ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hydrofluorocarbon)

ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (อังกฤษ: hydrofluorocarbons, ย่อ: HFC) เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีอะตอมฟลูออรีนและไฮโดรเจน และเป็นสารประกอบออแกโนฟลูออรีนชนิดที่พบบ่อยที่สุด มักใช้ในการปรับอากาศและเป็นสารหล่อเย็นแทนสารกลุ่มคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่มีอายุมากกว่า เช่น อาร์-12 และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนอย่างอาร์-21[1] สารดังกล่าวเป็นอันตรายต่อชั้นโอโซนน้อยกว่าสารที่มันใช้ทดแทน แต่ยังมีส่วนให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่ โดยมีศักยะภาวะโลกร้อนหลายพันเท่าเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์[2] ความเข้มข้นในบรรยากาศและการมีส่วนต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจกฝีมือมนุษย์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความกังวลระหว่างประเทศเกี่ยวกับแรงปล่อยรังสีของมัน

ฟลูออโรคาร์บอนที่มีพันธะ C–F น้อยประพฤติตนเหมือนกับไฮโดรคาร์บอนตั้งต้น แต่ความไวปฏิกิริยาของมันสามารถเปลี่ยนได้มาก ตัวอย่างเช่น ทั้งยูราซิลและ 5-ฟลูออโรยูราซิลมีคุณสมบัติไร้สี เป็นของแข็งผลึกมีอุณหภูมิหลอมเหลวสูงทั้งคู่ แต่สารชนิดหลังเป็นยาต้านมะเร็งที่มีฤทธิ์แรง การใช้พันธะ C-F ในเภสัชวิทยาตั้งอยู่บนความไวปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้[3] ยาและสารเคมีเกษตรหลายชนิดมีแกนกลางเป็นฟลูออรีนหนึ่งอะตอมหรือหมู่ไตรฟลูออโรเมทิลหนึ่งหมู่

ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนรวมอยู่ในการเจรจาระหว่างประเทศแยกต่างหากจากแก๊สเรือนกระจกอื่นในความตกลงปารีส[4]

ในเดือนกันยายน 2559 ปฏิญญานิวยอร์กว่าด้วยป่ากระตุ้นให้ลดการใช้ HFCs ทั่วโลก[5] ในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 เนื่องจากการมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสารเคมีเหล่านี้ นักเจรจาจาก 197 ประเทศประชุมกันที่การประชุมสุดยอดของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติในกรุงคิกาลี ประเทศรวันดา บรรลุข้อตกลงที่มีผลผูกพันตามกฎหมายเพื่อลดการใช้ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนในการแก้ไขเพิ่มเติมพิธีสารมอนทรีออล[6][7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Milman, Oliver (22 September 2016). "100 countries push to phase out potentially disastrous greenhouse gas". The Guardian. London, UK. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  2. US EPA, OAR (2016-01-12). "Understanding Global Warming Potentials". US EPA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-06.
  3. G. Siegemund, W. Schwertfeger, A. Feiring, B. Smart, F. Behr, H. Vogel, B. McKusick "Fluorine Compounds, Organic" in "Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry" 2005, Wiley-VCH, Weinheim. doi:10.1002/14356007.a11_349
  4. Davenport, Carol (23 July 2016). "A Sequel to the Paris Climate Accord Takes Shape in Vienna". New York Times. สืบค้นเมื่อ 17 August 2016.
  5. "The New York Declaration of the Coalition to Secure an Ambitious HFC Amendment". Washington, DC: US Department of State. 22 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  6. Johnston, Chris; Milman, Oliver; Vidal, John (15 October 2016). "Climate change: global deal reached to limit use of hydrofluorocarbons". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
  7. "Climate change: 'Monumental' deal to cut HFCs, fastest growing greenhouse gases". BBC News. 15 October 2016. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
  8. "Nations, Fighting Powerful Refrigerant That Warms Planet, Reach Landmark Deal". New York Times. 15 October 2016. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.