ข้ามไปเนื้อหา

การตรึงคาร์บอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนในพืชเกิดเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

  • การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ไปเป็น 3-ฟอสโฟกลีเซอเรต (3-phosphoglycerate) โดยใช้ ไรบูโลส – 6 –ฟอสเฟต ซึ่งมีคาร์บอน 5 ตัว รวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์ (คาร์บอน 1 ตัว) ได้เป็น 3-ฟอสโฟกลีเซอเรต (คาร์บอน 3 ตัว) 2 โมเลกุล
  • การเปลี่ยน 3-ฟอสโฟกลีเซอเรต ไปเป็น กลีเซอรอลดีไฮด์ – 3- ฟอสเฟต โดยใช้พลังงาน ATP และ NADPH + H+ กลีเซอรอลดีไฮด์ – 3- ฟอสเฟต ที่ได้จะนำไปสร้างเป็นกลูโคสซึ่งจะเปลี่ยนเป็นแป้งในกรณีเป็นอาหารสะสมภายในเซลล์ หรือขนส่งไปยังเซลล์อื่นในรูปน้ำตาลซูโครส
  • กลีเซอรอลดีไฮด์ – 3- ฟอสเฟต (คาร์บอน 3 ตัว) บางส่วนถูกนำไปจัดตัวใหม่เป็น ไรบูโลส – 6 –ฟอสเฟต (คาร์บอน 5 ตัว) เพื่อนำไปตรึงคาร์บอนไดออกไซด์รอบใหม่ ทั้งนี้ กลีเซอรอลดีไฮด์ – 3- ฟอสเฟต 5 ตัว จะจัดตัวใหม่ได้เป็น ไรบูโลส – 6 –ฟอสเฟต 3 ตัว