เหตุผลวิบัติอรูปนัย
เหตุผลวิบัติอรูปนัย (อังกฤษ: informal fallacy) เป็นการให้เหตุผล โดยที่เหตุที่ให้ไม่สนับสนุนผลที่แสดง[1] เหตุผลวิบัติอรูปนัยมักเป็นผลจากความผิดพลาดด้านความคิดที่ทำให้ผลที่กล่าวถึงไม่น่าเชื่อถือ เปรียบเทียบกับ "เหตุผลวิบัติรูปนัย" (formal fallacy) ซึ่งเป็นความผิดพลาดทางตรรกะ
ความแตกต่างระหว่างเหตุผลวิบัติรูปนัยและอรูปนัย
[แก้]เหตุผลวิบัติรูปนัยเป็นการให้เหตุผลเชิงนิรนัย (deductive reasoning) ที่เกิดความผิดพลาดในทางตรรกะ ที่ควรจะให้ผลที่เป็นจริงเมื่อมีเหตุที่เป็นจริง ซึ่งทำให้เหตุผลนั้นเป็นโมฆะ
ส่วนเหตุผลโดยอุปนัยซึ่งเป็นวิธีการให้เหตุผลแบบอรูปนัย ไม่ได้ตัดสินตามหลักของตรรกะเช่นนั้น คือ ความสมควรของเหตุผลนั้นตัดสินโดยความน่าเชื่อถือทางความคิด หรือตามกำลังของหรือตามวิธีการทางอุปนัย (ยกตัวอย่างเช่น การอนุมานโดยใช้สถิติ) ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลวิบัติโดยการวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป (hasty generalization) สามารถกล่าวได้ดังนี้
- "ก" เป็น "ข"
- และ "ก" ก็เป็น "ค" ด้วย
- ดังนั้น "ข" ทั้งหมดก็จะเป็น "ค" ด้วย
แม้ว่า โดยนิรนัยแล้ว นี้ไม่มีทางสมเหตุผล แต่ว่า ถ้าสามารถทำการอนุมานได้โดยใช้สถิติที่สมควร การให้เหตุผลโดยวิธีนี้อาจจะเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Kelly, D. (1994) The Art of Reasoning. W W Norton & Company, Inc. ISBN 0-393-96466-3
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Logical fallacies A list of logical fallacies, explained.
- The Fallacy Files: Informal Fallacy