จอห์น ฟิลิป ซูซา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
John Philip Sousa | |
---|---|
จอห์น ฟิลิป ซูซา ค.ศ. 1900 | |
ชื่อเล่น | "The March King" "ราชาเพลงมาร์ช" |
เกิด | 06 พฤศจิกายน ค.ศ. 1854 วอชิงตัน ดี.ซี. |
เสียชีวิต | มีนาคม 6, 1932 โรงแรมอับราฮัม ลินคอล์น, รีดดิง รัฐเพนซิลเวเนีย | (77 ปี)
สุสาน | สุสานรัฐสภา วอชิงตัน ดี.ซี. |
รับใช้ | United States of America |
แผนก/ | เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ |
ประจำการ | 1868–1875, 1880–1892 (นาวิกโยธิน) 1917–1918 (กองทัพเรือ) |
ชั้นยศ | Warrant officer (USMC) Lieutenant commander (USN) |
บังคับบัญชา | วงดุริยางค์นาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา วงดุริยางค์สถานีทหารเรือ เกรทเลค |
จอห์น ฟิลิป ซูซา (อังกฤษ: John Philip Sousa; 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1854 - 6 มีนาคม ค.ศ. 1932) เป็นนักแต่งเพลง นักประดิษฐ์ และวาทยกรชาวอเมริกัน เป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ชไว้มากมาย จนได้รับสมญานามว่า "ราชาเพลงมาร์ช"[1]
ประวัติ
[แก้]ซูซาเกิดที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นบุตรของจอห์น อันโตนิโอ ซูซา (John Antonio Sousa) กับ มาเรีย อลิซาเบ็ธ ทริงค์ฮัส (Maria Elisabeth Trinkhaus) บิดามารดาของซูซาได้อพยพมาจากโปรตุเกส และแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ซูซาเริ่มเล่นไวโอลินเมื่ออายุ 6 ปี ถือเป็นเครื่องดนตรีอย่างแรกที่ซูซาเล่น เมื่อซูซาอายุ 13 ปี บิดาซึ่งเป็นสมาชิกวงดุริยางค์นาวิกโยธินได้ส่งซูซาไปเข้ากองนาวิกโยธินเป็นเวลาเจ็ดปี และระหว่างนั้นซูซาได้ศึกษาการดนตรีมาโดยตลอด
ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม 1879 ซูซาได้แต่งงานกับเจน ฟาน มิทท์เลทวอธ เบลิส (Jane van Middlesworth Bellis; 1862 -1944) เมื่ออายุได้ 25 ปี มีบุตรธิดาทั้งหมด 3 คน คือ
- จอห์น ฟิลิป ซูซา จูเนียร์ (John Philip Sousa Jr.; 1 เมษายน 1881 – 18 พฤษภาคม 1937)
- เจน พริสซิลลา ซูซา (Jane Priscilla Sousa; 7 สิงหาคม 1882 – 28 ตุลาคม 1958)
- เฮเลน ซูซา (Helen Sousa; 21 มกราคม 1887 – 14 ตุลาคม 1975)
ซูซาถึงแก่กรรมอย่างสงบในวันที่ 6 มีนาคม 1932 เมื่อเวลาประมาณ 1:30 น. เมื่ออายุได้ 77 ปี ที่โรงแรมอับราฮัม ลินคอล์น ศพของซูซาได้รับการฝังที่สุสานรัฐสภา (Congressional Cemetery) วอชิงตัน ดี.ซี.
ผลงาน
[แก้]เพลงมาร์ช
[แก้]ซูซาประพันธ์เพลงมาร์ชทั้งหมด 136 เพลง เพลงมาร์ชเพลงแรกที่ซูซาประพันธ์คือ Review (ประพันธ์เสร็จในปี 1873) เพลงมาร์ชสุดท้ายคือ Library Of Congress (ประพันธ์เสร็จในปี 1932) เพลงต่อไปนี้เป็นเพลงมาร์ชที่มีชื่อเสียงที่ซูซาประพันธ์ เรียงตามปีที่ประพันธ์
- The Gladiator March (1886)
- Semper Fidelis (1888)
- The Washington Post (1889)
- The Thunderer (1889)
- High school Cadets (1890)
- The Liberty Bell (1893)
- Manhattan Beach March (1893)
- King Cotton (1895)
- The Stars and Stripes Forever (1896)
- El Capitan (1896)
- Hand Across the Sea (1899)
- Hail to the Spirit of Liberty (1900)
- Invincible Eagle (1901)
- Fairest of the Fair (1908)
- Glory of the Yankee Navy (1909)
- U.S. Field Artillery (1917)
- Who's Who in Navy Blue (1920)
- The Gallant Seventh (1922)
- Nobles of the Mystic Shrine (1923)
- The Black Horse Troop (1924)
- Pride of the Wolverines (1926)
- Minnesota March (1927)
- Salvation Army March (1930)
ผลงานอื่นๆ
[แก้]นอกจากเพลงมาร์ชแล้ว ซูซายังคงประพันธ์เพลงประเภทอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เพลงประกอบละครสั้น (Operetta) เพลงวอลซ์ เพลงโวคัล เพลงเฉพาะเครื่อง เช่น ไวโอลิน (Piece of Violin) คอร์เน็ต (Piece of Cornet) ทรัมเป็ตและกลอง (Piece of trumpets and drums) เป็นต้น
นอกจากนี้ ซูซายังเป็นผู้ออกแบบเครื่องดนตรีที่ชื่อว่าซูซาโฟน (Sousaphone) ซึ่งบางแหล่งกล่าวว่า ซูซาเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเอง [2] เพื่อที่จะนำมาใช้แทนทูบาในการเดินแถว หรือแปรขบวนต่างๆในวงโยธวาทิต ปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกายังคงใช้กันอยู่มาก รวมไปถึงประเทศแถบยุโรปบางประเทศและรวมถึงประเทศแถบเอเชีย อาทิเช่น ไทย เป็นต้น
ซูซาโฟน เป็นเครื่องที่มีระดับเสียงและลักษณะเสียงคล้ายหรือเหมือนกับทูบา เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองรูปวงแหวนขนาดใหญ่ เวลาเป่าต้องคล้องไหล่ ลำโพงจะวางอยู่บนไหล่ขวาของผู้เป่า มีหลากหลายคีย์ทั้ง Bb, F และ Eb ใช้กลไกแบบลูกสูบ มี 3 - 4 ลูกสูบ ในอดีตทำจากทองเหลือง ปัจจุบันมีทั้งแบบไม้ ทองเหลือง และแบบผสมพลาสติก ปัจจุบันสำหรับวงโยธวาทิตระดับโลก มักจะนำซูซาโฟนมาใช้แทนทูบาหรือนำทูบามาใช้แทนสลับกันไป[3]
นอกจากนี้ ซูซายังสั่งให้สร้าง ซับคอนทราเบสทูบา (Subcontrabass Tuba) ขึ้น ซึ่งถือเป็นทูบาที่มีเสียงต่ำที่สุด แต่ซูซาได้เสียชีวิตลงก่อนที่ซับคอนทราเบสทูบาจะเสร็จสมบูรณ์