การเข้าป้อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
abcdefgh
8
a8 black rook
c8 black circle
e8 black king
g8 black circle
h8 black rook
a1 white rook
c1 white circle
e1 white king
g1 white circle
h1 white rook
8
77
66
55
44
33
22
11
abcdefgh
ตำแหน่งเริ่มต้นของขุนกับเรือ โดยขุนสามารถย้ายไปยังช่องที่ระบุ
abcdefgh
8
c8 black king
d8 black rook
h8 black rook
a1 white rook
f1 white rook
g1 white king
8
77
66
55
44
33
22
11
abcdefgh
หมากสีขาวได้เข้าป้อมฝั่งคิง (0-0) ส่วนหมากสีดำได้เข้าป้อมฝั่งควีน (0-0-0)

การเข้าป้อม หรือ การเดินเข้าป้อม (อังกฤษ: castling) เป็นการเดินในเกมหมากรุกสากล ระหว่างขุนกับเรือในตำแหน่งแรกเริ่มของผู้เล่น ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ของหมากรุก 2 ตัวในตาเดียวกัน และเป็นการย้ายไปข้างหนึ่งนอกเหนือจากม้าที่สามารถ"กระโดดข้าม"กันได้[1]

การเข้าป้อม ประกอบด้วยการย้ายขุนสองช่องไปทางที่มีเรือในแถวแรกของผู้เล่น จากนั้นก็ย้ายเรือไปยังช่องที่ขุนได้ข้ามมา[2] การเข้าป้อมสามารถทำได้เฉพาะก็ต่อเมื่อตัวขุนไม่ยังเคยขยับ, เรือที่จะสับยังไม่เคยขยับ, ช่องระหว่างขุนและเรือไม่มีตัวใดขวาง, ตัวขุนยังไม่ถูกรุก และขุนจะไม่ข้ามฝั่งหรือจบในช่องที่มันถูกรุก การเข้าป้อมเป็นหนึ่งในกติกาหมากรุกสากล รวมถึงเป็นเทคนิคการย้ายขุน (Hooper & Whyld 1992:71)

การบันทึกหมากสำหรับการเข้าป้อม ทั้งระบบเชิงพรรณนาและเชิงพีชคณิต คือ 0-0 ร่วมกับเรือฝั่งคิง และ 0-0-0 ร่วมกับเรือฝั่งควีน ส่วนในบันทึกเกมแบบพกพา จะใช้ O-O และ O-O-O แทน การเข้าป้อมฝั่งคิงบางครั้งเรียกการเข้าป้อมระยะใกล้ และการเข้าป้อมฝั่งควีนบางครั้งเรียกการเข้าป้อมระยะไกล – ความแตกต่างขึ้นอยู่กับว่าเรือจะเคลื่อนที่ระยะใกล้ (สองช่องสี่เหลี่ยม) หรือระยะไกล (สามช่องสี่เหลี่ยม) (Hooper & Whyld 1992)

การเข้าป้อมได้รับการเพิ่มลงในหมากรุกยุโรปช่วงศตวรรษที่ 14 หรือ 15 และยังไม่ได้พัฒนาเป็นรูปแบบอย่างที่เห็นในปัจจุบันจนถึงศตวรรษที่ 17 ส่วนหมากรุกของเอเชียไม่ได้มีการเคลื่อนที่เช่นนี้


หมายเหตุ[แก้]

  1. Pandolfini, Bruce (1992), Pandolfini's Chess Complete: The Most Comprehensive Guide to the Game, from History to Strategy, Simon & Schuster, ISBN 9780671701864, สืบค้นเมื่อ 13 January 2014
  2. "Laws of Chess". FIDE. (Castling is in rule 3.8)

อ้างอิง[แก้]