ข้ามไปเนื้อหา

คุณาฒยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Gunadhya)
คุณาฒยะ
อาชีพนักประพันธ์
ผลงานพฤหัตกถา

คุณาฒยะ (อักษรโรมัน: Guṇāḍhya) เป็นชื่อภาษาสันสกฤตของนักประพันธ์ที่มีช่วงชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่หก ผู้ประพันธ์ พฤหัตกถา ซึ่งเป็นชุดรวบรวมเรื่องเล่าที่ทัณฑิน ผู้ประพันธ์ กวยทรรศน์, สุพันธุ ผู้ประพันธ์ วาสวทัตตะ และ พาณภัฏฏะ ผู้ประพันธ์ กทัมพริ[1] ได้เคยพบเห็น นักวิชาการมักเปรียบเทียบคุณาฒยะกับวยาสะ และ วาลมีกิ พฤหัตกถาต้นฉบับได้สูญหายไปแล้ว คงเหลือแต่รูปเรียบเรียงใหม่จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษากัศมีร์ ซึ่งคือ พฤหัตกถามัญชรี โดย กเษเมนทระ และ กถาสริตสาคร โดยโสมเทวะ[2]

ช่วงเวลา

[แก้]

เป็นที่เข้าใจว่าคุณาฒยะมีช่วงชีวิตที่เฟื่องฟูอยู่ระหว่างรัชสมัยของกษัตริย์แห่งจักรวรรดิสตวาหนะแห่งนครประติษฐาน (ในปัจจุบันคือไปฐาน รัฐมหาราษฏระ) นักวิชาการ ดี ซี ซีร์การ์ ระบุว่าเขาน่าจะมียุคเฟื่องฟูอยู่ระหว่าง 100 ปีก่อนคริสต์กาล ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ในบันทึกอีกรุ่นหนึ่ง เนปาลมหาตมยะ (Nepala Mahatmya) ในสกันทปุราณะ ระบุว่าคุณาฒยะเกิดในเมืองมถุรา เป็นกวีประจำราชสำนักของกษัตริย์มทานะ (Madana) แห่งอุชไชนะ ซีร์การ์เชื่อว่าฉบับบันทึกนี้น่าเชื่อถือน้อยกว่า[3]

ความสำคัญ

[แก้]

บันทึกที่มีการกล่าวถึงวิกรมาทิตยะที่เก่าแก่ที่สุดมีอยู่ในพฤหัตกถาซึ่งสูญหายไปแล้ว คุณาฒยะบรรยายไว้ถีงคุณลักษณะอันยิ่งใหญ่ของวิกรมาทิตยะ ว่าเป็นผู้มีจิตใจอารี มีความกล้าหาญมุ่งมั่นไม่สั่นคลอน คุณลักษณะเหล่านี้ยังปรากฏเช่นกันใน คหสัตตไส โดยกษัตริย์หาลวาหนะแห่งจักรวรรดิสตวาหนะ ทั้งคุณาฒยะและหาลวาหนะมีช่วงชีวิตอยู่ใกล้เคียงกับวิกรมาทิตยะ[4]

คุณาฒยะประพันธ์พฤหัตกถาขึ้นโดยใช้ภาษาไปษาจี ซึ่งเป็นภาษาปรากฤตที่เป็นที่รู้จักน้อย ภาษาปรากฤตมีใช้ทั่วไปอย่างกลว้างขวางในอินเดียเหนือ[5] ทัณฑินมีบทบาทสำคัญมากต่อพื้นของพฤหัตกถา และระบุว่าพฤหัตกถานั้นเขียนขึ้นในรูปแบบร้อยแก้ว (prose) ไม่ใช่เป็นรูปกวีนิพนธ์ (poetic form) ดังที่เสนอไว้ในฉบับเรียบเรียงภาษากัศมีร์ทั้งสามที่เป็นที่ทราบถึงในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึง หรจริตจินตามณี (Haracaritacintamani) ของชยรถ (Jayaratha)[6]

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  1. Winternitz 1985, p. 346.
  2. Das 2005, p. 104.
  3. Sircar 1969, p. 108.
  4. Jain 1972, p. 157.
  5. Kawthekar 1995, p. 20.
  6. Keith 1993, pp. 266, 268.

ชีวประวัติ

[แก้]