ผู้ใช้:Kornpisith

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง [1] จุดกำเนิดและบันทึกประวัติศาสตร์ของโรงเรียน โรงเรียนชลราษฎรอำรุง หมายถึง โรงเรียนที่เกิดจากการบริจาคก่อตั้งโรงเรียนของชาวชลบุรี โดยมีชื่อที่เรียกกันติดปากของชาวชลบุรีว่า “ชลชาย” มีประวัติศาสตร์ในการถือกำเนิดมาพร้อมการเจริญเติบโตของจังหวัดชลบุรี จึงเป็นหน่อรากฐานสำคัญทางการศึกษาของจังหวัดชลบุรี มาต่อเนื่องยืนยาวนับร้อยปี เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับ การเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ รวมถึงจำนวนประชากรของประเทศและในจังหวัดชลบุรีที่เพิ่มขึ้นตลอดมา โดยสรุปการเปลี่ยนแปลงตาม ปี พ.ศ.ได้ดังนี้

พ.ศ. 2441 หลวงวรพินิจบูรพการ ข้าหลวงเมืองชลบุรี อุทิศเรือนไม้เพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดต้นสน โดยมีชื่อโรงเรียนดั้งเดิมว่า “โรงเรียนบุรพการ” ภายใต้การจัดตั้งสถานศึกษา ในจังหวัดชลบุรี ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ สุขบท)ขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระอมราภิลิขิต เจ้าคณะมณฑลปราจีณบุรี โดยแต่เดิมจังหวัดชลบุรี ขึ้นอยู่กับมณฑลปราจีณบุรี จึงได้มีดำริจัดให้มีโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้นในบริเวณอาณาบริเวณวัด โดยได้กำหนดเลือกไว้ 6 โรงเรียนดังต่อไปนี้

•โรงเรียนวัดเขา (พุทธยาคม) ตั้งที่วัดเขาบางทราย อำเภอเมืองชลบุรี

•โรงเรียนวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) ตั้งที่วัดกำแพง อำเภอเมืองชลบุรี

•โรงเรียนวัดต้นสน (พินิจบุรพการ) ตั้งที่วัดต้นสน อำเภอเมืองชลบุรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์(วัดต้นสน)

•โรงเรียนสัมพันธ์พิทยากร ตั้งที่วัดอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี

•โรงเรียนสว่างอารมณ์ ตั้งที่วัดสว่างอารมณ์ อำเภอศรีราชา ชลบุรี

•โรงเรียนพิศาลพิทยาคม ตั้งที่วัดกลาง อำเภอพนัสนิคม ชลบุรี

ในสมัยนั้น กระทรวงธรรมการ ดูแลศาสนา สาธารณสุขและการศึกษา ปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2443 พระครูชลโธปมคุณมุนี (เจียม) เจ้าคณะจังหวัดชลบุรีขณะนั้น พร้อมด้วยพ่อค้าคหบดีร่วมกันสร้างโรงเรียนขึ้น 1 หลังที่วัดกำแพง เรียกว่าโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง อุดมพิทยากร

พ.ศ. 2453 ร.อ.อ. หลวงอำนาจศิลปสิทธิ์ (ปลื้ม รัตนกสิกร) ข้าหลวงตรวจการศึกษาประจำจังหวัดชลบุรี เห็นสมควรยกฐานะโรงเรียนพินิจบูรพการและโรงเรียนวัดกำแพง 1 อุดมพิทยากร ขึ้นเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด โดยการจัดเข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน หรือ(โรงเรียนชลราษฏริ์อำรุง โรงเรียนชลกันยานุกูลและโรงเรียนอนุบาลชลบุรี ปัจจุบันก็ยังเรียกสามโรงเรียนนี้ว่าโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี คือ ชลชาย ชลหญิง อนุบาลชลบุรี ส่วนสาเหตุที่แยก สามโรงเรียนเพื่อแยกนักเรียนชลบุรีเป็นหญิง และชาย ให้แยกกัน เพราะในสมัยนั้นมีปัญหาในการศึกษาร่วมกัน ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่พอใจ เป็นห่วงบุตรหลาน เพราะกำลังเข้าสู่วัยรุ่น และวัฒนธรรมไทยสมัยก่อนนั้น ยังเข้มแข็งเพราะยังไม่มีอารยธรรมตะวันตกเข้ามามาก ส่วนอนุบาลชล สอนเด็กประถม)โดยได้ให้นายมานัส อุมา วุฒิ ป.ป. เป็นครูใหญ่ทั้ง 2 โรงเรียน รูปแบบการบริหารการศึกษาสมัยนั้นมีชั้นประถม 3 ปี มัธยม 4 ปี รวมทั้งสิ้นใช้เวลาศึกษาในโรงเรียน เจ็ดปี

พ.ศ. 2457 ทางราชการได้รวมโรงเรียนพินิจบุรพการและโรงเรียนวัดกำแพง 1 อุดมพิทยากรเข้าเป็นโรงเรียนเดียวกันเรียกว่าโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี แต่สถานที่ยังคงแยกกันเรียนอยู่ คือโรงเรียนพินิจบุรพการสอนมัธยม โรงเรียนวัดกำแพง 1 อุดมพิทยากรสอนชั้นประถม

พ.ศ. 2458 พระยาเพชรดา ข้าหลวงประจำจังหวัดชลบุรี เมื่อครั้งเป็นพระยาไศรยศรเดช ได้สร้างโรงเรียนขึ้นเป็นเอกเทศ ในฐานะโรงเรียนประจำจังหวัด จึงย้ายโรงเรียนพินิจบุรพการและโรงเรียนวัดกำแพง 1 อุดมพิทยากรมาเรียนรวมกัน โดยเปิดเป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา แต่โรงเรียนวัดกำแพง อุดมพิทยากร ก็ยังคงเปิดเรียนต่อมาโดยใช้อาคารหลังเดิม

พ.ศ. 2460 ได้ย้ายนักเรียนทั้งสองโรงเรียนมาเรียนรวมกันเป็นเอกเทศเปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา เรียนร่วมกันชายหญิง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลชลบุรีในปัจจุบัน

พ.ศ. 2474 ทางราชการสั่งให้แยกนักเรียนเป็นชายและหญิง โดยแยกการเรียนการสอนออกเป็นโรงเรียนชายและโรงเรียนหญิงประจำจังหวัดชลบุรี แต่ยังใช้สถานที่ร่วมกันไปก่อน

พ.ศ. 2479 จึงได้มีการแยกสถานที่เรียนออกจากกัน โดยโรงเรียนหญิงประจำจังหวัดชลบุรี ไปก่อตั้งในที่แห่งใหม่ ในชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนชลกันยานุกูล”

พ.ศ. 2484 ย้ายโรงเรียนจากสถานที่เดิมมาที่ตั้งใหม่ริมถนนสุขุมวิทบนเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ของวัดอรัญญิกาวาส ริมถนนสุขุมวิท ปัจจุบันคือ ศูนย์การค้าวรพรต ในวันที่ 3 มิถุนายน 2484 โดย ชาวส้ม-ฟ้า จึงถือว่า วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสถาปนา คล้ายวันเกิดของโรงเรียน

พ.ศ. 2497 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น ชลราษฎรอำรุง หมายความ “การบริจาคของราษฎรชาวชลบุรีเพื่อสร้างโรงเรียน” และเปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ เป็นสหศึกษา เป็นแห่งแรกในภาคตะวันออก

พ.ศ. 2508 นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในสมัยนั้นได้มองเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษา ได้พิจารณาจัดสรรที่ดินที่มีศักยภาพ เดิมเป็นสนามบินของกองทัพอากาศ ประมาณ 70 ไร่ บริเวณสี่แยกหนองข้างคอก ริมถนนสุขุมวิทและมีพื้นที่ติดกับถนนพระยาสัจจาปัจจุบัน ให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ พร้อมกับการถมทะเลเพื่อสร้างเมืองใหม่ชลบุรี ควบคู่กันไป

พ.ศ. 2511 เริ่มทำการก่อสร้างโรงเรียน สถานที่ปัจจุบัน ณ สี่แยกหนองข้างคอก ริมถนนสุขุมวิทติดกับถนนพระยาสัจจา เพื่อให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนชลราษฎรอำรุงในปัจจุบัน โดยการจัดสรรที่ดินของกองทัพอากาศ ประมาณ 67 ไร่ โดยการดำเนินการของท่านอดีตผู้ว่าฯ นารถ มนตเสวี

พ.ศ. 2516 ย้ายโรงเรียนมา ณ ที่ปัจจุบัน เปิดทำการสอนอย่างเป็นทางการ ในระดับชั้น ม.ศ.1-5

พ.ศ. 2525 สิ้นสุดยุคการแบ่งชั้นเรียน แบบ ม.ศ.มัธยมศึกษา 1 – ม.ศ5 เปลี่ยนมาเป็นแบบมัธยมศึกษาปีที่ 1- ม.6 จวบจนปัจจุบัน

พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 500 โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ที่เปิดทำการเรียนการสอนสำหรับระดับชั้น ม.1 และ ม.4 ในปีการศึกษา 2553 ด้วยหลักสูตรมาตรฐานสากล (World Class Standard)

ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียนชลราษฎรอำรุง[แก้]

ข้อความขนาดอักษรใหญ่

สีประจำโรงเรียน : สีส้ม-ฟ้าสีส้ม หมายถึง แสงสว่างตอนอาทิตย์รุ่งอรุณ เป็นสีแห่งการเริ่มต้นของชีวิต

สีฟ้า หมายถึง สีของท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาล ปราศจากเมฆหมอกมืดมัว เป็นสีแห่งความปลอดโปร่งสดใสของชีวิต ซึ่งก้าวไปข้างหน้าอย่างราบรื่น และสูงสุดด้วยภูมิปัญญา

สีส้ม-ฟ้า หมายถึง การเริ่มดำเนินชีวิตอย่างราบรื่นด้วยภูมิปัญญาอันสูงส่ง

ที่อยู่ของโรงเรียนข้อความขนาดอักษรใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 215 หมู่ที่ 3 ถนนพระยาสัจจา ตำบลบ้านสวน จังหวัดชลบุรี

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 และศูนย์มัธยมศึกษา เขตที่ 18 (ชลบุรี-ระยอง) สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง มีผู้บริหารโรงเรียนมาแล้วทั้งสิ้น 26 คน

โดยมีผู้อำนวยการคนปัจจุบัน ชื่อ นายอภิสิทธิ์ รื่นจิตร์

จำนวนข้าราชการครู 134 คน

ครูอัตราจ้าง 67 คน

นักการ 8 คน

ยามรักษาการณ์ 1 คน

พนักงานขับรถ 2 คน

จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 4,256 คน ณ ปีการศึกษา 2553

มีโครงสร้างการบริหารงาน คือ ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ 4 ตำแหน่ง ที่แบ่งกำกับดูแลใน 4 กลุ่มงาน คือข้อความขนาดอักษรใหญ่ 1.กลุ่มบริหารงานนักเรียน

2.กลุ่มบริหารงานวิชาการ

3.กลุ่มบริหารงานบุคคลการเงินและสินทรัพย์

4.กลุ่มบริหารงานทั่วไปและชุมชนสัมพันธ์

หลักสูตรที่โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2554ข้อความขนาดอักษรใหญ่ 1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

2.หลักสูตรการศึกษาตามโครงการโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล (World-Class Standard School)


ปรัชญา ลูกส้ม-ฟ้า ต้องมีความรู้ตามความสามารถและความถนัดของตน รักเพื่อนพ้อง รักพี่น้องร่วมโรงเรียน เหมือนพี่น้องร่วมมาตุภูมิ หยิ่งในศักดิ์ศรีของการเป็นลูกส้ม-ฟ้า มีใจกว้าง เข็มแข็ง เด็ดเดี่ยว รักความก้าวหน้า เป็นผู้นำชุมชนที่เสียสละเพื่อส่วนรวม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ

1.รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (Respect for monarchy) ถ่ายทอดให้นักเรียนมีความภูมิใจในประเทศชาติ ให้มีความรักชาติ รักแผ่นดิน พร้อมเป็นพลังร่วมปกป้องสถาบันของชาติไทย สามารถปฏิบัติตนให้ดีตรงตามหลักศาสนาที่ตนเองนับถือ ตลอดจนมีความยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข

2.ซื่อสัตย์สุจริต (Honesty) ปลูกสร้างนิสัยที่ดีให้แก่นักเรียนในการดำรงตนเป็นผู้ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ให้อยู่ในความสุจริตในการดำเนินชีวิตทั้งในวันนี้และภายภาคหน้า 3.มีวินัย (Discipline) กำกับดูแลระเบียบวินัยให้นักเรียนยึดถือปฏิบัติ ให้มีความประพฤติสมเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อมีระเบียบวินัยเหมาะสมต่อการเป็นเยาวชนที่มีอนาคตของชาติ

4.ใฝ่เรียนรู้ (Interest in Gaining knowledge) สร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการใฝ่เรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

5.อยู่อย่างพอเพียง (Resourcefulness) น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในทุกกลุ่มบริหารงาน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน .เป็นเสมือนวิถีชีวิตของชาวส้มฟ้า ทั้งนักเรียน ครู บุคลากร ตลอดจนผู้บริหาร

6.มุ่งมั่นในการทำงาน (Diligence) ปลูกฝังการมุ่งมั่นในการทำงานทั้งงานส่วนตัว งานส่วนรวม ตลอดจนสร้างจิตสำนักในการรับผิดชอบในหน้าที่ทั้งในการศึกษาเล่าเรียน การทำกิจกรรมให้เป็นจุดเด่นติดตัวสมดุลกัน ทั้งการใช้ชีวิตในโรงเรียนและการใช้ชีวิตที่บ้าน

7.รักความเป็นไทย (Nationalism) กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกที่เป็นไทย มีความเข้าใจตระหนักถึงการใช้ชีวิตในวิถีความเป็นไทยทุกแขนง เกิดเป็นเข้าใจเข้าถึงการดำรงความเป็นไทยบนพื้นฐานที่เหมาะสมต่อความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ICT (Information Computer Technology) ที่เข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยในปัจจุบันและอนาคต

8.มีจิตสาธารณะ(Generosity)ส่งเสริมให้นักเรียน ครูและบุคลากร ได้ดำรงตนเป็นผู้มีจิตสาธารณะในการพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่สังคมและสิ่งแวดล้อม ในทุกโอกาส ทั้งในยามประเทศชาติประสบปัญหา ภัยพิบัติต่างๆ นับตั้งแต่ การอุทิศบริจาคสิ่งของ การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอุบัติภัย การร่วมปลูกป่าชายเลนทั้งในจังหวัดชลบุรีและพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ รวมถึงการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกโอกาส

โดยมีหลักปฏิบัติที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ดังนี้

1.มีระเบียบวินัย มีน้ำใจนักกีฬา

2.ห่างไกลจากสิ่งเสพติด

3.เป็นผู้นำทางปัญญา เรียนดี

4.เคารพ กฎ กติกา ของสังคม มีความประเพฤติดี

5.สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้ตลอดเวลาของชีวิต

เพื่อให้นักเรียนมีศักยภาพเป็นไปตามหลักสำคัญ 3 ประการ ของโรงเรียน ที่ประกอบด้วย ปรัชญา คำขวัญ และคติพจน์ ดังต่อไปนี้ 1. ปรัชญาโรงเรียน คือ “ลูกส้ม-ฟ้า ต้องมีความรู้ตามความสามารถและความถนัดของตน รักเพื่อนพ้อง รักพี่น้องร่วมโรงเรียน เหมือนพี่น้องร่วมมาตุภูมิ หยิ่งในศักดิ์ศรีของการเป็นลูกส้ม-ฟ้า มีใจกว้าง เข็มแข็ง เด็ดเดี่ยว รักความก้าวหน้า เป็นผู้นำชุมชนที่เสียสละเพื่อส่วนรวม” 2. คำขวัญโรงเรียน คือ “ลูกส้ม-ฟ้า ต้องเรียนดี ประพฤติดี มีระเบียบวินัย” 3. คติพจน์โรงเรียน คือ “ปัญญาวุโธ ผู้มีปัญญาเป็นอาวุธ” 4. ตลอดจนการสนับสนุนจัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนได้อย่างมากมาย ทั้งในระหว่างศึกษาอยู่ในโรงเรียน และจัดหาทุน และการสอบชิงทุนการศึกษาในการเรียนระดับต่อไป เป็นจำนวนมากทุกปีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมีผลการศึกษาต่อของนักเรียน เป็นที่ยืนยันความสำเร็จในการให้บริการที่มีคุณภาพการศึกษา 5. จนผลการเข้าศึกษาต่อของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2552 ที่สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุมศึกษา ได้ 100% เต็ม โดยเป็นการศึกษาเข้าคณะแพทย์ศาสตร์ สูงสุดถึง 21 คน และสามารถเข้าศึกษาได้ทุกสถาบันที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับทั้งในสถาบันของรัฐและเอกชน

แนวทางการพัฒนาโรงเรียนในปัจจุบันและในอนาคต

ในปี พ.ศ. 2552 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 500 โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ให้สามารถเปิดทำการเรียนการสอนสำหรับระดับชั้น ม.1 และ ม.4 ในปีการศึกษา 2553 ด้วยหลักสูตรมาตรฐานสากล (World Class Standard) คณะผู้บริหารและบุคลากรของโรงเรียนชลราษฎรอำรุง จึงได้ร่วมกันกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เป็นมาตรฐานสากล ระยะเวลา 3 ปี ในช่วงปี 2553- 2555 และถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality system management) ให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์ อันจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของนักเรียน ให้มีศักยภาพในการคิด วิเคราะห์ ค้นหา ทดสอบ ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีคุณภาพและคุณลักษณะครบถ้วนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อันเป็นพื้นฐานสำคัญของมาตรฐานสากล มีความรู้ทักษะความสามารถที่หลากหลาย เป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารได้สองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพและการเติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และพลโลกที่ดีสืบไป

โดยมีเป้าหมายของโรงเรียน คือ นักเรียนต้องมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ระดับนานาชาติ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานสมเป็นพลโลกที่ดี

OUR GOAL

Our goal is to have students progress to international levels and become productive world citizens.

วิสัยทัศน์ ของโรงเรียน

โรงเรียนชลราษฎรอำรุงเป็นองค์กรที่มีระบบบริหารคุณภาพ เพื่อสร้างเยาวชนสู่ความเป็นเลิศทางปัญญา ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม รักษ์ประชาธิปไตย มีวินัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม มีความเป็นไทย ก้าวไกลสู่สากล

OUR VISION

Chonradsadornumrung School use quality system management, aspiring to create wise and disciplined Students will learn to be democratic and righteous in their country

สิ่งอำนวยความสะดวกและอาคารสถานที่ของโรงเรียน

โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการในรูปแบบงบประมาณประจำปี แต่ด้วยขนาดของโรงเรียนและจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน เป็นไปในอัตราที่รวดเร็วไม่ทันต่อการขอรับงบประมาณได้เพียงพอ โรงเรียนจึงได้ความอนุเคราะห์จากหลายภาคส่วน ในการให้ความสนับสนุนอุปถัมภ์เสมอเหมือนชื่อ “ชลราษฎรอำรุง” นัยความหมายการร่วมใจกันบริจาคเป็นเสมือนธารน้ำใจของราษฎรชาวชลบุรี สืบต่อมา นับตั้งแต่การสนับสนุนให้งบประมาณในการก่อสร้างอาคารและส่งมอบให้ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีได้แก่

อาคาร 8 พระยาสัจจาภิรมย์ เป็นชื่อ ข้าหลวงประจำเมืองชลบุรี เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันผู้เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียน ภายหลังที่รวมโรงเรียนพินิจบุรพการ และโรงเรียนอุดมพิทยากร เข้าด้วยกัน เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี(2460) ห้องประชุม ชั้น 3 ชื่อห้อง“ยูงทอง”

oชั้น 3 : หอประชุม ที่สามารถรองรับกิจกรรมของนักเรียน ได้มากกว่า 1,500 คน

oชั้น 2  : หอสมุดขนาดใหญ่ สามารถรองรับนักเรียนใช้บริการได้ตลอดทั้งปีการศึกษา มีขนาดความจุในการรองรับการเข้าใช้บริการ ได้ 200 คน มีหนังสือครบทุกประเภท ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สามารถให้นักเรียนยืมหนังสือได้ต่อเนื่อง ถึง 5วัน มีระบบสืบค้นหาข้อมูล การยืมและคืนหนังสือ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ประหยัดเวลา

oมีศูนย์ปฏิบัติการทางภาษาที่ทันสมัย มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์สื่อการสอน จำนวน 2 ห้องเรียน

oมีศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพในการรองรับการใช้งานนักเรียนได้ 4 ห้องเรียน

oชั้น 1 : ศูนย์อาหารที่มีร้านค้าถึง 50 ร้านค้าที่ได้รับการดูแล คัดสรรร้านค้าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และสุ่มตรวจเพื่อรับรองความสะอาดของอาหารและผู้ประกอบการ จากสาธารณสุข โรงพยาลชลบุรี ประกอบกับยังมีเวทีกิจกรรมขนาดย่อมที่สามารถจัดกิจกรรมเกี่ยวข้องภายในศูนย์อาหาร และมีร้านค้าสวัสดิการที่มุงหวังในการอำนวยความสะดวกนักเรียนและบุคลากรในด้านเครื่องเขียน และสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน

•“อาคาร อบจ. อุทิศ” โดยด้านล่างเป็นที่ทำการของกลุ่มสาระสุขศึกษา และสถานที่ฝึกเล่นเทเบิลเทนนิส รวมทั้งยังเป็นสถานที่รับเครื่องแบบ หนังสือเรียน วัดตัวตัดชุด ของนักเรียนในช่วงก่อนเริ่มปีการศึกษาใหม่ทุกปี ส่วนด้านบนสุด ชั้น 2 เป็นห้องประชุม สารภี ที่มีความพร้อมสมบูรณ์ตบแต่งอย่างสวยงาม มีเครื่องปรับอากาศระบบเสียง สี เสียงที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรม จัดการประชุมทุกรูปแบบ สามารถจุคนได้ถึง 600 คน และเป็นสถานที่รองรับกิจกรรมจากภายนอก จากชุมชนและบุคคลทั่วไปที่ประสงค์ขออนุญาตใช้สถานที่ในการจัดงานในวาระพิธีสำคัญต่างๆ

•“อาคาร “ เป็นสถานที่เล่นกีฬาในร่มอเนกประสงค์ ที่มีจุดเด่นหลังคาอลูซิงค์สีน้ำเงิน เสาขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน อยู่ตรงข้ามอาคารสารภี มีพื้นที่ของสนามบาสได้ถึง 4 สนาม สามารถปรับเปลี่ยนรองรับได้ทุกกิจกรรมในด้านกีฬาและนันทนาการ

•นอกจากนี้ ยังได้รับความอนุเคราะห์จาก เทศบาลตำบลบ้านสวน ในการจัดทำ “พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” เพื่อเชิดชูอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในรัชกาลปัจจุบัน อีกทั้งยังมี

oแบบจำลองดวงดาวในจักรวาล

oแผนภูมิยุคต่างๆ ของโลก ในช่วงสมัยอดีตถึงปัจจุบัน

oการกำเนิดพัฒนาการของมนุษย์ในยุคก่อนประวติศาสตร์

oเครื่องทดสอบสาธิตภาวะไร้แรงโน้มถ่วง

oเครื่องทดสอบสาธิตการตกของวัตถุในแนววิถีโค้งและแนวปรกติ

oวิดิโอทัศน์และตู้แสดงการกำเนิดของพลาสติกและโพลิเมอร์

โดยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ใต้อาคาร 4 ด้านมุมสุดของอาคารแถบด้านถนนพระยาสัจจา สามารถเปิดให้บริการแก่คณะผู้ดูงาน และผู้ขอเยี่ยมชมล่วงหน้าได้