จุดหลอมเหลว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Kofler bench

จุดหลอมเหลว คือ จุดที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว จุดหลอมเหลวนี้มีค่าเท่ากับจุดเยือกแข็ง เพียงแต่จุดเยือกแข็งใช้เรียกเมื่อสารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ตัวอย่างเช่น น้ำ มีจุดหลอมเหลว เป็น 0 องศาเซลเซียส (Celsius) หมายความว่า น้ำแข็ง ซึ่งเป็นสถานะของแข็งของน้ำจะกลายสถานะเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิมากกว่า 0 องศาเซลเซียส และน้ำก็มีจุดเยือกแข็งที่ 0 องศาเซลเซียส อธิบายว่า น้ำสถานะของเหลวจะกลายสถานะเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนการหาจุดหลอมเหลว[แก้]

ขั้นตอนการหาจุดหลอมเหลว มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. บรรจุสารลงในหลอดแคปิลารี (Capillary melting point tube) ประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร จากปลายหลอดแคปิลลารี และมัดติดกับเทอร์โมมิเตอร์ โดยยางวง (Rubber band)

2. เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้ากับจุกคอร์ก และยึดติดกับแคลมพ์ (Clamp)

3. เทน้ำมันพาราฟินหรือกลีเซอรอล (หรือสารชนิดอื่น ๆ ที่มีอุณหภูมิสูงมาก ๆ ) ลงในบีกเกอร์ (Beaker) และจุ่มปลายเทอร์โมมิเตอร์ลงในบีกเกอร์ อย่าให้ปลายกระเปาะเทอร์โมมิเตอร์อยู่ติดกับผนังบีกเกอร์

4. ให้ความร้อนอย่างช้า ๆ บันทึกอุณหภูมิเมื่อเห็นสารในหลอดแคปิลลารีเริ่มหลอมเหลว อุณหภูมินั้น คือ จุดหลอมเหลว (Melting point)[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]