ข้ามไปเนื้อหา

กล้วยหอมทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้วยหอมทอง
กล้วยหอมทอง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Musaceae
สกุล: Musa
สปีชีส์: Musa AAA group


กล้วยหอมทอง หรือกล้วยหอมกรอสมิเชล เป็นสายพันธุ์ที่เป็นทริปพลอยด์ของกล้วยป่า Musa acuminata จัดอยู่ในกลุ่ม AAA [1]เป็นกล้วยราคาแพง ผลขนาดกลางถึงใหญ่ เปลือกหนา สีเหลือง เนื้อละเอียด หวาน สีครีม มีกลิ่นหอม[2]

Nicolas Baudin นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสได้นำหน่อกล้วยชนิดนี้ไปจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปปลูกที่สวนพฤกษศาสตร์ที่ Martinique ต่อมาได้นำไปขยายพันธุ์ที่จาเมกา[3] ต่อมา ประมาณ พ.ศ. 2493 กล้วยหอมทองในละตินอเมริกาได้ติดโรคปานามาซึ่งเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum ทำให้สายพันธุ์นี้สูญพันธุ์ไปจากอเมริกาใต้และแอฟริกา ต่อมา ในพ.ศ. 2503 ตลาดส่งออกกล้วยได้หันมาปลูกกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชแทน[4] การติดโรคปานามาของกล้วยหอมทอง ทำให้เกิดการขาดแคลนกล้วยในตลาด และเป็นที่มาของเพลง "Yes, We Have No Bananas"[5]


อ้างอิง

[แก้]
  1. Michel H. Porcher; Prof. Snow Barlow (2002-07-19). "Sorting Musa names". The University of Melbourne. สืบค้นเมื่อ 11 January 2011.
  2. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 319
  3. Dan Koeppel (2008). Banana: the fate of the fruit that changed the world. Hudson Street Press. p. 33. ISBN 1-4295-9325-3.
  4. Koeppel, Dan (2008-06-18). "Yes, We Will Have No Bananas" (Editorial). New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  5. Koeppel, Dan (19 June 2005). "Can This Fruit Be Saved?". Popsci.com. สืบค้นเมื่อ 2008-06-22.