จิตรกรรมสุนทรี
จิตรกรรมสุนทรี (อังกฤษ: Sundari paintings หรือ Sundari images; เบงกอล: সুন্দরী চিত্র; สุนฺทรี จิตฺร) เป็นรูปแบบหนึ่งของพินอัปหรือศิลปะเย้ายวนที่เป็นที่นิยมในกัลกัตตาสมัยศตวรรษที่ 19[1][2] ส่วนใหญ่วางจำหน่ายในรูปภาพพิมพ์ จิตรกรรมสุนทรีแสดงภาพของสตรี โดยเฉพาะสตรีชนชั้นใหม่ที่เป็นหม้ายและมาประกอบอาชีพค้ากามเพื่อเอาชีวิตรอด และเป็นอ้างอิงอันมีค่าสำหรับการทำความเข้าใจที่ทางของสตรีในสังคมที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่[3]
สุนทรีแปลว่า 'สตรีโฉมงาม' และสุนทรีแต่ละชิ้นมีลักษณะเฉพาะของตน เช่น เล่นตาบลา, เตรียมปาน, ปรับสายไวโอลิน หรือแสดงท่าทางเย้ายวนคู่กับดอกกุหลาบ[3] ภาพเขียนสุนทรีแสดงภาพสตรีชาวเบงกอลในศตวรรษที่ 19 ที่เป็นหม้ายและเป็นนางโลม[3] ภาพเขียนเหล่านี้ยังแสดงถึงความเห็นต่อปรากฏการณ์ทางสังคมที่ใหญ่กว่าที่สตรีเป็นหม้ายต้องถูกบังคับให้ค้าประเวณี ซึ่งพบได้มากในเบงกอลยุคศตวรรษที่ 19-20 หลังการสั่งยกเลิกพิธี สตี[1][2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 The Babu & the Bazaar: Art from the 19th & Early 20th–Century Bengal. Aditi Nath Sharkar, with Shatadeep Maitra. DAG Pvt. Ltd., New Delhi, 2022. ISBN 978-93-81217-90-0.
- ↑ 2.0 2.1 "The Babu and the Bazaar". dagworld.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-14.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Lakshmi, Rama (2023-05-29). "Between the brothel and Brindavan—Bengal art shows twin faces of Hindu widows after sati ban". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-06-14.