ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Se7ensom

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) ร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 Project-Based Learning with Social Media is a form of learning in the 21st century ผศ.ดร.ภาสกร เรืองรอง* Assistant Professor Passkorn Roungrong, ED.D นางสาวสุพรรษา น้อยนคร** นางสาวภรภัทร รัตนเจริญ** นางสาวอารยา ปู่เกตุแก้ว** นายสุธีร์ ฟูเต็มวงศ์** Miss. Supansa Noinakorn Miss. Pornpat Rattanacharoen Miss. Araya Puketkaew Mr. Sutee Futemwong

บทคัดย่อ การเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับโซเชียลมีเดีย (Social media) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยนำเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดทักษะทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทํางาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี มีองค์ประกอบที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ชิ้นงาน ผลลัพธ์ การจดบันทึก การเขียนรายงาน การนำเสนอ จัดทำรายงาน และการสะท้อนผล ในบทความนี้ผู้เขียนได้สังเคราะห์ขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานไว้ 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) เตรียมความพร้อม 2) กำหนดหัวข้อ / ศึกษาความเป็นไปได้ 3) วางแผน / เขียนเค้าโครง 4) ลงมือปฏิบัติโครงงาน 5) นำเสนอผลงาน 6) ประเมินผลโครงงาน และสังเคราะห์รูปแบบสื่อสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับโซเชียลมีเดีย ได้แก่ 1) สื่อค้นหาข้อมูล 2) สื่อสำรวจความคิดเห็น 3) สื่อสำหรับนำเสนอ 4) สื่อสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 5) สื่อสำหรับแบ่งบันข้อมูล

คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, เครือข่ายสังคมออนไลน์, การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

  • ผศ.ดร. อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
    • นักศึกษาปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Abstract Project-Based Learning with Social Media is a form of learning in the 21st century because learners can learn in concept of “learning by doing” via technology and social media to use in teaching to achieve these three skill areas: life and work skill, innovation learning skill and information technology skill. Project-Based Learning with media and technology includes 4 components that will make the students effectively work, including work piece, the results of the project, presentation and report, and how to communicate in public and reflection. In this article, the authors have synthesized the process of teaching and learning projects in six steps: 1) preparation, 2) determination of the topics / studying the possibility 3) Planning / writing the layout 4) Implementation 5) Presentation and 6) Assessment. The authors also synthesize the formats of Project-Based Learning project with social media including: 1) Information media 2) Poll media 3) Presentation media 4) Exchange learning media and 5) Information sharing media. In addition, the authors also concluded background, significance and definition of a Project-Based Learning, nowadays in real process, benefits and limitations, and the possible process of Project-Based Learning with Social Media. Keyword : Project-Based Learning, Social Network

บทนำ การเรียนในศตวรรษที่ 21 เป็นลักษณะการเรียนที่เน้นการมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากการศึกษาในยุคก่อนคือ การเน้นทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ และทักษะที่จำเป็น จากกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21 th Century Learning Framework) โดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เป็นที่ยอมรับ ได้เน้นผลลัพธ์ที่จะเกิดกับผู้เรียน (Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่ มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาผู้สอน และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21 การที่ผู้เรียนจะเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้นั้น จะต้องเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือฝึกปฏิบัติด้วยตัวเอง หรือเรียกว่า Learning by Doing เพื่อให้เกิดทักษะทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทํางาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี (The Partnership for 21st Century Skills, 2009)

   	การเรียนโดยการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) เป็นการเรียนแบบ Active Learning  ซึ่งวิธีการเรียนที่น่าสนใจในลักษณะนี้คือการเรียนโดยทำโครงงาน (Project- Based Learning : PBL) เป็นการเรียนเป็นทีม มีการฝึกค้นหาความรู้ เมื่อค้นพบความรู้ต่าง ๆ จะต้องสามารถวิเคราะห์และนำความรู้นั้นมาใช้ได้ รวมถึงเข้าใจในกระบวนการและที่มาของการค้นพบเหล่านั้น จากบทความในหนังสือการสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช (2556 หน้า 35-39)  ได้กล่าวถึงการเรียนแบบ  PBL ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

1. ชิ้นงานผลลัพธ์ที่ได้จากการทำโครงงาน 2. การจดบันทึกด้วยตนเองระหว่างทำโครงงาน การเขียนรายงาน เพื่อเป็นการทบทวน 3. การนำเสนอและจัดทำรายงาน (Presentation and Report) นำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ (หน้าชั้น หรือ ต่อชุมชน) 4. การสะท้อนผล (Reflection) เช่น ได้เรียนรู้อะไร ความรู้ที่ได้มีคุณค่าต่อชีวิตในอนาคตอย่างไรเป็นต้น การเรียนแบบโครงงาน เป็นการทำงานเป็นทีม โดยมีการลงมือปฏิบัติ ทดลอง ประดิษฐ์ คิดค้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในกระบวนการเชิงลึกทั้งหมดด้วยตนเอง ส่วนหน้าที่สำคัญของผู้สอนนั้น คือการทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Coach) และเสนอแนะเครื่องมือในการเข้าถึงองค์ความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ คอยแนะนำ ชี้แนะแนวทางในการวางแผนและดำเนินโครงงานและตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งคำตอบจะแตกต่างกันออกไปโดยใช้กลวิธีการสอนที่หลากหลายสนับสนุนการเรียนรู้ที่แตกต่างกันจากความคิดและความรู้สึกของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ความเป็นมาและความสำคัญ โลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต วิธีการที่เด็ก ๆ สื่อสารกับเพื่อน ๆ การรับรู้และแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และการดำเนินชีวิต แตกต่างจากในยุคของพ่อแม่หรือผู้สอนเป็นอย่างมาก ไม่เฉพาะเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น แต่รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วไร้ขีดจำกัด หน้าที่ของผู้ใหญ่คือการเตรียมเด็กเหล่านี้ให้พร้อมสำหรับงานและอาชีพใหม่ ๆ ที่จะเกิดในอนาคตและอาจไม่มีอยู่ในปัจจุบัน เด็ก ๆ จึงต้องได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็น เช่น ทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การสร้างสรรค์และนวัตกรรม ความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ การสื่อสาร สารสนเทศ การเท่าทันสื่อ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ อาชีพและการเรียนรู้ เป็นต้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นพลเมืองในยุคศตวรรษที่ 21 ต่อไป (วิจารณ์ พานิช,2555; Taylor & Fratto, 2012) การเรียนการสอนในยุคใหม่นี้จึงต้องเปลี่ยนแปลงไป ห้องเรียนธรรมดาถูกเปลี่ยนให้เป็นห้องเรียนที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัด วิธีการเรียนการสอนเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบที่ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มากขึ้น ซึ่งการสอนแบบเดิมไม่สามารถทำให้เด็ก ๆ เกิดทักษะเหล่านี้ วิธีการเรียนการสอนที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้งและมีการนำไปทดลองใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ การเรียนแบบโครงงานหรือการเรียนโดยโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ผู้นำด้านการศึกษาหลายท่านได้เสนอว่าการสอนแบบนี้ว่าเป็นวิธีการสอนที่ดีที่สุด (Barell, 2010; Baron, 2011; Coal and Wasburn Moses, 2010; Larmer and Mergendoller, 2010 cited in Bender, 2012) การเรียนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือบางครั้งเรียกกว่า PBL มีความคล้ายคลึงกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) โดยทั้งสองวิธีใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน แต่มีข้อต่างกันเล็กน้อย คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจะเน้นที่กระบวนการแก้ไขปัญหา ส่วนการเรียนรู้แบบโครงงานจะเน้นไปที่การลงมือปฏิบัติ การเรียนแบบโครงงานเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติตามความสนใจของผู้เรียนเอง เพื่อค้นพบสิ่งใหม่หรือความรู้ใหม่ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยข้อค้นพบใหม่นั้นผู้เรียนและผู้สอนไม่เคยทราบหรือมีประสบการณ์มาก่อน โดยมีผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา ผู้เรียนที่เรียนด้วยกระบวนการนี้จะมีแรงจูงใจในการแก้ไขปัญหาสูง เชื่อมโยงความรู้กับโลกความเป็นจริง ผู้เรียนจะเป็นผู้เลือกวิธีการค้นหาคำตอบ กำหนดแหล่งข้อมูล จากนั้นจะลงมือปฏิบัติและค้นคว้าด้วยตนเอง ผู้เรียนจะสามารถบูรณาการความรู้และทักษะในการแก้ปัญหา สรุปข้อค้นพบ และสร้างความรู้ใหม่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ (ปรียา บุญญสิริ, 2553; พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี, 2553; วัฒนา มัคคสมัน, 2554; ลัดดา ภู่เกียรติ,2552; Bender, 2012; Moursund, 2009) ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนรู้แบบโครงงาน ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากเว็บไซต์ แต่ผู้สอนเองอาจยังไม่มีความชำนาญมากพอในการนำเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน เช่น วิกิ บล็อก กูเกิลแอพ ยูธูป เฟสบุ๊ค เป็นต้น หรือที่ในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “โซเชียลมีเดีย (Social Media)” โดยแอพพลิเคชันเหล่านี้สร้างอยู่บนแนวคิดพื้นฐานและเทคโนโลยีของยุคเว็บ 2.0 ซึ่งในขณะนี้มีบทบาทมากในการเรียนการสอนโดยทั่วไปรวมทั้งการเรียนการสอนแบบโครงงาน ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศให้แก่ผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ช่วยฝึกฝนทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เรียนรู้ร่วมกัน ทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา และสามารถแบ่งปันความรู้และผลงานไปได้ทั่วโลกอีกด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ผู้สอนแบบโครงงานจำเป็นต้องใช้เครื่องมือโซเชียลมีเดียได้อย่างคล่องแคล่ว และออกแบบการเรียนการสอนโดยนำเครื่องมือโซเชียลมีเดียเข้ามาร่วมในแต่ละขั้นตอนของการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน (Bender, 2012) การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้ที่ได้ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนจากเดิม โดยมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อผู้เรียนมากขึ้น โดยการสอนเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาองค์ความรู้และทักษะผ่านโครงงาน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมมาสนับสนุน

ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) ได้มีนักวิชาการหรือผู้รู้ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) ไว้ดังนี้ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่มีผู้สอนเป็นผู้กระตุ้นเพื่อนำความสนใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง นำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ การฟังและการสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ มีการเขียนกระบวนการจัดทำโครงงานและได้ผลการจัดกิจกรรมเป็นผลงานแบบรูปธรรม (ดุษฎี โยเหลาและคณะ, 2557: 19-20) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2550 หน้า 1) ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หมายถึง การเรียนแบบโครงงานเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัย ด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง ทิศนา แขมมณี (2548 หน้า 139) ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หมายถึง การเรียนแบบโครงงานเป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงการที่ตนสนใจ โดยร่วมกันสำรวจ สังเกต และกำหนดเรื่องที่ตนสนใจ วางแผนทำโครงการร่วมกัน ศึกษาหาข้อมูลความรู้ที่จำเป็น และลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้จนได้ข้อค้นพบ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ แล้วจึงเขียนรายงานและนำเสนอต่อสาธารณชน เก็บข้อมูลและนำผลงานรวมถึงประสบการณ์ทั้งหมดมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ และสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ทั้งหมด น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ (2553 หน้า 45) รูปแบบการเรียนแบบโครงงานสามารถแบ่งได้ 2 แนวทาง คือ โครงงานที่เน้นการแก้ปัญหา และโครงงานที่เน้นการสร้างชิ้นงาน เป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติด้วยตัวผู้เรียนเอง เริ่มต้นจากกระบวนการคิดวิเคราะห์ร่วมกันวางแผนและปฏิบัติตามขั้นตอนและส่วนประกอบของแผนงานที่ได้วางแผนไว้ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ในรูปแบบที่ต้องการ ทิศนา แขมมณี (2551หน้า 139) ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หมายถึง เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้เลือกทำโครงการที่ตนสนใจโดยร่วมกันสำรวจ สังเกต กำหนดเรื่องที่ตนสนใจ วางแผนในการทำโครงการร่วมกัน ศึกษาหาข้อมูลความรู้ที่จำเป็นและลงมือ ปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้จนได้ข้อค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ แล้วจึงเขียนรายงานและนำเสนอต่อ สาธารณชน เก็บข้อมูล แล้วนำผลงานและประสบการณ์ทั้งหมดมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดค้น และสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ที่ได้รับทั้งหมด วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2551หน้า 4) ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หมายถึง การเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของแต่ละคนให้ได้รับการพัฒนาได้เต็มขีดความสามารถที่มีอยู่อย่าง แท้จริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เรียนวิธีการเรียนรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ ด้วยตนเอง รวมทั้งปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2555) ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หมายถึง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้ (teacher) เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ทอม มาร์คาม (Thom Markham, 2011) ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หมายถึง “การบูรณาการความรู้ และการปฏิบัติ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้ แต่จะประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาและได้ผลเป็นชิ้นงานขึ้นมาเด็กที่เรียนรู้แบบนี้จะได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทอลคุณภาพสูง และได้ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสานพีบีแอลจะปรับมุมมองของการศึกษาสู่ระดับโลก และได้อีกหลายอย่างตามมา ทั้งแรงขับ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ การเอาใจใส่ และความยืดหยุ่น” Lenschow (1996) อ้างถึงใน วราภรณ์ ได้ให้ความหมายของการเรียนแบบโครงงานเช่นเดียวกับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (project centered learning) หมายถึง การกระทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม ด้วยวิธีการปฏิบัติจริงเพื่อการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา อันนำไปสู่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์แสวงหาข้อมูลและแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้น Jaques (1984) อ้างถึงใน วราภรณ์ ได้ให้ความหมายของวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน (group project) ว่าหมายถึง การรวมกลุ่มกันของบุคคลมากกว่า 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์กันร่วมกันกระทำกิจกรรมอันนำไปสู่จุดมุ่งหมายบางประการ นอกจากนั้นแล้วโครงงานเป็นการจัดสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันและสนับสนุนกันในการเรียนรู้ (facilitate learning) นั่นหมายความว่า การเรียนโดยใช้โครงงาน ไม่จำเป็นต้องมุ่งสร้างผลิตผลคน (product) หรือมุ่งต้องการแต่เพียงเกรดหรือคะแนนที่ทุกคนได้รับเท่านั้น หากแต่จะเกิดกระบวนการเรียนซึ่งกันและกันที่เกิดขึ้นต่อบุคคลทุกคนภายในกลุ่ม จากที่กล่าวมาในข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้(teacher)เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน สิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ด้วย PBL จึงมิใช่ตัวความรู้ (knowledge) หรือวิธีการหาความรู้ (searching) แต่เป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ทักษะชีวิตและประกอบอาชีพ (Life and Career skills) ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารและเทคโนโลยี (Information Media and Technology Skills) การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา (critical thinking & problem solving) ทักษะการสื่อสาร (communicating) และทักษะการสร้างความร่วมมือ(collaboration) ประโยชน์ที่ได้สำหรับผู้สอนที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้ว ยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อน ผู้สอนด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียนด้วย

ขั้นตอนที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน จากการศึกษา ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยสามารถ สรุปขั้นตอนที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ได้ดังตารางที่ 1 ตาราง 1 วิเคราะห์ขั้นตอนการเรียนรู้แบบโครงงาน

ขั้นตอน วิจารณ์ พานิช (2556) สุชาติ วงศ์สุวรรณ (2542) ! บุปผา เรืองรอง (2556) วัชรินทร์ โพธิ์เงินและคณะ(2556) ภาสกร เรืองรอง (2547) ผู้วิจัย
การเตรียมความพร้อม / /
ศึกษาความเป็นไปได้ /
กำหนดหัวข้อ / / /
ศึกษาเอกสาร / / / /
เขียนเค้าโครง / / /
ปฏิบัติ (ดำเนินโครงการ) / / / / / /
เขียนรายงาน / / / /
การแสดงผลงาน (นำเสนอ) / / / / /
หาข้อมูล /
วางแผน / / /
เริ่มต้นโครงการ หัวข้อที่สนใจ /
สรุป /
การประเมินผลงาน /
            STEP 1 การเตรียมความพร้อม ผู้สอนเตรียมมอบหมายโครงงานโดยระบุในแผนการสอน ในชั้นเรียนผู้สอนอาจกำหนดขอบเขตของโครงงานอย่างกว้างๆ ให้สอดคล้องกับรายวิชา หรือความถนัดของผู้เรียน และเตรียมแหล่งเรียนรู้ ข้อมูลตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม สามารถใช้เว็บไซต์ หรือโปรแกรม moodle ในการ update ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ และการกำหนดนัดหมายต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินโครงการได้      

STEP 2 การคิดและเลือกหัวข้อ ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างทางเลือกในการออกแบบโครงงานเอง เพื่อเปิดโอกาสให้รู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรม ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกหัวข้อ การทำงานเป็นทีม กระตุ้นให้เกิด brain storm จะทำให้เกิดทักษะ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการสร้างความร่วมมือ

            STEP 3 การเขียนเค้าโครง การเขียนเค้าโครงของโครงงาน เป็นการสร้าง mind map แสดงแนวคิด แผน และขั้นตอนการทำโครงงาน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมองเห็นภาระงาน บทบาท และระยะเวลาในการดำเนินงาน ทำให้สามารถปฏิบัติโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
            STEP 4 การปฏิบัติโครงงาน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ในเค้าโครงของโครงงาน ถ้ามีการวางเค้าโครงเอาไว้แล้ว ผู้เรียนจะรู้ได้เองว่าจะต้องทำอะไรในขั้นตอนต่อไป โดยไม่ต้องรอถามผู้สอน ในระหว่างการดำเนินการผู้สอนผู้สอนอาจมีการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดหรือร่วมแก้ปัญหาไปพร้อมๆกับผู้เรียน    
            STEP 5 การนำเสนอโครงงาน ผู้เรียนสรุปรายงานผล โดยการเขียนรายงาน หรือการนำเสนอในรูปแบบอื่นๆเช่น แผ่นพับ โปสเตอร์จัดนิทรรศการ รายงานหน้าชั้นส่งงานทางเว็บไซต์หรืออีเมล ถ้ามีการประกวดหรือแข่งขันด้วยจะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นมากขึ้น 
            STEP 6 การประเมินผลโครงงาน การประเมินโครงงานควรมีการประเมินผลการเรียนรู้โดยหลากหลาย เช่น ผู้เรียนประเมินตนเอง ประเมินซึ่งกันและกัน ประเมินจากบุคคลภายนอก การประเมินจะไม่วัดเฉพาะความรู้หรือผลงานสุดท้ายเพียงอย่างเดียว แต่จะวัดกระบวนการที่ได้มาซึ่งผลงานด้วย การประเมินโดยผู้สอนหลายคนจะเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สอนด้วยกันอีกด้วย

8 สื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project- Based Learning)

           การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project- Based Learning) นั้นเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้ตั้งคำถามหรือการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งโดยปกตินั้นวิธีการแก้ปัญหาอาจจะใช้เวลานาน เพราะผู้เรียนจะต้องใช้ทักษะหลากหลายรูปแบบในกระบวนการคิดวิเคราะห์ ซึ่งในยุคปัจจุบันนั้นผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้มีแนวทางในการหาคำตอบได้ง่ายขึ้นซึ่งก็คือ การใช้ชุมชนออนไลน์ (Social media) เมื่อผู้เรียนสามารถบูรณาการชุมชนออนไลน์ (Social media) เข้ากับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) จากการศึกษาพบว่า ผู้สอนสามารถนำเสนอแนวทางในการสอนผู้เรียนเพ่อใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานร่วมกับชุมชนออนไลน์นั้นทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน  ผู้เรียนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันผู้เรียนจำนวนนับล้านล้านคนได้มีการใช้ชุมชนออนไลน์ (Social media) เป็นปกติในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ดังนั้นการบูรณาการร่วมกันระหว่างการใช้ชุมชนออนไลน์ (Social media) ร่วมกับการจัดการเรียนแบบโครงงานจึงเป็นวิธีการที่สามารถใช้เครือข่ายที่หลากหลายในการแก้ปัญหารูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถดูได้จาก 8 สื่อออนไลน์ต่อไปนี้ที่จะช่วยให้การเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับชุมชนออนไลน์นั้นสนุกสนานและง่ายมากยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้ในห้องเรียน (GDC Team, 2015)

1) การค้นหาเพื่อนที่จะมาร่วมโครงงานผ่านเฟสบุ๊ค (Facebook) ชุมชนออนไลน์ (Social media) ที่ใช้ง่ายและมีผู้ใช้อยู่ทั่วไปคือเฟสบุ๊ค (Facebook) ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อซึ่งกันและกันในการถามแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือการสร้างกลุ่มที่มีผู้เรียนทุกคนร่วมกันอยู่ภายในห้องที่สร้างขึ้นมาห้องเดียวกันซึ่งช่วยในการรองรับการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project- Based Learning) ในอนาคตต่อไป 2) การตั้งหัวข้อเพื่อการอภิปรายหัวข้อที่สนใจภายในกลุ่มจากคำถามหรือปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ ผู้เรียนสามารถตั้งคำถามหรืออภิปรายหัวข้อที่สนใจลงในกลุ่มชุมชนออนไลน์ (Social media)

เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook) ในการกำหนดโครงร่างโครงงาน หรือแม้กระทั่งการแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูล หัวข้ออภิปรายต่างๆ

3) การสร้างบัญชีลิ้งค์เคดอิน (LinkedIn)

          ผู้เรียนทั้งหมดควรมีการสร้างบัญชีลิ้งค์เคดอิน (LinkedIn) ที่เชื่อมโยงเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 20 คนที่สามารถให้ข้อมูลในหัวข้อต่างๆที่สนใจในการแก้ปัญหาหรือการเรียนรู้แบบโครงงานในหัวข้อที่สนใจ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้เรียนสนใจเรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ควรมีการเชื่อมโยงเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นต้น เพื่อให้เกิดแนวคิด ทฤษฎี แนวทางหรือวิธีการต่างๆในการหาคำตอบที่ต้องการ

4) การสร้างแอพพลิเคชั่นชุมชนออนไลน์ (Social media)

          การใช้แอพลิเคชั่นต่างๆนั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การสื่อสารนั้นกว้างขวางและง่ายขึ้น โดยผู้เรียนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านมือถือหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์

5) การแลกเปลี่ยนหัวข้อที่สนใจกับผู้เรียนอื่นๆ

            การใช้ทวิตเตอร์ (twitter) ในการส่งข้อความลิงค์ต่างๆในหัวข้อที่สนใจ ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องสร้างบัญชีทวิตเตอร์ขึ้น เมื่อสร้างแล้วจึงเข้าไปสำรวจหัวข้อที่ตนเองสนใจหรือเกี่ยวข้องกับโครงงานที่ต้องการศึกษา 

6) การสำรวจความคิดเห็นผ่านแหล่งสำรวจออนไลน์ (Poll)

             วิธีการที่ดีอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ห้องเรียนได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คอ การสำรวจความคิดเห็น ซึ่งผู้เรียนสามารถสร้างและใช้แบบสอบถามออนไลน์ ในการหาคำตอบจากบุคคลอื่นๆที่เชื่อมโยงเครือข่ายหรืออยู่ในกลุ่มด้วยกัน เช่น การสำรวจเส้นทางการทัศนศึกษา การเรียนสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางในชั่วโมงถัดไป หรือการสำรวจคะแนนเสียงในเรื่องต่างๆเป็นต้น 

7) การกำหนดหัวข้อเพื่อให้ผู้สนใจอื่นๆเข้ามาช่วยตอบคำถาม สำหรับผู้เรียนที่ต้องการหาคำตอบหรือแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น ห้องเรียนคณะมนุษศาสตร์นั้นสามารถใช้ชุมชนออนไลน์ (Social media) ในการหาอาสาสมัครหรือผู้เชี่ยวชาญที่อาศัยอยู่ในชุมชนอื่นๆ ในการช่วยตอบปัญหา แสดงความคิดเห็น หรือข้อโต้แย้งหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ 8) การกำหนดโครงสร้างการสัมภาษณ์ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project- Based Learning) นั้นเกี่ยวข้องกับกระบวน การผลิตสื่อต่างในหลากหลายรูปแบบ สำหรับผู้เรียนที่ต้องการข้อมูลไปใช้ในการทำแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ เช่น นักศึกษาคณะวารสารศาสตร์นั้นสามารถใช้วิดีโอในการประชุม การสัมภาษณ์ การซักถามปัญหาผ่านชุมชนออนไลน์ (Social media) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่สามารถผนวกวิธีการเรียนรู้ผ่านชุมชนออนไลน์ (Social media) กับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project- Based Learning)

การใช้จริง ณ ขณะนี้ กรณีศึกษา การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) การเรียนแบบโครงการมีกระบวนการเรียนรู้ที่ซับซ้อนหลากหลายมิติ และอาจมีความสับสนอยู่ด้วย เมื่อได้ผลสุดท้ายเป็นผลผลิตของโครงการที่ เป็นรูปธรรม ก็อาจนำมาจัดเป็นงานแสดงผลงาน (event) หรือนำเสนอต่อ เพื่อนร่วมชั้น ร่วมโรงเรียน การเรียนแบบโครงการที่ได้ผลสูงมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ 1. ผลของโครงการตอบสนองหรือผูกพันอยู่กับหลักสูตรและ เป้าหมายการเรียนรู้ 2. คำถามหลักและปัญหาหลักนำไปสู่การเรียนรู้หลักการสำคัญของ เรื่องนั้น หรือของสาระวิชา 3. การค้นคว้าของผู้เรียนเกี่ยวข้องกับความสงสัยใฝ่รู้ (inquiry) และการสร้างความรู้ 4. ผู้เรียนทำหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบ และการจัดการการ เรียนรู้ของตนเป็นส่วนใหญ่ 5. โครงการอยู่บนฐานของคำถามและปัญหาในชีวิตจริง เป็นของ จริง ผู้เรียนไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องหลอก ๆ การเรียนแบบโครงการงานนี้ให้ผลการเรียนรู้ด้านสาระวิชา ดีกว่า หรือเท่ากับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กันทั่วไป แต่เมื่อวัดการเรียนรู้ทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 จะพบว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนแบบ โครงการจะเรียนรู้สูงกว่ามาก การเรียนแบบโครงการงานนี้ให้ผลการเรียนรู้ด้านสาระวิชา ดีกว่า หรือเท่ากับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กันทั่วไป แต่เมื่อวัดการเรียนรู้ทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 จะพบว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนแบบ โครงการจะเรียนรู้สูงกว่ามาก โดยมีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยหลายโครงการเปรียบเทียบผลการเรียนของโรงเรียนที่ ใช้ PBL ทั้งโรงเรียน (คือ ทุกชั้นเรียน ผู้สอนทุกคน ผู้บริหาร และผู้เรียน) กับโรงเรียนที่ยังสอนแบบเดิม ๆ ให้ผลการทดสอบความรู้วิชาของผู้เรียน สูงกว่าในโรงเรียน PBL • ในการทดสอบผู้เรียนชั้น ป.4 และ ป.5 ของโรงเรียนที่ใช้ PBL เปรียบเทียบกับผู้เรียนของโรงเรียนที่สอนแบบเดิม โดยให้ทำโครงการแก้ปัญหา ขาดแคลนที่อยู่อาศัยในหลากหลายประเทศ ได้ผลว่า ผู้เรียน PBL ได้ คะแนนสูงกว่าในการทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และการทดสอบระดับความมั่นใจต่อการเรียนรู้ • มีการวิจัยติดตามผล 3 ปี ของ 2 โรงเรียนในอังกฤษ เปรียบ เทียบตามรายได้และผลการเรียนเดิมที่เท่าเทียมกัน พบว่า ผู้เรียนที่เรียน แบบ PBL สอบผ่าน National Test ของวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่าผู้เรียนใน โรงเรียนที่สอนแบบเดิม คือ สอนตามตำราและเอกสารประกอบการสอน อีกทั้งผู้เรียนที่เรียนแบบ PBL นำความรู้คณิตศาสตร์ไปใช้งานได้ดีกว่าด้วย • มีผลการวิจัยจำนวนหนึ่งพบว่า ผู้เรียนได้รับประโยชน์จาก PBL ในการเพิ่มความสามารถด้านการทำความชัดเจนต่อปัญหา ความสามารถ ในการให้เหตุผลดีขึ้น สามารถโต้แย้งเก่งขึ้น วางแผนโครงการที่ซับซ้อน เก่งขึ้น มีแรงจูงใจต่อการเรียนสูงขึ้น รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อการ ทำงานดีขึ้น • มีผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนที่เรียนตก ๆ หล่น ๆ โดยวิธีการใช้ ตำราและการบรรยาย เมื่อเปลี่ยนมาเรียนแบบ PBL ผลการเรียนดีขึ้นอย่าง ชัดเจน เนื่องจากเป็นวิธีการเรียนที่ตรงจริต หรืออาจเป็นเพราะชอบเรียน เป็นทีม Fortus , Krajcikb , Dershimerb , Marx f Mamlok – Naamand , (2005) ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ สามารถเพิ่มความสนใจของผู้เรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) เพราะกระบวนการดังกล่าวสามารถพัฒนากระบวนการคิดแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง การทำงาน และสถานการณ์อื่นๆ และเสริมสร้างการคิดสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ จึงควรบูรณาการ STEM education โดยมุ่งเน้นไปที่ปัญหาจากสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ การแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Satch well t loepp, 2002)

ข้อเด่น ข้อจำกัด ของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning)

ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานจริง การเรียนรู้แบบโครงการ (Project-Based Learning) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถจะนำความรู้ที่ได้มาจากการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสและทักษะการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้งาน อันได้แก่ 1. ผู้เรียนนำความรู้จากแหล่งเรียนรู้บูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่ได้ลงมือทำเพื่อนำไปสู้ความรู้ใหม่ 2. ผู้เรียนมีการสร้าง และกำหนดความรู้จากความคิดหรือแนวคิดเดิมที่มีอยู่ กับแนวคิดใหม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้จนกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่ 3. เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านโครงการ ทำให้มองเห็นข้อความสัมพันธ์ระหว่างความคิดกับข้อเท็จจริง ที่เชื่อมโดยงเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นผลทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นได้ 4. การเรียนแบบโครงการ เป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนพื้นฐานความรู้ระหว่างผู้เรียน ซึ่งตรงลักษณะการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration Learning)

เอกสารอ้างอิง ดุษฎี โยเหลาและคณะ. (8 เมษายน 2558). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PROJECT- BASED LEARNING). สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2559, จาก https://candmbsri.wordpress.com ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2548). จิตวิทยาการสอน. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจ. น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ . (2553). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมโครงงานออนไลน์ สำหรับโครงการ การศึกษาบันเทิงเพื่อแลกเปลี่ยนผู้เรียนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคด้วยวิธีการเรียน แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานร่วมกันของผู้เรียน ไทยและผู้เรียนเกาหลีไต้. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. บุปผา เรืองรอง. (2543). การสอนแบบโครงการ. เอกสารประกอบการบรรยายในโครงการอบรมผู้สอน ประจำการโรงเรียนเครือข่ายการฝึกประสบการณ์วิชาชีพผู้สอน สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช. ปรียา บุญญสิริ. (2553). กลวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการทำโครงงานระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ. พิมพันธ์ เดชะคุปต์และคณะ. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน : การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). โครงงานเพื่อการเรียนรู้ : หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม ไอ ที พริ้นติ้ง. วัชรินทร์ โพธิ์เงินและคณะ. (2556). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็น.คณะคุรุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ: ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด. วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล. สุชาติ วงษ์สุวรรณ. (2542). การเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ ด้วยตนเอง"โครงงาน". กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. KM CHILD-PBL มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). 6 ขั้นตอน การจัดการเรียนรู้แบบ Project-Based Learning ให้ประสบความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2559, จาก http://www.vcharkarn.com/vcafe/202304 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: กลุ่ม ส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา. Barell, J. (2010). Problem-based learning: The foundation of 21st century skills. In J. Bellanca & R. Brant (Eds.), 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press. Bender, W. N. (2012). Project-Based Learning : Differentiating Instruction for the 21st Century. California: CORWIN A SAGE Company. Cole, J. E., & Wasburn-Moses, L.H. (2010). Going beyond “the math wars.” A special educator’s guide to understanding and assisting with inquirybased teaching in mathematics. Teaching Exceptional Children, 42(4), 14-21. Fortus, D., Krajcikb, J., Dershimerb, R. C., Marx, R. W., & Mamlok-Naamand, R. (2005). Design-based science and real-world problem solving. Retrieved January 11, 2016, from http://scholar.lib.vt.edu/ejournals/JITE/v39n3/satchwell.html. Frank, M., Lavy, I. & Elata, D. (2003). Implementing the project-based learning approach in an academic engineering course. International Journal of Technology and Design Education, 13, 273–288. GDC Team. (June 25, 2015) 8 Simple Social Media & Project Based Learning Lessons. Retrieved January 12, 2016, from https://globaldigitalcitizen.org Larmer, J., & Mergendoller, J. R. (2010). 7 Essentials for project-based learning. Educational Leadership, 68(1), 34-37. Lenschow, R. J. (1998). From teaching to learning: A paradigm shift in engineering education and lifelong learning. European Journal of Engineering Education, 23(2), 155–161. Moursund, D. (2009). Project-Based Learning : Using Information Technology. New Delhi: Vinod Vasishtha for Viva Books Private limited. Taylor, L. M., & Fratto, J. M. (2012). Transforing Learning through 21st Century Skill. New Jersey. The Partnership for 21st Century Skills. (December, 2009). FRAMEWORK FOR 21ST CENTURY LEARNING: Partnership for 21st Century Skills. Retrieved Januarl 12, 2016, from http://www.p21.org/storage/documents/P21_Framework_Definitions.pdf Thom Markham. (March 7, 2011). Strategies for Embedding Project-Based Learning into STEM Education. Retrieved January 11, 2016, from http://www.edutopia.org. Satchwell, R. & Loepp, F.L (2002). Designing and Implementing an Integrated Mathematics, Science, and Technology Curriculum for the Middle School. Retrieved January 11, 2016, from http://scholar.lib.vt.edu/ejournals/JITE/v39n3/satchwell.html.