การทำให้เป็นจีนในทิเบต
การทำให้เป็นจีนในทิเบต (อังกฤษ: Sinicization of Tibet) เป็นวลีที่ใช้เพื่อวิจารณ์การปกครองทิเบตโดยประเทศจีน เพื่ออ้างถึงการกลืนกินทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทิเบตใต้การปกครองของจีน (รวมทั้งเขตการปกครองตนเองทิเบตและพื้นที่การปกครองตนเองของชาวทิเบต) และได้ทำให้ชาวทิเบตกลายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจีนกระแสหลัก ซึ่งปรากฏชัดเจนนับตั้งแต่การรวมทิเบตเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1950–1951 นักวิจารณ์ต่าง ๆ ระบุว่าการที่ชาวจีนฮั่นอพยพโยกย้ายเข้ามาในพื้นที่ทิเบตภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลจีนนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการทำให้เป็นจีน
รัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นระบุว่านโยบายของจีนมีผลต่อการหายไปขององค์ประกอบต่าง ๆ ของวัฒนธรรมทิเบต สิ่งนี้เรียกว่า "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม" (cultural genocide)[1][2] ในทางกลับกัน รัฐบาลจีนยืนยันว่านโยบายเหล่านี้ดำเนินไปเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทิเบต และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นผลมาจากการทำให้ทันสมัย รัฐบาลจีนระบุว่าเศรษฐกิจของทิเบตได้ขยายตัวขึ้น การบริการและโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาได้ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวทิเบตดีขึ้น ส่วนภาษาทิเบตและวัฒนธรรมทิเบตนั้นก็ได้รับการปกป้องไว้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Burbu, Dawa (2001) China's Tibet Policy, Routledge, ISBN 978-0-7007-0474-3, pp 100–124
- ↑ Samdup, Tseten (1993) Chinese population – Threat to Tibetan identity เก็บถาวร 5 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บรรณานุกรม
[แก้]- Schaik, Sam (2011). Tibet: A History. New Haven: Yale University Press Publications. ISBN 978-0-300-15404-7.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Fischer, Andrew M. Urban Fault Lines in Shangri-La: Population and economic foundations of inter-ethnic conflict in the Tibetan areas of Western China Crisis States Working Paper No.42, 2004. London: Crisis States Research Centre (CSRC).
- Kuzmin, S.L. Hidden Tibet: History of Independence and Occupation. Dharamsala, LTWA, 2011.