ข้ามไปเนื้อหา

คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า
เขตบร็อดแมนน์เขตต่างๆ ของเยื่อสมอง. จาก BrainInfo, เขต #8 #9 #10 #11 #44 #45 #46 และ #47 ล้วนแต่อยู่ในเขตกลีบหน้าผากส่วนหน้า[1]
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของสมองกลีบหน้า
ส่วนหนึ่งของรอยนูนกลีบหน้าผากส่วนหน้าด้านบน (Superior frontal gyrus)
รอยนูนกลีบหน้าผากส่วนหน้าตรงกลาง (Middle frontal gyrus)
รอยนูนกลีบหน้าผากส่วนหน้าด้านล่าง (Inferior frontal gyrus)
หลอดเลือดแดงAnterior cerebral
Middle cerebral
หลอดเลือดดำSuperior sagittal sinus
ตัวระบุ
ภาษาละตินCortex praefrontalis
MeSHD017397
นิวโรเนมส์2429
นิวโรเล็กซ์ IDnlx_anat_090801, ilx_0109209
FMA224850
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (อังกฤษ: prefrontal cortex, ตัวย่อ PFC) เป็นส่วนหน้าของสมองกลีบหน้าผาก อยู่ข้างหน้าของคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (primary motor cortex[2]) และ คอร์เทกซ์ก่อนคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (premotor cortex[3])

สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน บุคลิก การตัดสินใจ และเกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม[4] ภารกิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือการควบคุมความคิดและการกระทำให้สอดคล้องกันไปตามเป้าหมายที่อยู่ภายในใจ[5]

ในศาสตร์ของจิตวิทยา กิจที่ PFC ทำเรียกว่ากิจบริหาร (executive function) กิจบริหารมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจำแนกความคิดที่ขัดแย้งกัน กับการตัดสินความมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ความดีและความดีที่สุด ความเหมือนกันและความต่างกัน ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากการกระทำปัจจุบัน การทำการเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ การพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้น ความมุ่งหวังในการกระทำ และการควบคุมตนในสังคม (คือสมรรถภาพในการระงับความอยากตามสัญชาตญาณที่ถ้าไม่ระงับแล้ว ก็อาจจะนำไปสู่ผลเกี่ยวกับสังคมที่ไม่เป็นที่น่าชอบใจ)

นักวิชาการหลายท่านได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างบุคลลิกของคนๆหนึ่ง และหน้าที่ของ PFC[6]

งานวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่

[แก้]

กรณีที่ใช้ในการวิจัยถึงหน้าที่ของ PFC ที่มีอิทธิพลมากที่สุดอาจจะเป็นกรณีของนายฟิเนียส์ เกจ (อังกฤษ: Phineas Gage) ผู้มีสมองกลีบหน้าด้านซ้ายเสียหาย เนื่องจากแท่งเหล็กที่แทงทะลุศีรษะของเขาในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1848 อาการที่ปรากฏ[7]ก็คือ แม้ว่านายเกจจะมีความจำ การพูดจา และการเคลื่อนไหวที่ปกติ บุคลิกของเขานั้นเปลี่ยนไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เขากลายเป็นคนที่ฉุนเฉียว โกรธง่าย และขาดความอดทน ล้วนแต่เป็นบุคลิกภาพที่เขาไม่ได้มีมาแต่เดิม จนกระทั่งว่า เพื่อนของเขากล่าวถึงเขาว่า "ไม่ใช่นายเกจอีกต่อไป" และเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนที่เป็นคนงานที่มีความสามารถและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายเหลังเขากลายเป็นผู้ที่จับจดทำงานอะไรๆ ก็ไม่เสร็จ แต่น่าสนใจว่า มีงานวิเคราะห์หลักฐานชั้นต้นอย่างละเอียดที่แสดงว่า คำพรรณนาถึงความเปลี่ยนแปลงทางจิตของนายเกจมักจะเกินเลยไป เมื่อเทียบกับคำพรรณนาของแพทย์ของนายเกจ และที่สำคัญก็คือ ความเปลี่ยนแปลงที่มีผู้พรรณนาหลังการสิ้นชีวิตของนายเกจ น่าทึ่งใจมากกว่าความเปลี่ยนแปลงที่มีผู้พรรณนาก่อนนายเกจสิ้นชีวิต[8][9]

งานวิจัยต่อๆ มาในคนไข้ที่มีความเสียหายใน PFC แสดงว่า คนไข้สามารถพูดถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคมในสถานการณ์หนึ่งๆ แต่ว่า เวลาทำจริงๆ คนไข้กลับมีพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการระยะสั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่าผลระยะยาวของพฤติกรรมที่ทำนั้นจะไม่เกื้อกูลแก่ตน

การตีความหมายของข้อมูลนี้อย่างหนึ่งก็คือ PFC ไม่ใช่มีหน้าที่เพียงแค่เปรียบเทียบและเข้าใจถึงผลในอนาคตของการกระทำเท่านั้น แต่ยังควบคุมการเลือกเฟ้นเป้าหมายภายในใจ ที่มีผลในการระงับความต้องการระยะสั้น เพื่อจะได้ผลที่สนองความต้องการระยะยาวที่ดีกว่าและให้ประโยชน์มากกว่า สมรรถภาพในการรอผลเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่แสดงความยอดเยี่ยมของกิจบริหารในสมองมนุษย์

มีงานวิจัยจำนวนมากที่มุ่งเพื่อเข้าใจบทบาทของ PFC ในความผิดปกติทางประสาท ความปกติหลายๆ อย่าง เช่นโรคจิตเภท โรคประสาทสองขั้ว (bipolar disorder[10]) และ โรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) มีความสัมพันธ์กับการทำงานผิดปกติของ PFC เพราะฉะนั้น การค้นพบการรักษาเยียวยาความผิดปกติเหล่านั้น จะมีได้ก็เพราะสมองส่วนนี้

ความผิดปกติหรือโรค

[แก้]

ที่ผ่านมาหลายทศวรรษ เทคนิคการสร้างภาพสมอง (neuroimaging) ได้ถูกใช้เพื่อวัดปริมาตรของส่วนต่างๆ ในสมองและการเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาท หลายๆ งานวิจัยแสดงว่า ภาวะที่ปริมาตรของสมองหรือการเชื่อมต่อกันของสมองที่ลดลงไปมีอยู่ในบุคคลดังต่อไปนี้

เชื่อกันว่าการที่มนุษย์มีความรู้สึกผิด (guilt) หรือความสำนึกผิด (remoarse) และความสามารถในการเข้าใจความเป็นจริง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ PFC ที่ทำงานได้ดี[16] และเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า ทั้งขนาดและจำนวนการเชื่อมต่อกันของ PFC กับสมองส่วนอื่นๆ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการรับรู้ความรู้สึก (sentience[17]) เพราะว่า PFC ในมนุษย์ใช้พื้นที่ในสมองเทียบโดยเปอร์เซ็นต์มากกว่าสัตว์อื่นๆ ยิ่งกว่านั้น ยังมีทฤษฎีอีกด้วยว่า ในขณะที่สมองทั้งหมดมีขนาดเพิ่มขึ้นเพียง 3 เท่าในระยะเวลา 5 ล้านปีในวิวัฒนาการของมนุษย์[18] PFC กลับมีขนาดเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า[19]


ภาพต่างๆ

[แก้]

ภาพต่างๆ เหล่านี้แสดงตำแหน่งของส่วนย่อยส่วนหนึ่งของ PFC (เขตบร็อดแมนน์ 10) แม้ว่าจะไม่ได้รวมส่วนของสมองที่เรียกว่า PFC ทั้งหมด

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิงและหมายเหตุ

[แก้]
  1. Murray E, Wise S, Grahatle K (2016). "Chapter 1: The History of Memory Systems". The Evolution of Memory Systems: Ancestors, Anatomy, and Adaptations (1st ed.). Oxford University Press. pp. 22–24. ISBN 978-0-19-150995-7. สืบค้นเมื่อ 12 March 2017.
  2. primary motor cortex เป็นเขตในสมองซึ่งในมนุษย์อยู่ทางด้านหลังของสมองกลีบหน้าผาก มันทำงานร่วมกับสมองเขตอื่นๆเป็นต้นว่า คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าและเขตใต้เปลือกสมองอื่นๆ เพื่อที่จะวางแผน (โปรแกรม) พฤติกรรม และก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว
  3. premotor cortex เป็นเขตใน motor cortex อยู่ในสมองกลีบหน้าผากด้านหน้าของ primary motor cortex เป็นเขตเดียวกันกับที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ 6 มีงานวิจัยในเขตนี้ในไพรเมตและมนุษย์ หน้าที่ของเขตสมองนี้มีมากมาย เพราะฉะนั้นจึงยังไม่มีความเข้าใจที่บริบูรณ์
  4. Yang Y, Raine A (November 2009). "Prefrontal structural and functional brain imaging findings in antisocial, violent, and psychopathic individuals: a meta-analysis". Psychiatry Research. 174 (2): 81–88. doi:10.1016/j.pscychresns.2009.03.012. PMC 2784035. PMID 19833485.
  5. Miller EK, Freedman DJ, Wallis JD (August 2002). "The prefrontal cortex: categories, concepts and cognition". Philosophical Transactions of the Royal Society of London. Series B, Biological Sciences. 357 (1424): 1123–1136. doi:10.1098/rstb.2002.1099. PMC 1693009. PMID 12217179.
  6. DeYoung CG, Hirsh JB, Shane MS, Papademetris X, Rajeevan N, Gray JR (June 2010). "Testing predictions from personality neuroscience. Brain structure and the big five". Psychological Science. 21 (6): 820–828. doi:10.1177/0956797610370159. PMC 3049165. PMID 20435951.
  7. Antonio Damasio, Descartes' Error. Penguin Putman Pub., 1994
  8. Malcolm Macmillan, An Odd Kind of Fame: Stories of Phineas Gage (MIT Press, 2000), pp.116-119, 307-333, esp. pp.11,333.
  9. Macmillan, M. (2008). "Phineas Gage – Unravelling the myth" (PDF). The Psychologist. British Psychological Society. 21 (9): 828–831.
  10. bipolar disorder เป็นความผิดปกติของพื้นอารมณ์ (mood) คนไข้ประสบอารมณ์ที่สลับกันระหว่างอาการฟุ้งพล่าน (mania) และภาวะซึมเศร้า
  11. ตัวกระตุ้นความเครียด (stressor) คือสารเคมี สารชีวภาพ ภาวะสิ่งแวดล้อม ตัวกระตุ้นภายนอก หรือเหตุการณ์ภายนอก ที่ก่อให้เกิดความเครียด (ความเค้น) ในสิ่งมีชีวิต
  12. Liston C, Miller MM, Goldwater DS, Radley JJ, Rocher AB, Hof PR, และคณะ (July 2006). "Stress-induced alterations in prefrontal cortical dendritic morphology predict selective impairments in perceptual attentional set-shifting". The Journal of Neuroscience. 26 (30): 7870–7874. doi:10.1523/JNEUROSCI.1184-06.2006. PMC 6674229. PMID 16870732.
  13. Rajkowska G (December 1997). "Morphometric methods for studying the prefrontal cortex in suicide victims and psychiatric patients". Annals of the New York Academy of Sciences. 836 (1): 253–268. Bibcode:1997NYASA.836..253R. doi:10.1111/j.1749-6632.1997.tb52364.x. PMID 9616803. S2CID 32947726.
  14. sociopath คือผู้ที่มีโรคบุคลิกต่อต้านสังคม (antisocial personality disorder) มีอาการคือมีแบบอย่างทางพฤติกรรมที่ขาดความใส่ใจหรือเข้าไปทำลายสิทธิของผู้อื่น เริ่มตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่นระยะต้นๆ และดำเนินต่อไปจนถึงความเป็นผู้ใหญ่ มีความบกพร่องในความรู้ผิดรู้ชอบ คือบกพร่องในศีลธรรม และอาจจะมีประวัติทางอาชญากรรม ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย และพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่นและก้าวร้าว
  15. Cecil KM, Brubaker CJ, Adler CM, Dietrich KN, Altaye M, Egelhoff JC, และคณะ (May 2008). Balmes J (บ.ก.). "Decreased brain volume in adults with childhood lead exposure". PLOS Medicine. 5 (5): e112. doi:10.1371/journal.pmed.0050112. PMC 2689675. PMID 18507499. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  16. Anderson SW; Bechara, A; Damasio, H; Tranel, D; Damasio, AR (1999). "Impairment of social and moral behavior related to early damage in human prefrontal cortex". Nature Neuroscience. 2 (11): 1032–7. doi:10.1038/14833. PMID 10526345.
  17. sentience เป็นความสามารถที่จะรู้สึก รับรู้ หรือมีสติสัมปชัญญะ หรือรับรู้อารมณ์ นักปรัชญาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้คำนี้เพื่อทำความแตกต่างกันระหว่างความสามารถในการคิดโดยเหตุผล (reason) และความสามารถในการรับรู้ความรู้สึก (sentience)
  18. Schoenemann PT, Budinger TF, Sarich VM, Wang WS (April 2000). "Brain size does not predict general cognitive ability within families". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 97 (9): 4932–4937. Bibcode:2000PNAS...97.4932S. doi:10.1073/pnas.97.9.4932. PMC 18335. PMID 10781101.
  19. Ted Cascio, Dr Ted Cascio. "Ph.D. in Hollywood Ph.D." Ted Cascio is co-editor of House & Psychology. Psychology Today. สืบค้นเมื่อ 2011-11-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]