ทิพเกสร
ทิพเกสร | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Lentibulariaceae |
สกุล: | Utricularia |
สกุลย่อย: | Utricularia |
ส่วน: | Meionula |
สปีชีส์: | U. minutissima |
ชื่อทวินาม | |
Utricularia minutissima Vahl |
ทิพเกสร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Utricularia minutissima) เป็นพืชกินแมลงขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae
มีความสูง 10-30 เซนติเมตร ลำต้นเล็กมากอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว และมีใบที่เปลี่ยนเป็นถุงสำหรับดักจับแมลงขนาดเล็กเป็นอาหาร ดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู ออกเป็นช่อตั้งสูงประมาณ 5-20 เซนติเมตร มีดอกย่อย 3-10 ดอก ออกเรียงสลับ ขนาดประมาณ 6-10 มิลลิเมตร กลีบดอกล่างแผ่แยกออกเป็น 2 ปาก ผลเป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่
พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, จีน, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, สุมาตรา, บอร์เนียว, ฟิลิปปินส์, นิวกินิ, ออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบที่จังหวัดเชียงใหม่, เลย, อุบลราชธานี, กาญจนบุรี, สระแก้ว, ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด, สุราษฎร์ธานี, พังงา, สงขลา, ปัตตานี, และนราธิวาส พบตามพื้นที่ชื้นแฉะ เปิดโล่ง มักพบบนดินทราย ในระดับความสูง 0-1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ออกดอก ออกผลช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม
ทิพเกสร เป็นนามพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีชื่อดั้งเดิมว่า "หญ้าสีฝอยเล็ก"[1]
ชื่อพ้อง
[แก้]- Meionula parviflora Raf.
- U. barnesii F.E.Lloyd
- U. brevilabris Lace
- U. brevilabris var. parviflora Pellegr.
- U. calliphysa Stapf
- U. capillacea Wight
- U. evrardii Pellegr.
- U. lilliput Pellegr.
- U. minutissima f. albiflora (Komiya) Komiya & C.Shibata
- U. nigricaulis Ridl.
- U. nipponica Makino
- U. nipponica f. albiflora Komiya
- U. pygmaea R.Br.
- U. siamensis Ostenf.
- Vesiculina pygmaea (R.Br.) Raf.[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7 หน้า 37, Flora of Thailand Volume 11 Part 1, Page 35-36
- ↑ Taylor, Peter. (1989). The genus Utricularia - a taxonomic monograph. Kew Bulletin Additional Series XIV: London.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Utricularia minutissima ที่วิกิสปีชีส์