ขี้ครอก
ขี้ครอก | |
---|---|
Urena lobata | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Malvaceae |
สกุล: | Urena |
สปีชีส์: | U. lobata |
ขี้ครอก (อังกฤษ: Caesar weed, Hibiscus burr, Jute africain ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Urena lobata L.) ชื่ออื่นๆของขี้ครอก คือ ขมดง ชบาป่า บอเทอ ปะเทาะ ปอเส้ง ปูลุ เส้ง หญ้าผมยุ้ง หญ้าอียู หญ้าหัวยุ่ง นางนวล จัดอยู่ในวงศ์ Malvaceae ขี้ครอกเป็นพืชมีพิษ หนามมีขนทำให้ระคายเคือง ทุกส่วนของลำต้นถ้ารับประทานเป็นพิษต่อหัวใจทำให้หมดความรู้สึก[1]
ขี้ครอกเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 เมตร เปลือกเหนียว ลำต้นสีเขียวแกมเทา มีขนรูปดาวปกคลุมตลอดลำต้น ยอดอ่อน ใบและก้านใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเกาะติดของใบบนต้นเรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ปลายใบเว้าเป็น 3 พู ปลายแต่ละพูมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นคลื่นมีขนสากมือ มีหูใบ 1 คู่ รูปรี ดอกเดี่ยว เกิดที่ซอกใบ สีชมพูแกมม่วง กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบประดับ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากสีชมพูม่วง ก้านชูสีขาวนวลรวมกันเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียไว้ ปลายเกสรแยกเป็น 10 ก้านสั้นๆ ส่วนปลายเป็นตุ่ม ผล ทรงกลมแป้นแบ่งเป็น 5 พู ผิวผลมีหนามแข็งสั้นและมีน้ำเหนียวติด เมล็ด รูปไตสีน้ำตาล มีพูละ 1 เมล็ด
การป้องกันและกำจัด
[แก้]- ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถาก ตัด ให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง
- ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น โดเรมี (2,4-ดี ไอโซบิวทิล เอสเทอร์), อามีทรีน (อามีทรีน), ทัชดาวน์ (ไกลโฟเสต, ไตรมีเซียมซอลต์), ไกลโพเซต 16 (ไกลโพเซต ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
- http://dit.dru.ac.th/herb/detail.php?pdid=293 เก็บถาวร 2010-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://vishnu.sut.ac.th/gradbio/florat/pt65.html[ลิงก์เสีย]
- http://www.samunpri.com/modules[ลิงก์เสีย]. ... hor&func=khor25
- http://www.global-crops.com/html/productgbcweed_glyphoth.html
- ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544