งานฝังประดับวัสดุ
งานฝังประดับวัสดุ Opus sectile | |
“งานฝังประดับวัสดุ”, พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งกรุงโรม |
งานฝังประดับวัสดุ (อังกฤษ: Opus sectile) เป็นกรรมวิธีในการสร้างงานศิลปะที่เป็นที่นิยมกันในกรุงโรม โดยการตัดวัสดุแล้วฝังประดับ[1]เข้าไปในผนังหรือพื้นเพื่อสร้างเป็นภาพหรือลวดลาย วัสดุที่ใช้กันโดยทั่วไปก็ได้แก่หินอ่อน, มุก และ แก้ว วัสดุที่ใช้จะถูกตัดเป็นชิ้นบางๆ, ขัดเงา และ ตัดแบ่งออกไปอีกตามแบบที่ต้องการ งานฝังประดับวัสดุต่างจากงานโมเสกตรงที่งานโมเสกจะเป็นการเรียงชิ้นส่วนที่มีขนาดไร่เรียงกันเพื่อสร้างเป็นลวดลาย ส่วนชิ้นวัสดุที่ตัดขึ้นเพื่อใช้ในการสร้างงานฝังประดับวัสดุจะเป็นชิ้นวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่า และรูปทรงของชิ้นก็จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของแบบที่ออก
ที่มา
[แก้]การใช้สมัยแรกๆ พบในอียิปต์ และ อานาโตเลีย แต่ตัวอย่างงานที่สำคัญเป็นงานของโรมที่ทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 งานชิ้นใหญ่ที่ยังมีเหลืออยู่ให้เห็นคืองานที่บาซิลิกาจูเนียส บาสซัสในกรุงโรมที่เป็นภาพรถม้าขับโดยองค์รักษ์เพรทอเรียนและผู้ติดตาม ความนิยมใช้กรรมวิธีในการสร้างงานศิลปะประเภทนี้นิยมกันมาจนตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 6 และมีอิทธิพลไกลไปจนถึงคอนสแตนติโนเปิล
การใช้ต่อมา
[แก้]แม้ว่าจะหมดความนิยมกันไปในกรุงโรมพร้อมกับการล่มสลายของจักรวรรดิ แต่กรรมวิธีนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่มาในคริสต์ศาสนสถานของไบแซนไทน์โดยเฉพาะในการออกแบบพื้น จากไบแซนไทน์กรรมวิธีนี้ก็หวนกลับมาใช้กันอีกครั้งในอิตาลี และ ซิซิลีในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในรูปแบบของลายคอสมาติที่เน้นการใช้ลวดลายเรขาคณิต ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการฟื้นฟูของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีในรูปแบบของงานฝังประดับเพียทราดูรา แต่งานเพียทราดูรามักจะใช้ในการสร้างงานที่มีขนาดเล็ก และใช้ในการสร้างเฟอร์นิเจอร์ ส่วนงานสถาปัตยกรรมอื่นที่ใช้กรรมวิธีดังกล่าวในสมัยต่อมามักจะเรียกกันว่า “งานฝังประดับอินทาร์เซีย”
ในอังกฤษกรรมวิธีดังกล่าวรื้อฟื้นขึ้นมาทำกันอีกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยกลุ่มขบวนการศิลปะและงานฝีมือ งานของชาร์ลส์ ฮาร์ดเกรฟเป็นนักออกแบบคนสำคัญคนหนึ่งของการใช้กรรมวิธีฝังประดับวัสดุ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-28.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ งานฝังประดับวัสดุ
- James, Liz. "Opus sectile". Grove Art Online. Oxford University Press.