝรั่งเศส). No. 39. Yellow Media. February 1995. p. 39.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Finals - Sega CD - Dungeon Explorer". Next Generation. No. 5. Imagine Media. May 1995. p. 95. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-05. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Horowitz, Ken (June 24, 2004). "Sega CD Reviews - Dungeon Explorer". sega-16.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Kalata, Kurt (December 17, 2008). "Dungeon Explorer (Sega CD)". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 Dungeon Explorer manual (Sega CD, US)
- ↑ Morioka, Mina (22 August 2004). "Profile (~プロフィール~): ~Mina.M(本業)の お絵描き経歴~". cyan.mina1111.com (ภาษาญี่ปุ่น). Cyan -Mina.M (みゃ♪or 藍) Home Page-. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-19. สืบค้นเมื่อ 2020-07-01.
- ↑ "Dungeon Explorer for Sega CD". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ Larry, Sir Scary (May 1995). "Role-Player's Realm: Dungeon Explorer (Sega CD)". GamePro. No. 70. IDG. p. 104.
- ↑ Garnier, François (September 1995). "Mega CD Review - Dungeon Explorer". Consoles + (ภาษาฝรั่งเศส). No. 46. M.E.R.7. p. 143.
- ↑ Ellis, Les (July 1995). "Reviews (Mega CD) - Dungeon Explorer". GamesMaster. No. 31. Future Publishing. p. 45.
- ↑ Lundrigan, Jeff (May 1995). "Sega CD - Review: Dungeon Explorer". Game Players. No. 71. Signal Research. p. 54.
- ↑ Anton, Michael (October 1995). "Mega-CD Test: Dungeon Explorer". Gamers (ภาษาเยอรมัน). No. 29. MLV-Verlag. p. 28.
- ↑ Hellot, Grégoire (September 1995). "Test - Mega-CD: Dungeon Explorer". Joypad (ภาษาฝรั่งเศส). No. 45. Yellow Media. p. 76.
- ↑ Bannert, Robert (June 1995). "Spiele-Tests - MD - Dungeon Explorer". MAN!AC (ภาษาเยอรมัน). No. 20. Cybermedia. p. 68. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
- ↑ "Zapping - Mega CD - Dungeon Explorer". Mega Force (ภาษาฝรั่งเศส). No. 42. MegaPress, S.A.R.L. September 1995.
- ↑ Hellert, Stefan (June 1995). "Test Kunterbunt (Mega CD II) - Dungeon Explorer". Mega Fun (ภาษาเยอรมัน). No. 33. CT Computec Verlag GmbH & Co. KG. p. 67.
- ↑ Schneider, Ulf (July 1995). "Reviews - Dungeon Explorer (Mega CD II)". Play Time (ภาษาเยอรมัน). No. 49. Computec Media Group. p. 112.
- ↑ Pilet, Stéphane (September 1995). "Vite Vu - Mega CD: Dungeon Explorer". Player One (ภาษาฝรั่งเศส). No. 56. Média Système Édition. p. 120.
- ↑ Jaime (1 ตุลาคม 1999). "Dungeon Explorer - RPGFan Reviews". RPGFan. RPGFan Media, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กันยายน 2000. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Reviews - Mega CD - Dungeon Explorer". Sega Power. No. 69. Future plc. August 1995. pp. 40–41.
- ↑ Lion; Khârmo (September 1995). "Le labo - Mega CD: Dungeon sous la pluie... – Dungeon Explorer". Top Consoles (ภาษาฝรั่งเศส). No. 5. Pressimage. pp. 86–87. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
- ↑ Schaedle, Wolfgang (July 1995). "Mega CD - Reviews: Höhlenforscher – Dungeon Explorer". Video Games (ภาษาเยอรมัน). No. 44. Future-Verlag. p. 104.
- ↑ Higgins, Geoff (May 1995). "RPG Attack! - Sega CD: Dungeon Explorer – "This game quickly becomes an addiction"". VideoGames - The Ultimate Gaming Magazine. No. 76. L.F.P., Inc. pp. 88–89.