การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)
การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยอาหรับครั้งแรก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามไบแซนไทน์–อาหรับ | |||||||
กำแพงธีโอโดเซียนของกรุงคอนสแตนติโนเปิลซึ่งพิสูจน์ว่า เป็นกำแพงที่ฝ่ายอาหรับไม่สามารถตีแตกได้ระหว่างการปิดล้อม | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
จักรวรรดิไบแซนไทน์ | จักรวรรดิอุมัยยะฮ์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 | ยาซิด | ||||||
กำลัง | |||||||
น้อยกว่ามาก |
ราว 200,000 นาย กองหนุนจากอียิปต์ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบจำนวน | ไม่ทราบจำนวน |
การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลระหว่าง (ค.ศ. 674-678) หรือ การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยชาวอาหรับครั้งแรก (อังกฤษ: Siege of Constantinople) เป็นความขัดแย้งที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามไบแซนไทน์–อาหรับและเป็นการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งหนึ่งในหลายครั้งที่เกิดขึ้น การล้อมครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์และฝ่ายจักรวรรดิอุมัยยะฮ์ของอาหรับ มุอาวิยะห์ผู้เรืองอำนาจขึ้นมาเป็นผู้นำจักรวรรดิอาหรับหลังจากสงครามกลางเมืองสงครามฟิตนาครั้งที่ 1 (First Fitna) ส่งลูกชายยาซิดไปล้อมเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 ในล้อมเมืองครั้งนี้ฝ่ายอุมัยยะฮ์ไม่สามารถทำลายกำแพงธีโอโดเซียนที่เป็นกำแพงป้องกันเมืองทางฝั่งบอสฟอรัส เพื่อเข้าตีเมืองได้ เมื่อมาถึงฤดูหนาวฝ่ายอาหรับก็ต้องถอยทัพลึกเข้าไปบนแผ่นดินใหญ่ราว 80 ไมล์จากตัวเมือง
ก่อนหน้าที่จะล้อมเมืองผู้ลี้ภัยคริสเตียนชาวซีเรียชื่อคาลลินคอสแห่งเฮลิโอโพลิสประดิษฐ์อาวุธใหม่ที่มีประสิทธิภาพให้แก่จักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่มารู้จักกันว่า “ปืนไฟกรีก” (Greek fire) ในปี ค.ศ. 677 ราชนาวีของไบแซนไทน์ก็ใช้อาวุธนี้ในการทำลายกองเรือของฝ่ายอุมัยยะฮ์อย่างย่อยยับในทะเลมาร์มารา ที่เป็นผลทำให้ฝ่ายอุมัยยะฮ์ยุติการล้อมเมืองในปี ค.ศ. 678 ชัยชนะครั้งนี้เป็นการหยุดยั้งการขยายอำนาจของอุมัยยะฮ์เข้ามาในยุโรปเป็นเวลาเกือบสามสิบปี แม้ว่าฝ่ายอาหรับจะไม่ได้รับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงมาจนกระทั่งในการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สอง ระหว่างปี ค.ศ. 717-718
การพ่ายแพ้ของฝ่ายอาหรับมีสาเหตุสองประการ: ประการแรกเพราะการไม่สามารถทำลายระบบป้องกันของเมืองได้ และประการที่สองคือสภาพอากาศระหว่างฤดูหนาว ชัยชนะทางทะเลของไบแซนไทน์ทำให้คอนสแตนติโนเปิลยังคงสามารถได้รับเสบียงและกองหนุนทางทะเลได้ ขณะเดียวกันฝ่ายอาหรับก็ประสบกับความอดอยากระหว่างฤดูหนาว
อ้างอิง
[แก้]- Jonathan Harris (2007), Constantinople: Capital of Byzantium. Hambledon/Continuum, London. ISBN 978 1847251794
- Turnbull, Stephen (2004). The Walls of Constantinople AD 413–1453. Osprey Publishing. ISBN 1-84176-759-X.[ลิงก์เสีย]