มีไฮผู้กล้าหาญ
มีไฮผู้กล้าหาญ | |
---|---|
เจ้าชายแห่งวอลเลเกีย ผู้ว่าราชการทรานซิลเวเนีย เจ้าชายแห่งมอลเดเวีย | |
ภาพเขียนบุคคลโดยไอกีดิอุส ซาเดอเลอร์ที่ 2 (ปราก, 1601) | |
เจ้าชายแห่งวอลเลเกีย | |
ครองราชย์ | กันยายน 1593 – สิงหาคม 1601 |
ก่อนหน้า | อาเลกซันดรูเชลเริว |
ถัดไป | ราดู มีห์เนอา |
เจ้าชายแห่งทรานซิลเวเนีย (โดยพฤตินัย) | |
ครองราชย์ | ตุลาคม 1599 – กันยายน 1600 |
ก่อนหน้า | อ็อนดราช บาโตรี |
ถัดไป | ฌิกโมนด์ บาโตรี |
เจ้าชายแห่งมอลเดเวีย | |
ครองราชย์ | พฤษภาคม–กันยายน 1600 |
ก่อนหน้า | เยเรมียา มอวีเลอ |
ถัดไป | เยเรมียา มอวีเลอ |
ประสูติ | 15 มกราคม 1558 ตือร์กุล (ใกล้จูร์เจน) วอลเลเกีย[1] มีไฮ เปอตรัชกู |
สวรรคต | 9 สิงหาคม 1601 (อายุ 42–43) ตอร์ดา ราชรัฐทรานซิลเวเนีย (ปัจจุบันคือตูร์ดา ประเทศโรมาเนีย) |
ฝังพระศพ | 12 สิงหาคม 1601 อัลบายูลียาหรือบอกาตา เทศมณฑลกลุฌ อารามเดอาลู เทศมณฑลดึมบอวิตซา |
คู่อภิเษก | ดออัมนาสตังกา |
พระราชบุตร | นีกอลาเอ เปอตรัชกู ดอมนิตซาฟลอรีกา |
ราชวงศ์ | เดรอกูเลชต์ |
พระราชบิดา | เปอตรัชกูเชลบุน |
พระราชมารดา | เตออดอรา กันตากูซีโน |
ศาสนา | คริสต์ออร์ทอดอกซ์โรมาเนีย |
มีไฮผู้กล้าหาญ (โรมาเนีย: Mihai Bravu), มีไฮ วีเตอาซุล (Mihai Viteazul, ออกเสียง: [miˈhaj viˈte̯azul]; 1558 – 9 สิงหาคม 1601) หรือชื่อเมื่อเกิดว่า มีไฮ เปอตรัชกู (Mihai Pătrașcu) เป็นเจ้าชายแห่งวอลเลเกีย (ในนาม มีไฮที่ 2; 1593–1601), เจ้าชายแห่งมอลเดเวีย (1600) และผู้ปกครองโดยพฤตินัยของราชรัฐทรานซิลเวเนีย (1599–1600) ถือกันว่าเขาเป็นวีรบุรุษแห่งชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโรมาเนีย[2] นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 มา มีไฮผู้กล้าหาญได้รับการยกย่องโดยบรรดาผู้สนับสนุนชาตินิยมโรมาเนียให้เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันของโรมาเนีย[3] การขึ้นครองตำแหน่งของมีไฮถือเป็นครั้งแรกที่บรรดาแคว้นที่มีชาวโรมาเนียอาศัยอยู่มีผู้ปกครองคนเดียวกัน[4]
การนำของมีไฮต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน การสร้างความตึงเครียดในสายสัมพันธ์กับอำนาจอื่นในยุโรป และสถานะการเป็นผู้นำของสามรัฐ ทำให้มีไฮได้ถูกมองในยุคหลังว่าเป็นผู้ริเริ่มโรมาเนียยุคใหม่ แนวคิดนี้ถูกเสนอขึ้นอย่างเด่นชัดโดยนีกอลาเอ เบิลเชสกู แนวคิดนี้กลายมาเป็นจุดอ้างอิงให้กับผู้สนับสนุนชาตินิยมโรมาเนีย และเป็นตัวเร่งให้กองกำลังต่าง ๆ ของชาวโรมาเนียต้องการที่จะรวมรัฐโรมาเนียเป็นรัฐเดี่ยว[5] สำหรับผู้นิยมชาตินิยมโรมาเนียแบบจินตนิยม[6] มีไฮถือเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโรมาเนีย มีไฮเริ่มเป็นที่รับรู้ในฐานะ "ผู้รวบรวม" ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เรื่อยมา[3] การตีความมีไฮเช่นนี้ไม่ปรากฏมาก่อนในวาทกรรมประวัติศาสตร์จากพงศาวดารสมัยศตวรรษที่ 17 หรือแม้แต่ในสำนักทรานซิลเวเนียจากราวปี 1800
เครื่องราชมีไฮผู้กล้าหาญ ซึ่งปัจจุบันเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ทางการทหารลำดับที่สูงสุดของโรมาเนีย ได้รับการตั้งชื่อตามมีไฮ[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Târgul de Floci, locul unde s-a născut Mihai Viteazul". Adevărul (ภาษาโรมาเนีย). 22 July 2011.
- ↑ Kemp, Arthur (May 2008). Jihad: Islam's 1,300 Year War Against Western Civilisation. ISBN 978-1-4092-0502-9.
- ↑ 3.0 3.1 "Michael PRINCE OF WALACHIA". www.britannica.com. Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ March 25, 2019.
- ↑ Djuvara 2014, p. 193.
- ↑ Giurescu, p. 211–13.
- ↑ White, George W. (2000). Nationalism and territory: constructing group identity in Southeastern Europe. Rowman & Littlefield. p. 132. ISBN 978-0-8476-9809-7.
- ↑ Ordinul Mihai Viteazul, tracesofwar.com, Retrieved 10 April 2008
บรรณานุกรม
[แก้]- Bolovan, Ioan; Kurt W. Treptow (1997). A History of Romania (3rd ed.). Iași: Center for Romanian Studies. ISBN 978-973-98091-0-8. OCLC 39225262.
- Djuvara, Neagu (2014). A Brief Illustrated History of Romanians. Humanitas. ISBN 978-973-50-4334-6.
- Giurescu, Constantin C. (2007) [1935]. Istoria Românilor (ภาษาโรมาเนีย). Bucharest: Editura All.
- Homutescu, Adrian. "Elements of Romanian Heraldry". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2008. สืบค้นเมื่อ 3 March 2008.
- Ionașcu, Ion (1962). "Mihai Viteazul și autorii tratatului de la Alba Iulia (1595)". Anuarul Institutului de Istorie și Arheologie, Cluj-Napoca (ภาษาโรมาเนีย). 5: 111–44. ISSN 0253-1550. OCLC 20377434.
- Iorga, Nicolae (1904). Ștefan-cel-mare și Mihai-Viteazul: ca întemeietorii bisericii Românilor din Ardeal (PDF) (ภาษาโรมาเนีย). Bucharest: Minerva. OCLC 18153903. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 April 2008. สืบค้นเมื่อ 3 March 2008.
- Iorga, Nicolae (1968). Istoria lui Mihai Viteazul (ภาษาโรมาเนีย). Bucharest: Editura Militară. OCLC 1243864.
- Jarausch, Konrad Hugo (2007). Conflicted Memories: Europeanizing Contemporary Histories. New York: Berghahn Books. OCLC 493876549.
- Manea, Cristina Anton (2003). "Structura și restructurarea marii boierimi din Țara Românească de la începutul secolului al XVI-LEA până la mijlocul secolului al XVII-LEA" (ภาษาโรมาเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PhD. Thesis)เมื่อ 8 February 2008. สืบค้นเมื่อ 3 March 2008.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Panaitescu, Petre P. (1936). Mihai Viteazul (ภาษาโรมาเนีย). Bucharest: Fundația Regală. OCLC 29925825.
- Rezachevici, Constantin (November 1999). "Mihail Viteazul: Cele patru itinerarii transilvane". Magazin Istoric (ภาษาโรมาเนีย). ISSN 0541-881X. OCLC 2263749. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2007. สืบค้นเมื่อ 3 March 2008.
- Rezachevici, Constantin (May 2000). "Mihail Viteazul: Itinerariul moldovean". Magazin Istoric (ภาษาโรมาเนีย). ISSN 0541-881X. OCLC 2263749. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2007. สืบค้นเมื่อ 3 March 2008.
- Rezachevici, Constantin (October 2000). "Legenda și substratul ei istoric. Mihail Viteazul Restituror Daciae?". Magazin Istoric (ภาษาโรมาเนีย). ISSN 0541-881X. OCLC 2263749. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2007. สืบค้นเมื่อ 3 March 2008.
- Szádeczky Kardoss, Lajos: Erdély és Mihály vajda története. [History of Transylvania in the time of vovoide Mihail with added documents] Temesvár 1893. Második, bővitett kiadás. Erdély és Mihály vajda története, 1595-1601. oklevéltárral
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | มีไฮผู้กล้าหาญ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
มีไฮที่ 1 แห่งวอลเลเกีย สิ้นพระชนม์: 1601
| ||||
สมัยก่อนหน้า อาเลกซันดรูเชลเริว |
เจ้าชายแห่งวอลเลเกีย 1593–1600 |
สมัยต่อมา ซีมียอน มอวีเลอ | ||
สมัยก่อนหน้า เยเรมียา มอวีเลอ |
เจ้าชายแห่งมอลเดเวีย 1600 |
สมัยต่อมา เยเรมียา มอวีเลอ |
นานาชาติ | |
---|---|
ประจำชาติ | |
ประชาชน | |
อื่น ๆ |