ข้ามไปเนื้อหา

จินเซนโนไซด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จินเซนโนไซด์ (อังกฤษ: Ginsenoside) จินเซนโนไซด์เป็นสารประกอบธรรมชาติที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นไตรเทอร์ปีนซาโปนิน (Triterpene Saponins) ส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากวงแหวนอะตอมของคาร์บอน 4 วงและมีโมเลกุลของน้ำตาลเช่น แรมโนส (Rhamnose) ไซโลส (Xylose) หรือ อาราบิโนส (Arabinose) มาจับเกาะกับคอร์บอนอะตอมที่ตำแหน่งที่ 3 และ 20 สารประกอบกลุ่มจินเซ็นโนไซด์ถูกเรียกแทนด้วยชื่อย่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Rx” ซึ่ง“R” หมายถึงราก(Root)ในขณะที่ “x”จะแทนด้วยอักษรภาอังกฤษต่างๆ เพื่อใช้อธิบายถึงคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกันไปของโสมแต่ละชนิด จากการจำแนกคุณสมบัติทางเคมีเบื้องต้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งประเภทสารประกอบจินเซ็นโนไซด์(5)ได้ทั้งหมด4 กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีปริมาณจินเซนโนไซด์สูงและพบได้บ่อย 2 กลุ่ม (รูปที่ 1) ดังนี้

  1. กลุ่มโครงสร้าง Protopanaxadiol(PPD) เช่น Ra1, Ra2, Ra3, Rb1, Rh2 ,Rb2 และ Rb3 เป็นต้น
  2. กลุ่มโครงสร้าง Protopanaxatriol(PPT) เช่น Re, Rf, Rg1, Rg2 และ Rh1 เป็นต้น
โครงสร้างทางเคมีของจินเซ็นโนไซด์ในกลุ่มของ Protopanaxadiol
โครงสร้างทางเคมีของจินเซ็นโนไซด์ในกลุ่มของ Protopanaxatriol

และสารประกอบกลุ่มจินเซ็นโนไซด์อีก 2 กลุ่มที่มีปริมาณจินเซนโนไซด์ไม่สูงและพบได้น้อย ได้แก่

  1. กลุ่มโครงสร้าง Pentacyclic Oleanane saponin เช่น Ro เป็นต้น
  2. กลุ่มโครงสร้าง Ocotillol saponin เช่น F11 และ R15 เป็นต้น

โครงสร้างที่หลากหลายของสารประกอบกลุ่มจินเซนโนไซด์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาทดลองค้นคว้าทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับคลินิกเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเพื่อนำมาใช้เป็นยาและอาหารฟังก์ชัน ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายๆด้าน


คุณลักษณะเฉพาะของจินเซนโนไซด์

[แก้]

เมื่อตรวจแยกวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในโสมมีสารจินเซนโนไซด์กว่า 150 ชนิด และมีฤทธิ์ที่แตกต่างกันไป เช่น

  • ปกป้องเซลล์ประสาท[1]
  • ต่อต้านอนุมูลอิสระ[2]
  • ควบคุมกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่[3]
  • เป็นพิษต่อเซลล์ (Cytotoxicity) ซึ่งอาจนำไปใช้ในกระบวนการกำจัดเซลล์มะเร็งในยาบางชนิดได้[4]


การตรวจวัดคุณภาพของสารจินเซนโนไซด์

[แก้]

การตรวจวัดคุณภาพของสารจินเซนโนไซด์สามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า HPTLC (High Performance Thin Layer Chromatographyเพื่อตรวจวัดค่ามาตรฐานของปริมาณสารสำคัญของจินเซนโนไซด์ ในโสมที่เป็นวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการผลิต


การศึกษาผลจินเซนโนไซด์ที่มีต่อสมอง

[แก้]
  • จินเซนโนไซด์ Rb1 ออกฤทธิ์โดยการส่งเสริมการทำงานของสารสื่อประสาทหลักในสมองและระบบประสาทส่วนกลางที่มีชื่อว่า อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine)
  • จินเซนโนไซด์ Rg1 ส่งผลต่อการเพิ่มระดับสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (Serotonin)ในสมอง [5]
  • จินเซนโนไซด์ ชนิด Rd และ Re ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารสื่อประสาท GABA ในสมอง [6]
  • จินเซนโนไซด์ชนิด Rb1 และ Rg1 ร่วมกันออกฤทธิ์ต่อสมองโดยกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทในสมองชื่อว่า กลูตาเมท (Glutamate) [7]
  • จินเซนโนไซด์ชนิด Rb1, Rg1 และสาร Saponin อื่นๆ มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายเซลล์สมองให้เสื่อมโทรม [8]
  • จินเซนโนไซด์ชนิด Rg1 ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ผนังหลอดเลือด ยับยั้งการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น [9]


อ้างอิง

[แก้]
  1. (Rudakewich M และ คณะ, 2001)
  2. (Xie JT และ คณะ, 2001)
  3. (Sengupta S และ คณะ, 2004)
  4. (Yang ZG และคณะ, 2006)
  5. (Zhang และคณะ, 1990)
  6. (Tsang และคณะ, 1985)
  7. (Chang Y. และ คณะ, 2008)
  8. (Chen และคณะ, 2008)
  9. (Kang และ คณะ, 1995)