ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Maymayutcc2531

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เคมีบำบัด คือ ยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยยาจะไปทำลายเซลล์มะเร็ง ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้




ขณะได้รับเคมีบำบัด ท่านควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ระมัดระวังบริเวณให้ยา หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนหรือการเคลื่อนไหวตำแหน่งที่ให้ยา สังเกตอาการผิดปกติ ซึ่งต้องรายงานให้พยาบาลทราบทันที ได้แก่


     บริเวณให้ยาบวม แดง หรือ ปวด
      มีผื่นตามตัว
      หายใจเหนื่อยหอบ
      ใจสั่น แน่นหน้าอก
      อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
     ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำมากกว่า 2 ครั้ง
    อาการอื่นๆ เช่น ปวดเกร็งในช่องท้อง อาเจียนเป็นเลือด เดินเซ เป็นต้น
หลังจากได้รับเคมีบำบัด ท่านควรปฎิบติตัวดังนี้


      ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ 2.5 - 3 ลิตรต่อวัน
      รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ
      พักผ่อนอย่างเพียงพอและออกกำลังกายที่เหมาะสม
      สังเกตและจัดการอาการข้างเคียงของยา
    มาตรวจตามนัด

หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที

อาการผิดปกติ เช่น


      ซึมลง ชัก หรือ มีอาการเกร็ง
     เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก
     ปัสสาวะเป็นเลือด
     มีอาการปวดท้องรุนแรง
      มีไข้ หนาวสั่น
      เลือดออกง่าย หรือ ไม่หยุด หรือ มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
      คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแนง
      บริเวรให้ยา ปวดแสบ ปวดร้อน บวมแดง
      ท้องเสีย ท้องผูกอย่างรุนแรง
      น้ำหนัดลด หรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว
      มีผื่นขึ้นตามลำตัว
      มีอาการบวมผิดปกติ

อาการคลื่นไส้อาเจียน


     รับประทานอาหารทีละน้อยๆแต่บ่อยๆ
     รับประทานอาหารช้าๆและเคี้ยวให้ละเอียด
     หลีกเลี่ยงอาหารทอด มัน หรือ หวานจัด
     งดรับประทานอาหารประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก่อนรับเคมีบำบัด
      รับประทานผลไม้ รสเปรี้ยว
     ดื่มน้ำอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนและหลังมื้ออาหารแทนการดื่มพร้อมอาหาร
     หายใจยาวๆเวลารู้สึกอยากอาเจียนหรือคลื่นไส้
      ดื่มน้ำขิง

อ่อนเพลีย และ ซีด

· ท่านควรพักผ่อนให้มาก หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก พยายามลุกขึ้นช้าๆในขณะที่ท่านเปลี่ยนท่าจากนอนเป็นนั่งหรือยืน ระวังหกล้ม

· หากซีดมากท่านอาจได้รับการให้เลือดทดแทนหรือยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง

ปัญหาการแข็งตัวของเลือด


      อย่าซื้อยารับประทานเอง โดยเฉพาะยาแอสไพริน และ ยาแก้ปวดข้อต่างๆ
     ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนิ่มๆ
      ระวัดระวังเวลาใช้มีดหรือของมีขมอื่นๆ
      หลีกเลี่ยงเตรื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์
      หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาหนักๆ หรือกีฬาที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ
      หากปริมาณเกร็ดเลือดต่ำมากท่านอาจได้รับการเติมเกร็ดเลือดทางหลอดเลือดดำ

ผมร่วง


      ใช้แชมพูอ่อนๆสระผม
      ใช้แปรงนุ่มๆหวีผม
      หลีกเลี่ยงการใช้ไดร์ร้อน เป่าผม
    หลีกเลี่ยงการม้วนผม ย้อมผม หรือดัดผม
      ควรตัดผมสั้น
     สวมหมวก หรือ โพกศีรษะ
      สวมวิก

การติดเชื้อ

· ล้างมือให้สะอาด ดูแลความสะอาดของร่างกาย

· รับประทานอาหารที่สะอาดและ

· พักผ่อนให้เพียงพอ

· หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับคนเจ็บป่วย

· หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับเด็กที่เพิ่งได้รับวัคซีน ป้องกันโรคโปลิโอ หัด คางทูม หัดเยอรมัน

· หากปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำมากท่านอาจได้รับการให้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว

ถ้าเกิดแผลเกิดขึ้นในปาก ท่านควร

· แจ้งแพทย์และพยาบาลทราบ

· รับประทานอาหารนิ่มๆเหลวงๆ

· บ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือน้ำเปล่า ทุก 2 ชั่วโมง

· อย่ารับประทานอาหารร้อนๆ

· หลีกเลี่ยงของขบเคี้ยว กรุบกรอบ

· หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือ มีรสจัด

ปัญหาสุขภาพช่องปาก และฟัน

· บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออ่อนๆ (เกลือ ½ ช้อนชา + น้ำ 1 แก้ว) หรือน้ำเปล่าทุกครั้งหลังอาหาร

· หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากที่ผสมแอลกฮอล์

· แปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร

ท้องผูก

· ดื่มน้ำมากๆในช่วงที่ไม่ได้รับประทานอาหาร

· รับประทานอาหารที่มีเส้นใยหรือกากอาหารมากๆ

· ออกกำลังกายบ้างเบา เช่น เดินเล่น

· รับประทานยาระบาย

ท้องเสีย

· รับประทานอาหารอ่อน

· หลีกเลี่ยงนมสด และ อาหารที่มีกากใยมาก เช่น ผักผลไม้

· ดื่มน้ำชา

· รับประทานยาแก้ท้องเสีย

ผลต่อระบบประสาท และ กล้ามเนื้อ

แจ้งแพทย์และพยาบาลเมื่อมีอาการผิดปกติ ได้แก่

· ชาปลายมือปลายเท้า

· กล้ามเนื้ออ่อนแรง

· หยิบจับสิ่งของไม่สะดวก

· รู้สึกโคลงเคลงเวลาเดิน

· ปวดขากรรไกร

· การได้ยินลดลง

ผลต่อไตและกระเพาะปัสสาวะ

· ดื่มน้ำ 2.5-3 ลิตร

· ไม่กลั้นปัสสาวะ

· สังเกตอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีเลือดปน ให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทันที