ข้ามไปเนื้อหา

การดื่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Statue of a man drinking
งานประติมากรรมรูปคนดื่มน้ำจากถุงหนังใส่น้ำแบบดั้งเดิม

การดื่ม คือการนำน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ เข้าสู่ร่างกายทางปาก งวง หรืออวัยวะอื่น ๆ มนุษย์ดื่มโดยการกลืนและโดยการบีบตัวของหลอดอาหาร กระบวนการทางสรีรวิทยาของการดื่มมีความแตกต่างกันออกไปในสัตว์ชนิดอื่น ๆ

สัตว์ส่วนใหญ่ดื่มน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย แม้ว่าสัตว์หลายชนิดจะสามารถอยู่รอดได้โดยน้ำที่ได้รับจากอาหารก็ตาม น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการทางสรีรวิทยาหลายอย่าง การดื่มน้ำน้อยเกินไปหรือมากเกินไปล้วนส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ

วิธีการดื่ม

[แก้]

ในมนุษย์

[แก้]

เมื่อของเหลวเข้าไปในปากของมนุษย์ กระบวนการกลืนจะเกิดขึ้นโดยการบีบตัว (peristalsis) ส่งของเหลวผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหาร กระบวนการส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากแรงโน้มถ่วง ของเหลวอาจถ่ายเทออกจากมือหรือภาชนะเครื่องดื่มระหว่างการดื่ม การดื่มสามารถทำได้โดยการสูดเมื่อดื่มของเหลวร้อนหรือดื่มจากช้อน ทารกใช้วิธีการดูดโดยให้ริมฝีปากกดแน่นรอบ ๆ แหล่งกำเนิดของเหลวเช่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การผสานระหว่างการหายใจและการเคลื่อนไหวของลิ้นทำให้เกิดสุญญากาศซึ่งดูดของเหลวเข้าไปได้[1]

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกชนิดอื่น ๆ

[แก้]
ภาพเคลื่อนไหวช้าแสดงแมวที่กำลังเลียน้ำ
สุนัขพันธุ์แจ็กรัสเชลล์เทอร์เรียร์กำลังใช้ลิ้นเลียน้ำ

ด้วยความจำเป็นแล้ว สัตว์บกที่ถูกกักขังจะคุ้นเคยกับดื่มน้ำ แต่สัตว์ที่สัญจรอย่างอิสระส่วนใหญ่จะรักษาความชุ่มชื้นผ่านของเหลวและความชื้นในอาหารสด[2] และเรียนรู้ที่จะแสวงหาอาหารที่มีปริมาณของเหลวสูง[3] เมื่อสถานการณ์บังคับให้พวกมันดื่มน้ำจากแหล่งน้ำ วิธีการและการเคลื่อนไหวจะแตกต่างกันออกไปในสัตว์แต่ละชนิด[4]

แมว สัตว์พวกสุนัข และสัตว์เคี้ยวเอื้องต่างก้มคอลงและตักเลียด้วยลิ้นอันทรงพลัง[4] แมวและสัตว์พวกสุนัขเลียน้ำโดยใช้ลิ้นที่เป็นรูปคล้ายช้อน[5] สัตว์พวกสุนัขเลียน้ำโดยใช้ลิ้นที่มีรูปทรงคล้ายทัพพีตักน้ำเข้าปาก สำหรับแมวนั้นมีเพียงส่วนปลายลิ้น (ซึ่งเรียบ) เท่านั้นที่แตะน้ำ จากนั้นแมวก็จะดึงลิ้นกลับเข้าไปในปาก ส่งผลให้มีของเหลวส่วนหนึ่งไหลเข้าไปในปากของแมว จากนั้นจึงปิดปากให้แน่น [6] สัตว์เคี้ยวเอื้องและสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ ส่วนใหญ่จุ่มปลายปากบางส่วนเพื่อดื่มน้ำโดยการจุ่มลิ้นให้ตรง [7] แมวดื่มน้ำช้ากว่าสัตว์เคี้ยวเอื้องซึ่งเผชิญกับอันตรายจากการล่าตามธรรมชาติมากกว่า[4]

สัตว์ทะเลทรายหลายชนิดไม่ดื่มแม้ว่าจะมีน้ำ แต่อาศัยการกินพืชอวบน้ำ[4] ในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็นและเยือกแข็ง สัตว์บางชนิด เช่น กระต่าย กระรอกต้นไม้ และแกะเขาใหญ่ มักจะกินหิมะและน้ำแข็งย้อย[8] ในสะวันนา วิธีการดื่มของยีราฟ เป็นที่มาของการคาดคะเนถึงการต้านแรงโน้มถ่วง ทฤษฎีล่าสุดพิจารณาการทำงานของคอยาวของสัตว์ว่าเหมือนกับปั๊มลูกสูบ[9] ช้างมีวิธีการดื่มน้ำที่เฉพาะตัวโดยการดูดน้ำเข้าไปในงวงแล้วพ่นเข้าปาก[4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Flint, pp. 137–138.
  2. Mayer, p. 59.
  3. Grove JC, Gray LA, La Santa Medina N, Sivakumar N, Ahn JS, Corpuz TV, Berke JD, Kreitzer AC, Knight ZA (July 2022). "Dopamine subsystems that track internal states". Nature. 608 (7922): 374–380. Bibcode:2022Natur.608..374G. doi:10.1038/s41586-022-04954-0. PMC 9365689. PMID 35831501.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Broom, p. 105.
  5. Smith, p. 238.
  6. "Cats' Tongues Employ Tricky Physics". 2010-11-12.
  7. Smith, p. 237.
  8. Mayer, p. 54.
  9. "How do Giraffes Drink Water?". February 2016.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]