วงศ์ปลาปิรันยา
วงศ์ย่อยปลาปิรันยา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีน - ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Characiformes |
วงศ์: | Serrasalmidae Bleeker, 1859 |
สกุล[2] | |
ชื่อพ้อง[3] | |
|
วงศ์ปลาปิรันยา เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Serrasalmidae (มีความหมายว่า "วงศ์ปลาแซลมอนที่มีฟันเลื่อย") ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) พบทั้งหมดในปัจจุบัน 16 สกุล (ดูในตาราง) 101 สปีชีส์[2]
ปลาในวงศ์นี้มีชื่อเรียกโดยรวม ๆ กัน เช่น ปลาปิรันยา, ปลาเปคู หรือปลาคู้ และปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ เดิมทีเคยเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ใช้ชื่อว่า Serrasalminae (ในปัจจุบันบางข้อมูลหรือข้อมูลเก่ายังใช้ชื่อเดิมอยู่[3])
ลักษณะ
[แก้]ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างแบนข้างมาก มีครีบไขมัน จัดเป็นปลาขนาดปานกลางไปจนถึงขนาดใหญ่สุดประมาณ 1 เมตร (3.3 ฟุต) มีครีบท้องแหลมยาว ครีบหลังยาวมีก้านครีบมากกว่า 16 ก้าน ส่วนจะมีกระดูกสันหลังก่อนถึงครีบหลัง ครีบหลังโผล่พ้นออกมาจากกระดูกซูปรานูรัล ยกเว้นบางสกุล คือ Colossoma, Piaractus, และ Mylossoma
ส่วนใหญ่มีจำนวนโครโมโซมประมาณ 60 อยู่ในช่วงตั้งแต่ 54-62 ในสกุล Metynnis มี 62 โครโมโซม เช่นเดียวกับสกุล Catoprion, Pygopristis และชนิด Pristobrycon striolatus
อีกประการคือ เป็นปลาที่มีชุดฟันที่แข็งแรง แหลมคม ใช้สำหรับการกินอาหาร แต่มีลักษณะต่างออกไปตามแต่ละสกุล [4]
การกระจายพันธุ์
[แก้]ทั้งหมดเป็นปลาน้ำจืด พบกระจายพันธุ์เฉพาะทวีปอเมริกาใต้[5] พบได้ตั้งแต่ 10° ละติจูดเหนือ ไปจนถึงประมาณ 35° ละติจูดใต้[4]
นิเวศวิทยา
[แก้]เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารแตกต่างกันไปตามแต่ละสกุล หรือชนิด ซึ่งทั้งหมดสามารถกินได้ทั้งพืช หรือสัตว์ รวมถึงลูกไม้ หรือผลไม้ที่ร่วงลงน้ำด้วย ในหลายชนิดเป็นปลานักล่าที่ดุเดือด ขึ้นชื่อในการล่าสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร [6]
ฟอสซิล
[แก้]ปลาในวงศ์นี้ ส่วนใหญ่พบเป็นฟอสซิลตั้งแต่ยุคไมโอซีน แม้ว่าบางหลักฐานที่ระบุไม่ได้ได้รับการพิจารณาว่าปรากฏในยุคพาลิโอซีนและมีอีก 2 ชิ้น ที่มีรายงานว่าปรากฏในยุคต้นของยุคปลายครีเตเชียส ในสกุล Colossoma ซึ่งเป็นปลากินพืช พบได้ในยุคไมโอซีน โดยส่วนใหญ่หลักฐานทางฟอสซิลของปลาวงศ์นี้จะพบในช่วงยุคกลางไมโอซีน ยกเว้นปลาปิรันยาบางสกุล ได้แก่ Pygocentrus, Pristobrycon และ Serrasalmus[5][4]
สกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ Megapiranha เชื่อว่ามีความยาวถึง 70 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 10 กิโลกรัม สูญพันธุ์ไปในตอนปลายของยุคไมโอซีน[1]
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
[แก้]เป็นปลาที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ใช้ประโยชน์ทั้งการบริโภคในท้องถิ่น รวมถึงเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในบางสกุล บางชนิดในหลายประเทศ เช่น จีน, บราซิล, ไต้หวัน, ไทย จนกลายมาเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่ และยังตกกันเป็นเกมกีฬา ตลอดจนเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย[6][4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Cione, A.L., Dahdul, W.M., Lundberg, J.G., & Machado-Allison, A. 2009: Megapiranha paranensis, a new genus and species of Serrasalmidae (Characiformes, Teleostei) from the Upper Miocene of Argentina. Journal of Vertebrate Paleontology, 29 (2): 350-358. doi:10.1671/039.029.0221
- ↑ 2.0 2.1 Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2013). "Serrasalmidae" ในฐานข้อมูลปลา. ฉบับ เมษายน 2013
- ↑ 3.0 3.1 "Characidae". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 14 May 2014.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Freeman, Barbie; Nico, Leo G.; Osentoski, Matthew; Jelks, Howard L.; Collins, Timothy M. (2007). "Molecular systematics of Serrasalmidae: Deciphering the identities of piranha species and unraveling their evolutionary histories" (PDF). Zootaxa. 1484: 2. doi:10.11646/zootaxa.1484.1.1. สืบค้นเมื่อ 2009-06-25.
- ↑ 5.0 5.1 Nelson, Joseph S. (2006). Fishes of the World. John Wiley & Sons, Inc. ISBN 0-471-25031-7.
- ↑ 6.0 6.1 หน้า 7 วิทยาการ-การเกษตร, เปคูแดง...ปลาเศรษฐกิจสายปิรันยา โดย ดอกสะแบง. "หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน". ไทยรัฐ ปีที่ 49 ฉบับที่ 14,624: วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู