รีอาซิลเวีย

พิกัด: 75°S 301°E / 75°S 301°E / -75; 301[1]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rheasilvia)

75°S 301°E / 75°S 301°E / -75; 301[1]

ภาพแสดงแอ่งรีอาซิลเวียบริเวณซีกใต้ของเวสตา

รีอาซิลเวีย (อังกฤษ: Rheasilvia) เป็นลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นที่สุดในดาวเคราะห์น้อยเวสตาและคาดว่านี้อาจเป็นผลกระทบจากแอ่งปะทะ ปากแอ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 505 กม. คิดเป็น 90% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเวสตาเองและคิดเป็น 95% เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของเวสตา (529 กม.) อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยของเวสตานั้นเป็นผลกระทบจากแอ่งปะทะนั้นเอง จุดสูงสุดตรงกลางแอ่งนั้นมีความสูงกว่า 22 กม.[2][3]ทำให้มันเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ[3]

การค้นพบ[แก้]

รีอาซิลเวียถูกพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลใน พ.ศ. 2540[4] แต่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อจนกระทั่งยานสำรวจอวกาศดอว์นไปสำรวจเวสตาใน พ.ศ. 2554 ชื่อของมันตั้งตาม รีอา ซิลเวีย เทพธิดาพรหมจารีและมารดาของผู้ก่อตั้งกรุงโรม[1]

ลักษณะ[แก้]

แอ่งรีอาซิลเวียบางส่วนทับกับเวนอิเนอา (Veneneia) ซึ่งเป็นแอ่งที่เกิดก่อนและมีขนาดใหญ่เกือบ 395 กม.[5]

ขอบของรีอาซิลเวียมีความลาดชันและสูง 4-12 กิโลเมตรเหนือพื้นที่โดยรอบ ก้นแอ่งมีความลึก 13 กิโลเมตรใต้พื้นดินโดยรอบ กลางแอ่งมีลักษณะเป็นลูกคลื่นและเนินกลางแอ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 กิโลเมตรและสูงจากก้นแอ่งประมาณ 20-25 กิโลเมตร[2][3]ซึ่งสูงที่สุดในระบบสุริยะ แอ่งนี้คาดว่าน่าจะเกิดจากการชนกันของดาวเคราะห์น้อย[6]

การศึกษาสเปกโทรสโกปีของฮับเบิลได้แสดงให้เห็นว่าแอ่งอุตกาบาตนี้เจาะลึกลงไปบนชั้นต่าง ๆ ของเปลือกดาวและอาจจะเจาะลงไปถึงเนื้อดาวตามผลที่แสดงโดยเส้นสเปกตรัมของโอลิวีน[7]

เวสตามีร่องแคบในเขตเส้นศูนย์สูตรซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการชนครั้งใหญ่ ร่องแคบที่ใหญ่ที่สุดคือดิวาเลียน ฟอสซา (Divalia Fossa) ซึ่งกว้าง 22 กม. ยาว 465 กม.

มีการประเมินว่าการชนครั้งนี้ทำให้ขุดปริมาตรของเวสตาออกมาประมาณ 1% และเป็นไปได้ว่าดาวเคราะห์น้อยตระกูลเวสต้าและดาวเคราะห์น้อยประเภท Vเกิดมาจากการชนในครั้งนี้ หากกรณีนี้เป็นความจริงที่ว่ามีเศษประมาณ 10 กิโลเมตรรอดจากการโดนระเบิดจนถึงปัจจุบันก็แสดงว่าแอ่งอุตกาบาตนี้มีอายุมากกว่า 1 พันล้านปีมาแล้ว[8] และยังรวมถึงนี้อาจเป็นที่มาของHED meteorite เชื่อกันว่าดาวเคราะห์น้อยประเภท V เป็น 6% ของมวลที่ออกมาจากเวสตาและยังมีเศษชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่เล็กจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หรืออาจหายไปเพราะเข้าใกล้ช่องว่างเคิร์กวูดซึ่งเป็นผลจากสภาวะยาร์คอฟสกี (Yarkovsky effect) หรือRadiation pressure (ในกรณีของเศษเล็ก ๆ น้อย ๆ)

ภาพ[แก้]

แผนที่แสดงความสูงซีกใต้ของเวสตา
เส้นแสดงเขตของรีอาซิลเวียซึ่งทับกับบางส่วนของเวนอิเนอา
ภาพของเวสตาที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริเวณแบน ๆ ที่ด้านล่างขวาคือรีอาซิลเวีย
ภาพแนวเฉียงของรีอาซิลเวียที่คอมพิวเตอร์สร้างโดยแสดงระดับความสูงเป็นสีต่าง ๆ วิดีโอ flyover ดูได้ที่นี้
แผนที่ภูมิลักษณ์ซีกใต้ของเวสตาแสดงให้เห็นรีอาซิลเวียกับเวนอิเนอา
3-D ภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อมของยอดเขาควรใส่ แว่นสามมิติแดง ฟ้า เพื่อดูภาพนี้ในมุมมอง 3 มิติ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Rheasilvia". Gazetteer of Planetary Nomenclature. USGS Astrogeology Research Program. (NASA coordinates)
  2. 2.0 2.1 Schenk, Paul (2012). "The Geologically Recent Giant Impact Basins at Vesta's South Pole". Science. 336 (6082): 694–697. Bibcode:2012Sci...336..694S. doi:10.1126/science.1223272. PMID 22582256.
  3. 3.0 3.1 3.2 Vega, P. (11 October 2011). "New View of Vesta Mountain From NASA's Dawn Mission". dawn.jpl.nasa.gov. NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2018-02-17.
  4. Hubble Reveals Huge Crater on the Surface of the Asteroid Vesta
  5. 'Vesta seems more planet than asteroid' เก็บถาวร 2012-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Science News, 22 Mar 2012
  6. Karimi, S; Dombard, A.J. (2016). "On the possibility of viscoelastic deformation of the large south polar craters and true polar wander on the asteroid Vesta". Journal of Geophysical Research. 121: 1786–1797. Bibcode:2016JGRE..121.1786K. doi:10.1002/2016JE005064.
  7. Thomas, P. C.; และคณะ (1997). "Vesta: Spin Pole, Size, and Shape from HST Images". Icarus. 128 (1): 88. Bibcode:1997Icar..128...88T. doi:10.1006/icar.1997.5736.
  8. Binzel, R. P.; และคณะ (1997). "Geologic Mapping of Vesta from 1994 Hubble Space Telescope Images". Icarus. 128 (1): 95. Bibcode:1997Icar..128...95B. doi:10.1006/icar.1997.5734.