ความสมเหตุสมผลภายนอก
หน้าตา
ความสมเหตุสมผลภายนอก[1] (อังกฤษ: External validity) เป็นความสมเหตุผลในการอนุมานเหตุผลโดยอุปนัย (inductive inference) ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยปกติอาศัยข้อมูลที่ได้จากการทดลองที่สมเหตุสมผลทางสถิติ[2] กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นขอบเขตที่ผลงานศึกษาจะสามารถใช้ได้ (คือเป็นจริง) โดยทั่วไปในสถานการณ์อื่น ๆ และกับคนอื่น ๆ นอกงานวิจัย[3] ยกตัวอย่างเช่น การอนุมานโดยอุปนัยอาศัยงานศึกษาจิตบำบัดแบบเปรียบเทียบ (comparative psychotherapy) จะต้องทดลองกับตัวอย่างบุคคลที่เฉพาะเจาะจง (เช่น เป็นอาสาสมัคร มีความซึมเศร้าระดับสูง ไม่มีโรคหรืออาการอย่างอื่น) คำถามก็คือว่า ถ้าจิตบำบัดเช่นนี้ประสบผลสำเร็จในตัวอย่างคนไข้เช่นนี้ มันจะมีประสิทธิภาพกับผู้ไม่ใช่อาสาสมัคร หรือผู้มีความซึมเศร้าเล็กน้อย หรือผู้มีโรคหรืออาการอย่างอื่นด้วยหรือไม่
ข้อจำกัดมีหลายอย่างรวมทั้ง
- โดยสถานการณ์ - สิ่งที่เฉพาะต่อสถานการณ์ (เช่น สภาวะการบำบัดรักษา เวลา สถานที่ แสงสว่าง เสียง การให้การบำบัดรักษา ผู้ตรวจสอบ ระยะช่วงทำการต่าง ๆ ของเขตของการวัด เป็นต้น) ในงานศึกษา อาจจะจำกัดการใช้ได้ทั่วไป
- การไวต่อปฏิกิริยา เช่นปรากฏการณ์ยาหลอก ปรากฏการณ์เทคโนโลยีใหม่ (novelty effect) และ Hawthorne effect คือ ถ้าผลที่พบเป็นปฏิกิริยาต่อการศึกษาไม่ใช่เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุที่เป็นประเด็น สิ่งที่พบก็จะไม่สามารถใช้โดยทั่วไป
- Rosenthal effect คือ เมื่อการอนุมานความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผล ไม่สามารถใช้ได้โดยทั่วไปโดยผู้ทำการตรวจสอบหรือนักวิจัยอื่น ๆ
ดูเพิ่ม
[แก้]- ความสมเหตุสมผลภายใน (Internal validity)
- ความสมเหตุผลเชิงสถิติของข้อสรุป (Statistical conclusion validity)
- ความสมเหตุสมผลทางนิเวศ (Ecological validity)
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "validity", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑,
ความสมเหตุสมผล (คณิตศาสตร์, คอมพิวเตอร์, นิติศาสตร์, ปรัชญา)
- ↑ Mitchell, M; Jolley, J (2001). Research Design Explained (4th ed.). New York: Harcourt.
- ↑ Aronson, E; Wilson, TD; Akert, RM; Fehr, B (2007). Social psychology (4th ed.). Toronto, ON: Pearson Education.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)