การขูดกระดานดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การขูดกระดานดำ (อังกฤษ: Chalkboard scraping) ด้วยเล็บก่อให้เกิดเสียงและความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่รู้สึกรำคาญ ต้นเหตุของปฏิกิริยาโดยกำเนิดถูกวิจัยในขอบเขตของจิตสวนศาสตร์  (สาขาหนึ่งของจิตวิทยาซึ่งเกี่ยวกับการรับรู้เสียงและผลกระทบทางสรีรวิทยา)

ข้อสันนิษฐานมรดกจากไพรเมต[แก้]

 หนึ่งในคำอธิบายของปฏิกิริยาต่อเสียงที่น่ากลัว คือ ความใกล้เคียงของเสียงกับเสียงเตือนภัยของไพรเมต เมื่อย้อนกลับไปในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยกับลิงโลกใหม่พบว่าพวกมันมีปฏิกิริยาคล้ายกันต่อทั้งเสียงสูงซึ่งคล้ายเสียงของเล็บขูดกับกระดานดำ และ white noise หรือเสียงที่ที่ความถี่สม่ำเสมอในแอมพลิจูดเดียวกัน ในทางกลับกัน มนุษย์มีความไม่ชอบ white noise น้อยกว่าการขูดกระดาน[1]

ข้อสันนิษฐานทางสรีรวิทยา[แก้]

ในพ.ศ. 2555 การวิจัยโดย Michael Oehler และ Christoph Reuter[2] นำสู่ข้อสันนิษฐานว่าความไม่รื่นรมย์ของเสียงมาจากเรโซแนนซ์ทางเสียง เนื่องจากสรีรของช่องหูมนุษย์ ที่ขยายเสียงในความถี่เฉพาะ โดยเฉพาะระยะตั้งแต่ 2000 ถึง 4000 Hz ในระยะนี้เสียงสามารถกระตุ้นความเจ็บปวดในหูของมนุษย์ได้[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Roger Highfield (2005-11-14). "Study seeks root of noises that annoy us". The Vancouver Sun. p. A6.
  2. Christoph Reuter; Michael Oehler. "Psychoacoustics of chalkboard squeaking". Journal of the Acoustical Society of America. 130: 2545. doi:10.1121/1.3655174.
  3. "Acoustical Society of America - Psychoacoustics of chalkboard squeaking". acoustics.org. สืบค้นเมื่อ 10 October 2016.