การจัดพิมพ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดพิมพ์ เป็นกิจกรรมการทำให้สารนิเทศ วรรณกรรม เพลง ซอฟต์แวร์และเนื้อหาอื่นเข้าถึงได้โดยสาธารณะสำหรับขายหรือแจก[1] เดิมคำว่า publishing หมายถึงการจำหน่ายงานพิมพ์ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร แต่เมื่อมีระบบสารสนเทศดิจิทัล ขอบเขตได้ขยายรวมไปถึงการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างอีบุ๊ก วารสารวิชาการ เว็บไซต์ บล็อก วิดีโอเกม เป็นต้น

การจัดพิมพ์อาจผลิตสินค้าเอกชน สโมสร ส่วนร่วมหรือสาธารณะและอาจดำเนินการเป็นกิจกรรมพาณิชย์ สาธารณะ สังคมหรือชุมชน[2] อุตสาหกรรมการจัดพิมพ์พาณิชย์มีตั้งแต่บรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เช่น RELX, Pearson และ Thomson Reuters ไปจนถึงบริษัทขนาดเล็กหลายพันบริษัท มีหลายประเภท เช่น การค้า/การจัดพิมพ์ขายปลีกซึ่งบันเทิงคดีและสารคดี การจัดพิมพ์เพื่อการศึกษาและการจัดพิมพ์วิชาการและวิทยาศาสตร์[3] การจัดพิมพ์อาจดำเนินการโดยรัฐบาล ประชาสังคมและบริษัทเอกชนสำหรับข้อกำหนดทางการปกครองหรือความร่วมมือ ธุรกิจ การวิจัย หรือวัตถุประสงค์ความสนใจสาธารณะ[4] อาจรวมถึงรายงานประจำปี รายงานการวิจัย การวิจัยตลาด การสรุปนโยบายและรายงานเชิงเทคนิค การจัดพิมพ์ด้วยตนเองก็พบบ่อยขึ้นเช่นกัน

ผู้จัดพิมพ์ หรือ สำนักพิมพ์ อาจหมายความถึงบริษัทหรือองค์การที่จัดพิมพ์ ปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นผู้นำบริษัทจัดพิมพ์ หรือปัจเจกบุคคลที่เป็นผู้นำวารสาร

อ้างอิง[แก้]

  1. "PUBLISHING | meaning in the Cambridge English Dictionary". dictionary.cambridge.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-07.
  2. Hess, Charlotte; Ostrom, Elinor, บ.ก. (2011). Understanding knowledge as a commons : from theory to practice. Cambridge, Mass.: MIT Press. ISBN 978-0-262-51603-7. OCLC 709863190.
  3. "The Global Publishing Industry in 2016". www.wipo.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-07.
  4. Börjesson, Lisa (2016). "Research outside academia? - An analysis of resources in extra-academic report writing: Research Outside Academia? - An Analysis of Resources in Extra-Academic Report Writing". Proceedings of the Association for Information Science and Technology (ภาษาอังกฤษ). 53 (1): 1–10. doi:10.1002/pra2.2016.14505301036.