การรับรู้จากระยะไกล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายเรดาร์ช่องเปิดสังเคราะห์บริเวณหุบเขามรณะ ผสมสีด้วยการโพลาไรซ์

การรับรู้จากระยะไกล (อังกฤษ: remote sensing) เป็นการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์โดยปราศจากการสัมผัสทางกายภาพกับวัตถุหรือปรากฏการณ์นั้นๆ โดยตรง การรับรู้จากระยะไกลถูกนำมาใช้ในหลายสาขาโดยเฉพาะในสาขาภูมิศาสตร์ การสำรวจรังวัดที่ดินและวิทยาศาสตร์โลก เช่น อุทกวิทยา นิเวศวิทยา[1] สมุทรศาสตร์ วิทยาธารน้ำแข็ง และธรณีวิทยา รวมถึงด้านการทหาร การสืบราชการลับ การค้า เศรษฐกิจ การวางแผน และการใช้งานด้านมนุษยธรรม

ในปัจจุบันการรับรู้จากระยะไกลโดยทั่วไปหมายถึงการใช้เทคโนโลยีการรับรู้ทางอากาศในการตรวจสอบและจำแนกประเภทวัตถุบนโลกทั้งบนพื้นผิว มหาสมุทร และชั้นบรรยากาศของโลกด้วยหลักของการกระจายของคลื่น เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งอาจแบ่งประเภทออกเป็นเป็นการรับรู้ระยะไกลแบบใช้พลังงานในตัวเอง (active remote sensing) เมื่ออากาศยานหรือดาวเทียมมีการปล่อยสัญญาณด้วยตัวเอง หรือการรับรู้ระยะไกลแบบไม่ใช้พลังงานในตัวเอง (passive remote sensing) โดยได้รับข้อมูลจากการสะท้อนของพลังงานอื่น ๆ เช่น แสงอาทิตย์[2][3][4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Giacomo Capizzi, Grazia Lo Sciuto, Marcin Wozniak, Robertas Damasevicius:A Clustering Based System for Automated Oil Spill Detection by Satellite Remote Sensing, ICAISC (2) 2016: 613-623
  2. Schowengerdt, Robert A. (2007). Remote sensing: models and methods for image processing (3rd ed.). Academic Press. p. 2. ISBN 978-0-12-369407-2.
  3. Schott, John Robert (2007). Remote sensing: the image chain approach (2nd ed.). Oxford University Press. p. 1. ISBN 978-0-19-517817-3.
  4. Guo, Huadong; Huang, Qingni; Li, Xinwu; Sun, Zhongchang; Zhang, Ying (2013). "Spatiotemporal analysis of urban environment based on the vegetation–impervious surface–soil model" (Full text article available). Journal of Applied Remote Sensing. 8: 084597. Bibcode:2014JARS....8.4597G. doi:10.1117/1.JRS.8.084597.
  5. Liu, Jian Guo & Mason, Philippa J. (2009). Essential Image Processing for GIS and Remote Sensing. Wiley-Blackwell. p. 4. ISBN 978-0-470-51032-2.[ลิงก์เสีย]