ข้ามไปเนื้อหา

ซิกกุรัตแห่งอูร์

พิกัด: 30°57′46″N 46°6′11″E / 30.96278°N 46.10306°E / 30.96278; 46.10306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Great Ziggurat of Ur)
ซิกกุรัตแห่งอูร์
𒂍𒋼𒅎𒅍
ซิกกุรัตแห่งอูร์ในปัจจุบันหลังการสร้างทดแทนบางส่วน
ซิกกุรัตแห่งอูร์ตั้งอยู่ในประเทศอิรัก
ซิกกุรัตแห่งอูร์
ซิกกุรัตแห่งอูร์
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอิรัก
ชื่ออื่นซิกกุรัตใหญ่แห่งอูร์
ที่ตั้งTell el-Muqayyar เขตผู้ว่าการษีกอร ประเทศอิรัก
ภูมิภาคเมโสโปเตเมีย
พิกัด30°57′46″N 46°6′11″E / 30.96278°N 46.10306°E / 30.96278; 46.10306
ประเภทวิหาร
ส่วนหนึ่งของอูร์
พื้นที่2,880 ตร.ม.[1]
ความสูง> 30 ม.[2]
ความเป็นมา
ผู้สร้างอูร์นัมมู
วัสดุอิฐ[2]
สร้างเริ่มสร้างเมื่อ 2,050–2,030 ปีก่อน ค.ศ.;
แล้วเสร็จเมื่อ 2,030–1,980 ปีก่อน ค.ศ.[2]

ซิกกุรัตแห่งอูร์ (ซูเมอร์: 𒂍𒋼𒅎𒅍 é-temen-ní-gùru "Etemenniguru";[3] แปลว่า วิหารที่ซึ่งฐานเปล่งรังสี)[4] เป็นซิกกุรัตสมัยซูเมอร์ใหม่ ตั้งอยู่ในอดีตนครโบราณอูร์ ใกล้กับอันนาศิรียะฮ์ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในเขตผู้ว่าการษีกอร ประเทศอิรัก สิ่งปลูกสร้างนี้สร้างขึ้นในยุคสัมฤทธิ์ตอนต้น (2,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แต่ได้พังทลายลงมาเหลือแต่ซากเมื่อถึง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราชในสมัยบาบิโลนใหม่ เมื่อกษัตริย์นาโบนีดุสมีรับสั่งให้บูรณะวิหารขึ้นใหม่

ซากของซิกกุรัตได้รับการขุดค้นในคริสต์ทศวรรษ 1920 และ 1930 โดยเซอร์เลเนิร์ด วุลลีย์ ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1980 สมัยประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน มีการก่อผนังล้อมซิกกุรัตขึ้นบางส่วนและมีการสร้างบันไดขนาดมหึมาขึ้นประกอบ ซิกกุรัตแห่งอูร์ถือเป็นซิกกุรัตที่ได้รับการรักษาไว้ดีที่สุดของเมโสโปเตเมีย นอกเหนือจากซิกกุรัตโชฆอแซมบีล[5] และเป็นหนึ่งในสามสิ่งปลูกสร้างจากนครอูร์ของซูเมอร์ใหม่ อีกสองแห่งคืออนุสรณ์ศพหลวงแห่งอูร์ และอูร์นัมมู

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mattinson, Lindsay (2019). Understanding Architecture A Guide To Architectural Styles (ภาษาอังกฤษ). Amber Books. p. 11. ISBN 978-1-78274-748-2.
  2. 2.0 2.1 2.2 Mattinson, Lindsay (2019). Understanding Architecture A Guide To Architectural Styles (ภาษาอังกฤษ). Amber Books. p. 11. ISBN 978-1-78274-748-2.
  3. Klein, Jacob (1981). Three Šulgi hymns: Sumerian royal hymns glorifying King Šulgi of Ur. Bar-Ilan University Press. p. 162. ISBN 978-965-226-018-5.
  4. "The Ziggurat of Ur". British Museum. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
  5. Heinrich, Ernst (1982). Die Tempel und Heiligtümer im Alten Mesopotamien. Typologie, Morphologie und Geschichte. Vol. 1. Berlin: de Gruyter. p. 341. ISBN 9783110085310.