ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:RakkaewFoudation

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มูลนิธิรากแก้ว[แก้]

มูลนิธิรากแก้ว เดิมชื่อ “มูลนิธิภูมิไชย” มีประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550 โดยมี นายชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นประธานกรรมการคนแรก (พ.ศ. 2548 – 2554)

ต่อมา มูลนิธิมูลนิธิภูมิไชย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “มูลนิธิรากแก้ว” เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2554 โดยมี ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการมูลนิธิรากแก้ว (พ.ศ. 2554 – 2564) โดยมุ่งเน้นการทำโครงการของนิสิตนักศึกษา เน้นประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ ไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้เข้าใจหลักการพัฒนาที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง และนำความต้องการของชุมชนเป็นที่ตั้ง ลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้ปัญหาชุมชน และส่งเสริมการร่วมมือกันทำงานระหว่างคณะ/สาขาวิชา อย่างบูรณาการ

ในปี พ.ศ. 2558 มูลนิธิรากแก้วได้รับการประกาศเป็นองค์กรสาธารณกุศล ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นลำดับที่ 889 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558

ในปัจจุบัน มูลนิธิรากแก้ว เชื่อมั่นว่า “สังคมที่ยั่งยืนในอนาคต ควรเกิดจากการสร้างสรรค์โดยคนรุ่นใหม่ เพื่อคนรุ่นใหม่” พลังของเยาวชนไทยมีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติได้อย่างมาก หากได้รับการส่งเสริม ให้โอกาสในการพัฒนาศักยภาพ และมีพื้นที่ให้แสดงออกอย่างเหมาะสม สามารถช่วยผลักดัน และสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนปลดปล่อยศักยภาพที่สร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมได้

วิสัยทัศน์[แก้]

เป็นองค์กรบูรณาการเครือข่ายภาคการศึกษากับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้เยาวชน สามารถร่วมขับเคลื่อนการพัฒนา และสร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

พันธกิจ[แก้]

ส่งเสริม สนับสนุน สร้างกระบวนการเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้าใจปัญหาสังคม มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม และสามารถนำความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ศักยภาพด้านต่าง ๆ มาพัฒนาโครงการที่ส่งเสริมศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

คณะกรรมการมูลนิธิรากแก้ว[แก้]

  • ศ.ดร. สัมพันธ์ ฤทธิเดช ประธานกรรมการ
  • คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี รองประธานกรรมการ
  • คุณเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ รองประธานกรรมการ
  • รศ. ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ กรรมการ
  • คุณเพ็ญศรี สุธีรศานต์ กรรมการและเหรัญญิก
  • คุณสิตะกาญจน์ อนันตศิลป์ กรรมการและเลขาธิการ

ทีมงานมูลนิธิรากแก้ว[แก้]

  • คุณสิตะกาญจน์ อนันตศิลป์ เลขาธิการ
  • คุณสิทธิชัย ปราศรัย ผู้จัดการฝ่ายบริหาร และจัดการองค์ความรู้

โครงการรากแก้ว[แก้]

“ โครงการรากแก้ว ” เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษา ทั่วประเทศนำความรู้ของนิสิตนักศึกษา ความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ตลอดจนองค์ความรู้และทรัพยากรต่างๆ ของสถาบันอุดมศึกษามาประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการ

โดยการจัดทำโครงการบริการวิชาการและบริการชุมชนของสถาบันฯ ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการครองชีพให้แก่ชุมชนและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการพัฒนาและเข้าร่วมโครงการรากแก้วถือเป็นกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน เปิดโอกาสให้ นิสิตนักศึกษาได้สัมผัส เรียนรู้ และเข้าใจปัญหาของชุมชนและสังคม และพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของนิสิตนักศึกษา เช่น ทักษะชีวิต การคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา การทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการ การสื่อสาร ความเป็นผู้นำ ตลอดจนปลูกฝังความเป็นพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถนำความรู้ที่เรียนและประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำโครงการไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง เติบโตเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพพร้อมที่จะทำประโยชน์ สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน สังคม ประเทศชาติได้

วัตถุประสงค์โครงการ[แก้]

นิสิตนักศึกษา

  • ได้เรียนรู้และเข้าใจปัญหาสังคมจากการเรียนรู้นอกห้องเรียนร่วมกับชุมชน ทำให้เกิดจิตสำนึกในการทำประโยชน์ให้ผู้อื่น
  • ได้นำความรู้ความสามารถที่เรียนมาแก้ไขปัญหาจริงร่วมกับชุมชนและสังคมผ่านการทำโครงการพัฒนา และมีเวทีการนำเสนอผลงานต่อสาธารณะชน
  • ได้พัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการ การแก้ปัญหาและทำงานเป็นทีม เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานหลังจบการศึกษา
  • ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกัน และเหมาะสมกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง

คณาจารย์

  • สามารถนำโครงการมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนนอกห้องเรียน หรือพัฒนาเป็นรายวิชา เช่น วิชาการศึกษาทั่วไป เป็นต้น
  • นำงานวิจัยมาทบทวน และปรับให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง


สถาบันการศึกษา

  • ได้โครงการบริการวิชาการที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและสังคม สามารถแก้ปัญหา

และลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้อย่างยั่งยืน

  • ได้เครื่องมือในการพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีจริยธรรม มีภูมิคุ้มกัน มีจิตสำนึกและสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน


ชุมชนและสังคม

  • ได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพร่วมกับนิสิตนักศึกษา และอาจารย์เพื่อพัฒนาชุมชนของตน เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตให้กับชุมชน
  • ส่งเสริมพลัง และศักยภาพด้านต่าง ๆ อันนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง ความเข้มแข็งและความสามัคคีของคนในชุมชน
  • ชุมชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


ประเทศชาติ

  • ได้พลเมืองที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถแก้ไขปัญหา และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้อย่างยั่งยืน และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ

E-Book แนะนำโครงการรากแก้วประจำปี 2567[แก้]

https://online.anyflip.com/vwfrq/jocc/mobile/index.html

อ้างอิงจาก https://www.rakkaew.org