การจัดการตนเอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการตนเอง (อังกฤษ: Self-organization) เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด โครงสร้าง (structure) หรือที่เรียกว่า กระบวนการสร้างให้เกิดรูปร่าง หรือ แพตเทิร์น (pattern formation)โดยที่ไม่ต้องพึ่งการควบคุมจากส่วนกลาง หรือ ผ่านการวางแผนจากองค์ประกอบใดๆ จากภายนอก ด้วยวิธีการนี้ ในระบบหนึ่งๆ ที่มีองค์ประกอบย่อยในระดับท้องถิ่น ที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน จนทำให้เกิดเป็น โครงสร้าง หรือ แพตเทิร์น ที่มีขนาดใหญ่ จนกลายเป็น ระบบที่มีขนาดใหญ่ระดับ Global

ดังนั้น องค์กรใดๆ หรือ การจัดการใดๆ จึงถูกจัดการในทิศทางรูปแบบ "ขนาน" (parallel) ที่ทุกๆองค์ประกอบย่อยต่างปฏิบัติ หรือ ดำเนินการ พร้อมๆกัน ในรูปแบบ "กระจาย" (distributed) ที่ไม่มีการพึ่งพาหรือ ถูกควบคุมจากส่วนกลางแต่อย่างใด

ตัวอย่างหนึ่งที่สามารถนำมายกตัวอย่างให้เห็นถึงระบบการจัดการตนเองได้อย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ระบบการจัดการตนเองในขอบเขตของ กระบวนการที่ไม่สมดุลในฟิสิกส์ ระบบการจัดการตนเอง ยังคงเกี่ยวข้องในศาสตร์ของ เคมี ในหัวข้อของ self-assembly แนวคิดของระบบการจัดการตนเองยังคงเป็นศูนย์กลางที่ใช้ในการอธิบายกระบวนการต่างๆในระบบชีววิทยา โดยสามารถอธิบายได้ตั้งแต่ การทำงานของเซลส์เล็กๆจนถึงระบบขนาดใหญ่

รวมทั้งยังมีการอ้างถึง พฤติกรรมของระบบการจัดการตนเอง ที่สามารถค้นพบได้ในงานวิจัยอื่นๆ ที่อาจจะเขียนในกฎการทำงานที่แตกต่างหลากหลาย แต่ทั้ง ธรรมชาติ และ สังคม เช่น เศรษฐศาสตร์ หรือ มนุษย์วิทยา
ระบบการจัดการตนเองในสาขาคณิตศาสตร์ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ Cellular automata

นิยาม[แก้]

ความหมาย หรือ คำจำกัดความ ของ คำที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ (notion)ของ การจัดการตนเอง self-organization ได้ถูกควบรวมเข้าไปเกี่ยวโยงกับ แนวคิดของ คำว่า emergence ไว้ว่า "บางทีการเกิดของ ระบบการจัดการตนเอง เกิดขึ้นได้โดยปราศจาก emergence หรือ วิวัฒนการการเกิด และ emergence ดังกล่าวเกิดขึ้นได้ปราศจาก การจัดการตนเอง

เป็นที่ชัดเจนว่า การอ้างถึง แนวคิดที่เกิดขึ้นของทั้งสองคำนี้ ไม่เหมือนกัน เพราะ การเชื่อมต่อระหว่าง emergence และ self organization ยังคงเป็นคำถามที่ยังต้องการพิสูจน์และวิจัยหาข้อสรุป

ระบบการจัดการตนเอง หรือ Self-organization โดยปกติแล้วจะตั้งอยู่บนพื้นฐานขององค์ประกอบสำคัญสามประการดังนี้

  • ระบบมีลักษณะไดนามิคหรือ พลวัตรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในแบบที่ไม่แน่นอนเป็นเส้นตรง หรือ non-linearity และส่วนใหญ่แล้ว ระบบไม่จำเป็นต้องมีการควบคุม เช่น การรับข้อมูล feedback ในด้านดีและด้านลบ คือ มีการจัดการในตัวเองอยู่อย่างเป็นพลวัตร
  • ระบบมีความสมดุลในด้านการแสวงหาผลประโยชน์และการค้นหา Balance of exploitation and exploration เช่น เพื่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต สัตว์และพืช เป็นต้น
  • ประกอบไปด้วย การปฏิสัมพันธ์ที่หลากหลายอยู่ภายในระบบ (Multiple interactions)

ระบบการจัดการตนเอง หรือ Self-organization ที่เกิดขึ้นในเครือข่าย หรือ networks[แก้]

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่ง ในการจัดตั้งเครือข่ายเมื่อใดก็ได้ที่จำเป็น กลไกในการจัดตั้งแบบระบบการจัดการตนเองนี้ถูกเรียกว่า ระบบเครือข่ายจัดการตนเอง หรือ Self-organizing networks

การทำงานนี้เริ่มมีบทบาทเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นในช่วงหลังของทศวรรษที่ 21 ช่วงที่เกิดอุตสาหกรรมเทคโนโลยี wireless แบบไร้สาย ที่เป็นที่ต้องการในตลาด ระบบนี้ถูกขับเคลื่อนด้วย กระบวนทัศน์(paradigm)plug และ play ที่ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย หรือ wireless network จำเป็นต้องมีระบบการจัดการตนเองมาจัดการเครือข่ายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ที่เคยเป็น

ระบบเครือข่ายจัดการตนเองเป็นเครือข่ายที่เฉพาะเจาะจง รู้จักกันในชื่อของ small world networks หรือ scale free networks ซึ่งระบบเหล่านี้จะเกิดจากการเชื่อมโยงกันจากระดับล่างขึ้นบน หรือ bottom-up และ ก่อให้เกิดเป็น เครือข่ายที่มีขนาด "ไร้ขีดจำกัด"

ในทางกลับกัน มีเครือข่ายที่เกิดจาก ลำดับชั้น หรือ hierarchical จาก บนลงล่าง(top-down) ที่ไม่ได้ถูกดำเนินการด้วย ระบบการจัดการตนเอง แต่จะถูกจัดการด้วยระบบดั้งเดิม และ เครือข่ายมีขนาด"จำกัด"