ข้ามไปเนื้อหา

คริปเทเนอร์แอลอี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริปเทเนอร์แอลอี
นักพัฒนาCypherix
รุ่นเสถียร
Cyptainer 7.1
ระบบปฏิบัติการWindows 95/98/Me/NT/2000/2003 Server/XP/Vista
ประเภทโปรแกรมสำนักงาน
สัญญาอนุญาตFreeware
เว็บไซต์http://www.cypherix.co.uk

คริปเทเนอร์แอลอี (อังกฤษ: Cyptainer LE) เป็นโปรแกรมเข้ารหัส 128 บิต ช่วยเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ โปรแกรมนี้สามารถใส่รหัสไฟล์หรือโฟลเดอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถปกป้องข้อมูลได้ทุกชนิด เช่นไฟล์เอกสาร ไฟล์มิเดีย เป็นต้น บน Drive USB , CD หรือ Harddisk ได้ด้วย รุ่นล่าสุด คือ Cryptainer 7.1 Series รันบน platform ของ Intel AMD และ Cyrix ใช้ได้กับ OS ของ Window เท่านั้น เช่น Window 95/ME/2000/2003 Server/XP/Vista

การทำงานของ Cyptainer LE

[แก้]

Cyptainer LE จะสร้างไดรว์จำลองเหมือนกับ drive C: หรือ D:ในคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลต่างๆ วิธีการเข้าถึงข้อมูลนี้คือใส่ password ที่กำหนดไว้ สามารถลาก file ใส่ในไดวร์จำลองได้ ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสอัตโนมัติ เมื่อเลิกใช้งานโปรแกรมนี้ ไดรว์จำลองจะหายไป ถ้าผู้ใช้คนอื่นเข้าใช้งาน จะไม่สามารถเห็นไดรว์นี้ได้ สามารถสร้างไดวร์ได้อย่างไม่จำกัด

Encryption algorithms

[แก้]
  • Blowfish algorithm เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้การเข้ารหัสแบบบล็อกขนาด 64 บิต ผู้พัฒนาคือ Bruce Schneier ขั้นตอนวิธีสามารถใช้กุญแจที่มีขนาดความยาว 448 บิต ซึ่งทำให้เกิดความยืดหยุ่นสูงในการเลือกใช้กุญแจ รวมทั้งขั้นตอนวิธียังได้รับการออกแบบมาให้ทำงานอย่างเหมาะสมกับหน่วยประมวลผลขนาด 32 หรือ 64 บิต
  • AES (Rijndael) เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้การเข้ารหัสแบบบล็อกขนาด 128,196,256 บิตโดยใช้กุญแจที่มีความยาวขนาด 128, 192 และ 256 บิต ผู้พัฒนาคือ Joan Daemen และ Vincent Rijmen มีการทำงาน 4 ขั้นตอนย่อย คือ S-Box ShoftRow Mix Column และ Key Addition ในปี 2000 เป็นขั้นตอนวิธีที่ได้รับการคัดเลือกโดยหน่วยงานสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ของสหรัฐอเมริกาให้เป็นมาตรฐานในการเข้ารหัสชั้นสูงของประเทศ

Feature ของ Cryptainer LE

[แก้]
  • ใช้ คีย์ 128 บิต ในการเข้ารหัสข้อมูล
  • สามารถทำการ drag และ drop ข้อมูล เข้าไปไดวร์จำลองที่สร้างขึ้น
  • ใช้งานง่ายและยากต่อการขโมยข้อมูล
  • ใช้งานบน window 32 บิต
  • สามารถเข้ารหัสข้อมูลบน USB drives,CD ROM,Flash Disks เป็นต้น
  • มีการเข้ารหัสไฟล์เพื่อป้องกันไฟล์ที่ส่งไปกับอีเมล

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]