ข้ามไปเนื้อหา

รอยนูนหน้าส่วนบน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก SFG)
รอยนูนหน้าส่วนบน
(Superior frontal gyrus)
รอยนูนหน้าส่วนบนในสมองมนุษย์
ภาพแบ่งหน้าหลัง (coronal) ผ่าน anterior cornua of lateral ventricles รอยนูนหน้าส่วนบนมีสีเหลือง
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของสมองกลีบหน้า
หลอดเลือดแดงAnterior cerebral
ตัวระบุ
ภาษาละตินgyrus frontalis superior
นิวโรเนมส์83
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1303
TA98A14.1.09.121
TA25456
FMA61857
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

รอยนูนหน้าส่วนบน หรือ รอยนูนสมองกลีบหน้าส่วนบน (อังกฤษ: superior frontal gyrus, gyrus frontalis superior, ตัวย่อ SFG) เป็นส่วน 1 ใน 3 ของสมองกลีบหน้าของมนุษย์ อยู่ติดกับ ร่องสมองกลีบหน้าส่วนบน (superior frontal sulcus) ทางด้านข้าง และโดยเหมือนกับ รอยนูนหน้าส่วนล่างและรอยนูนหน้าส่วนกลาง รอยนูนหน้าส่วนบนจริงๆ แล้วเป็นเขตสมองโดยประสาทกายวิภาค ไม่ใช่เป็นรอยนูนจริง ๆ

กิจหน้าที่

[แก้]

ความรู้สึกตน

[แก้]

ในงานทดลองด้วย fMRI โกลด์เบอรก์และคณะ ได้พบหลักฐานว่า รอยนูนหน้าส่วนบนมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกตน (self-awareness) โดยทำงานร่วมกับระบบรับความรู้สึก (sensory system)[1][2]

การหัวเราะ

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1998 ประสาทศัลย์แพทย์อิทแซก์ ฟรายด์ ได้พรรณนาถึงคนไข้หญิงวัย 16 ปี (ซึ่งเรียกกันว่า คนไข้เอเค) ผู้ที่หัวเราะเมื่อ SFG ของเธอรับการระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าเมื่อกำลังผ่านการรักษาโรคลมชัก[3] โดยที่กระแสไฟฟ้านั้นมีการประกบที่ผิวเปลือกสมองของสมองกลีบหน้า เพื่อที่จะหาจุดที่ก่อให้เกิดการชัก (แต่จุดที่ก่อให้เกิดการชักจะไม่ทำให้เกิดการหัวเราะ)

ฟรายด์ได้บ่งชี้บริเวณขนาด 2 x 2 ซ.ม. ที่ SFG ซีกซ้ายที่เมื่อมีการกระตุ้นแล้ว การหัวเราะจะติดตามมาอย่างสม่ำเสมอ เอเคแจ้งว่า การหัวเราะนั้นมีพร้อมกับความรู้สึกร่าเริง แต่แจ้งเหตุของการหัวเราะแต่ละครั้งที่ไม่เหมือนกัน โดยยกเหตุให้กับตัวกระตุ้นภายนอกที่ไม่น่าขำ ตัวอย่างเช่น การหัวเราะครั้งหนึ่งมีเหตุมาจากรูปภาพที่ให้เอเคบอกชื่อ (โดยเธอกล่าวว่า "ม้าพวกนั้นมันน่าขำ") หรือจากประโยคที่ให้เธออ่าน หรือจากบุคคลที่อยู่ในห้อง (โดยเธอกล่าวว่า "พวกคุณนี่น่าขำจริงๆ เลย ... ยืนอยู่อย่างนั้น")

การเพิ่มระดับไฟฟ้าในการกระตุ้น ปรากฏว่าเพิ่มช่วงเวลาและระดับการหัวเราะ ยกตัวอย่างเช่น ในระดับไฟฟ้าต่ำ มีการยิ้มเพียงเท่านั้น ในระดับที่สูงขึ้นไป มีการหัวเราะที่ดังขึ้น ที่ชวนให้หัวเราะตามมากยิ่งขึ้น การหัวเราะนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับการหยุดกิจการงานอื่นๆ ที่อาศัยการพูดหรือการเคลื่อนไหวด้วยมือ

รูปต่างๆ

[แก้]

หมายเหตุและอ้างอิง

[แก้]
  1. Goldberg I, Harel M, Malach R (2006). "When the brain loses its self: prefrontal inactivation during sensorimotor processing". Neuron. 50 (2): 329–39. doi:10.1016/j.neuron.2006.03.015. PMID 16630842.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Watching the brain 'switch off' self-awareness at newscientist.com
  3. Fried I, Wilson C, MacDonald K, Behnke E (1998). "Electric current stimulates laughter". Nature. 391 (6668): 650. doi:10.1038/35536. PMID 9490408.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)