การกำหนดเพศ
หน้าตา
การกำหนดเพศ (Sex determination system)เป็นระบบกำหนดเพศของสิ่งมีชีวิตทางพันธุกรรม พบในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง โดยเฉพาะในอาณาจักรสัตว์ สิ่งมีชีวิตนั้นจะมีการแบ่งแยกเพศอย่างชัดเจน เป็นเพศผู้กับเพศเมียหรือเพศชายกับเพศหญิง การกำหนดเพศของสิ่งมีชีวิตขึ้นกับลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งการกำหนดเพศในสิ่งมีชีวิตต่างๆนั้น มีหลายแบบ ดังนี้
- กำหนดเพศโดยโครโมโซมเพศ สิ่งมีชีวิตนั้นๆ จะมีโครโมโซมที่ควบคุมลักษณะของเพศโดยเฉพาะ เกิดขึ้นได้ 3 แบบ คือ
- แบบ XO พบในแมลงบางชนิด เพศผู้มีโครโมโซม X เพียงอันเดียว เพศเมียมีโครโมโซม X 2 อัน
- แบบ XY พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยทั่วไปและแมลง เช่น แมลงหวี่ ตัวเมียมีโครโมโซมเป็น XX ตัวผู้มีโครโมโซมเป็น XY
- แบบ ZW พบในผีเสื้อ นก ตัวไหม และปลา ตัวเมียมีโครโมโซมเป็น ZW ตัวผู้มีโครโมโซมเป็น ZZ
- การกำหนดเพศด้วยจำนวนโครโมโซม ในผึ้ง มด ต่อ การกำหนดเพศจะกำหนดด้วยจำนวนโครโมโซม กล่าวคือตัวผู้เกิดจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสม มีโครโมโซมชุดเดียว (haploid) ส่วนตัวเมียเกิดจากไข่ที่ได้รับการผสม มีโครโมโซมสองชุด (diploid) แต่โอกาสการเกิดลูกเพศใด ไม่เป็นไปตามกฎของโอกาส เพราะผึ้งนางพญา สามารถเก็บสเปิร์มหลังการผสมพันธุ์ไว้ และเลือกปล่อยมาผสมกับไข่ได้
- การกำหนดโดยยีน ในตัวต่อ นอกจากจะกำหนดเพศด้วยจำนวนโครโมโซมแล้ว ยังกำหนดเพศด้วยยีนอีกด้วย โดยยีนที่กำหนดเพศมี 1 คู่ มี 9 อัลลีล ถ้ายีนนั้นเป็นโฮโมไซกัส เช่น XaXa, XbXb จะเป็นตัวผู้ ถ้าเป็นเฮเทอโรไซกัสเช่น XaXb, XaXc จะเป็นตัวเมีย
อ้างอิง
[แก้]- Majerus, M. E. N. Sex wars: genes, bacteria, and biased sex ratios. Princeton University Press. p. 250. ISBN 0691009813. สืบค้นเมื่อ November 4, 2011.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help)